Home ข่าวทั่วไปรอบวัน พลเอกประยุทธ์รับมอบงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

พลเอกประยุทธ์รับมอบงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

736
0
SHARE

 

 

http://www.thaigov.go.th/

วันนี้ (31 กรกฎาคม 2560) เวลา 11.00 น. ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ร้อยเอก ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้เป็นประธานในพิธีการส่งมอบงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ให้แก่  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีผู้ร่วมงานประกอบด้วย สมาชิก สปท. ผู้บริหารส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงและอธิบดี รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวนประมาณ 300 คน

หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้รับมอบงานดังกล่าวจากประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศแล้ว นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ดังนี้

เหตุผล ความจำเป็น และความสำคัญของการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศ ประชาชนมีความขัดแย้งแตกแยก เกิดความรุนแรงที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคการท่องเที่ยว การทำงานของภาครัฐและการอนุมัติโครงการลงทุนหยุดชะงัก การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ ประกอบกับมีผลกระทบซ้าเติมจากปัจจัยภายนอกประเทศ จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง นอกเหนือจากสภาพปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังมีปัญหาของประเทศที่สั่งสมคั่งค้างมาเป็นระยะเวลานาน อาทิ ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการขาดการลงทุนและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจมานาน ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นจุดอ่อนของประเทศ ที่เป็นข้อจากัดต่อการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา และยิ่งไปกว่านั้น หากยังไม่รีบเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในระยะต่อไป

ดังนั้น หากเราต้องการให้ประเทศของเราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างทัดเทียมกับประเทศอื่นในประชาคมโลก ใน การปฏิรูปประเทศ เพื่อเป็นการวางรากฐานสาคัญของประเทศ ให้พร้อมที่จะเผชิญสถานการณ์ในอนาคต และช่วยสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาในระยะยาวที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติได้ ประกอบด้วยการปฏิรูปในด้านต่างๆ 11 ด้าน ประกอบด้วย (1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน (3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (4) การปกครองท้องถิ่น (5) การศึกษา (6) เศรษฐกิจ (7) พลังงาน (8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (9) สื่อสารมวลชน (10) สังคม และ (11) อื่น ๆ

นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า หนึ่งในข้อเสนอการปฏิรูปประเทศที่สำคัญ คือ ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เสนอให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศระยะยาว เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถขับเคลื่อนนโยบายสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงได้นำแนวคิดนั้นมาสานต่อ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการ พัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ จำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปประเทศในหลายๆ เรื่องที่สำคัญควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ เป็นภารกิจคู่แฝดที่จะต้องดำเนินการคู่ขนานกันไปอย่างต่อเนื่อง การปฏิรูปด้านศึกษา โดยการปฏิรูประบบการเรียนรู้ ให้มีการพัฒนาการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ตลอดจนการมุ่งเน้นนโยบาย  “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ขณะเดียวกันยังได้ปรับระบบการทดสอบ O-NET ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน รวมทั้งปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางใหม่ (TCAS) ในด้านการสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำนั้น ได้ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อสังคม (Social Economy) ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการประสานพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน ประชาสังคมและนักวิชาการ โดยมีเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังมีการปฏิรูปเรื่องการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการและทุพพลภาพ ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การปฏิรูประบบสหกรณ์และการเงินฐานราก เพื่อให้เป็นแหล่งในการออมเงินและแหล่งระดมทุนสำหรับประชาชนในระดับชุมชนท้องถิ่น ขณะเดียวกันได้มีการปรับปรุงระบบกำกับดูแลให้รัดกุมขึ้น  ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ได้มีการพัฒนาระบบ Strategic Environmental Assessment ปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งได้มีการส่งเสริมระบบรัฐบาลอิเล็คทรอนิกส์ โดยให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อสร้างความโปร่งใสและสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วขึ้น การปฏิรูปกฎหมาย ได้เร่งผลักดันการออกกฎหมายสำคัญหลายฉบับ ทั้งที่เป็นกฎหมายที่เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอโดยรัฐบาล และเสนอโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วกว่า ๒๐๐ ฉบับ การปฏิรูปกิจการตำรวจ เพื่อแก้ไขปัญหา และปรับปรุงองค์กรตำรวจให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ จะเห็นได้ว่า รัฐบาลมีความตั้งใจและมีความมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศ โดยรัฐบาลจะทำงานใน ๒ มิติคู่ขนานกันไป มิติแรก คือ การผนึกกำลังและสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการมุ่งก้าวไปข้างหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติที่ทุกคนในประเทศได้กำหนดขึ้นร่วมกัน มุ่งสู่ประเทศไทยในอนาคต ในอีกมิติหนึ่ง จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่สะสมมาในอดีต โดยการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและสร้างภูมิคุ้มกันในระดับพื้นฐานของการพัฒนา เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์จากการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดที่ว่า “จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่ช่วยกันดาเนินการ จนทำให้มี พ.ร.บ. การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และ พ.ร.บ. แผนและขั้นตอนการดาเนินการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายสาคัญที่จะสร้างสภาพบังคับให้กับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเน้นในตอนท้ายอีกว่า ความคืบหน้าของการดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 จนถึงวันนี้  (31 กรกฎาคม 2560) ถือเป็นความสำเร็จ ที่ขอให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจว่า ทุกภาคส่วน ได้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยมีเป้าหมาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ชัดเจน รวมถึงมีส่วนในการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนที่เป็นข้อจำกัดที่ฉุดรั้งประเทศไทยให้ตกอยู่ในกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางมาเป็นระยะเวลานาน และในอนาคตคนไทยทุกคนยังมีโอกาสที่จะเสนอกลไกใหม่ รูปแบบใหม่ และกระบวนการใหม่ ที่จะช่วยให้เกิดการผนึกกำลังของคนไทยทุกภาคส่วน ในการที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า ซึ่งถือว่าเป็นผลงานชิ้นสาคัญแห่งประวัติศาสตร์ ที่ทุกคนควรจะได้ภาคภูมิใจร่วมกัน

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทุกคนอีกครั้งด้วยความจริงใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด และในอนาคตหวังว่าทุกคนจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ยกระดับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในประชาคมโลกอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน สืบไป

……………………………………………………………..

 

กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก

 

 

Matemnews.com  31 กรกฎาคม 2560