Home ข่าวทั่วไปรอบวัน แบงก์ชาติออกประกาศคุมเข้ม 5 ธนาคารยักษ์ใหญ่ของไทย

แบงก์ชาติออกประกาศคุมเข้ม 5 ธนาคารยักษ์ใหญ่ของไทย

720
0
SHARE

 

 

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

 

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่ สนส. ๑๖/2560

เรื่อง แนวทางการระบุและการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

  1. เหตุผลในการออกประกาศ

ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน

เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทยมาโดยตลอด การกำกับดูแลให้ธนาคารพาณิชย์

มีความมั่นคงและสามารถให้บริการทางการเงินได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดการหยุดชะงักจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ มีความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการเงินและระบบ

การเงินสูง มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน และเป็นผู้ให้บริการหลักในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

หรือโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็น

ที่ต้องกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้เข้มงวดขึ้นกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป โดยกำกับดูแล

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ (Domestic systemically important

banks: D-SIBs) มีความสามารถในการรองรับความเสียหายได้มากขึ้น เพื่อลดโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์

จะประสบปัญหาฐานะทางการเงิน และส่งผลกระทบ (Negative externalities) ต่อระบบการเงิน

และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อันจะเป็นการส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินของประเทศ

มีเสถียรภาพและได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล โดยแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอ้างอิงจาก

A framework for dealing with domestic systemically important banks ของ Basel

Committee on Banking Supervision ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน

ตามหลักเกณฑ์ Basel III

การกำหนดธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งต้องดำรงเงินกองทุนใน

อัตราที่สูงขึ้นและต้องปฏิบัติตามมาตรการกำกับดูแลอื่นที่มากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป โดยการกำหนด

รายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศนั้นไม่ได้หมายความว่าธนาคารพาณิชย์

ดังกล่าวจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากทางการโดยปริยายในกรณีที่ประสบปัญหาด้านสภาพคล่องหรือ

หน้า ๒๗

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

ปัญหาฐานะทางการเงิน ซึ่งการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นที่สะท้อน

ความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงินและระบบการเงินในขณะนั้นด้วย

  1. อำนาจตามกฎหมาย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 และมาตรา 71

แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์

แนวทางการระบุและการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศให้

ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้

  1. ขอบเขตการบังคับใช้

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง

  1. เนื้อหา

4.1 คำจำกัดความ

ในประกาศฉบับนี้

“ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน

พ.ศ. 2551

“ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ (Domestic systemically

important banks: D-SIBs)” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศว่า

เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้

“ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์

ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ

“สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ” หมายความว่า สาขาของธนาคารพาณิชย์

ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

“อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer)”

หมายความว่า อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer)

ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์

“อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วง

เศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer)” หมายความว่า อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับ

ความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) ตามประกาศ

ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์

4.2 หลักการ

ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัย

ต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวมีความสามารถในการรองรับ

หน้า ๒๘

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

ความเสียหายได้มากขึ้น เพื่อลดโอกาสที่จะประสบปัญหาจนส่งผลกระทบต่อระบบการเงินและระบบ

เศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การกำกับดูแลดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอ้างอิงจาก

มาตรฐานสากลตามที่ Basel Committee on Banking Supervision กำหนด โดยประกอบด้วย

สาระสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวทางการระบุธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบ

ในประเทศ และส่วนที่ 2 มาตรการในการกำกับดูแลเพิ่มเติมสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศ

4.3 รายละเอียดของหลักเกณฑ์

4.3.1 แนวทางการระบุธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

(1) ดัชนีชี้วัดที่ใช้ในการระบุธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบ

ในประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ดัชนีชี้วัดหลัก (Main indicators) ในการ

ระบุธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ และหากดัชนีชี้วัดหลักไม่สามารถ

ใช้แบ่งกลุ่มได้อย่างชัดเจน ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจนำดัชนีชี้วัดเสริม (Ancillary indicators)

มาใช้พิจารณาเพิ่มเติมได้ โดยมีรายละเอียดของดัชนีชี้วัด ดังนี้

(1.1) ดัชนีชี้วัดหลัก (Main indicators)

ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ดัชนีชี้วัดหลัก 4 ด้านในการระบุ

ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจมีต่อระบบการเงิน

และระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งดัชนีชี้วัดหลักทั้ง 4 ด้านสามารถสะท้อนถึงระดับของ

ผลกระทบที่ธนาคารพาณิชย์นั้นอาจมีต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

รวมถึงกลไกการทำงานของตลาดการเงินในประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

(ก) ด้านขนาด (Size): ธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่และมี

ปริมาณธุรกรรมทางการเงินเป็นจำนวนมากจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและระบบการเงินโดยรวม

มากกว่าธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดเล็ก ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้ขนาดของธนาคารพาณิชย์

เป็นดัชนีชี้วัดหลัก โดยพิจารณาจากขนาดของสินทรัพย์รวมและรายการนอกงบดุลของกลุ่มธุรกิจ

ทางการเงินของธนาคารพาณิชย์

(ข) ด้านความเชื่อมโยง (Interconnectedness): ธนาคารพาณิชย์

ที่มีความเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินอื่นและระบบการเงินสูงจะมีโอกาสที่จะส่งผ่านความเสี่ยง

และส่งผลกระทบไปยังสถาบันการเงินอื่นและระบบการเงินได้มากกว่าธนาคารพาณิชย์อื่น ธนาคารแห่งประเทศไทย

จึงกำหนดให้ความเชื่อมโยงเป็นดัชนีชี้วัดหลัก โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ดังนี้

หน้า ๒๙

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

– ความเชื่อมโยงด้านสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่มีต่อ

ระบบสถาบันการเงินในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้หรือผู้ลงทุน โดยพิจารณาจากปริมาณเงินฝาก เงินให้สินเชื่อ

และเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่มีคู่สัญญา

เป็นสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นต้น

– ความเชื่อมโยงด้านหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ที่มีต่อ

ระบบสถาบันการเงินในฐานะที่เป็นลูกหนี้ โดยพิจารณาจากปริมาณเงินรับฝากและเงินกู้ยืมของ

กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่มีคู่สัญญาเป็นสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์

และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นต้น

– ความเชื่อมโยงด้านความต้องการเงินทุนของธนาคารพาณิชย์

ที่มีต่อระบบการเงิน โดยพิจารณาจากมูลค่าของตราสารหนี้และตราสารทุนที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินของ

ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกจำหน่ายให้กับนักลงทุนทุกประเภท

(ค) ด้านการทดแทนกันได้ (Substitutability) และด้าน

โครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาบันการเงิน (Financial institution infrastructure): ธนาคารพาณิชย์

ที่เป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่สำคัญหรือเป็นผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญ

จะมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบ

การเงินและเศรษฐกิจโดยรวมได้มากกว่าธนาคารพาณิชย์อื่น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นอาจไม่สามารถ

ให้บริการทดแทนกันได้หรือมีต้นทุนในการดำเนินการที่สูงมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้

การทดแทนกันได้และการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาบันการเงินเป็นดัชนีชี้วัดหลัก

โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ดังนี้

– มูลค่าการโอนเงินผ่านระบบการชำระเงินบาทเนต

ซึ่งเป็นระบบที่ให้บริการในด้านการชำระเงินของประเทศ โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีมูลค่าการโอนเงิน

ในระบบการชำระเงินบาทเนตสูง จะมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบการชำระเงินมากกว่า

ธนาคารพาณิชย์อื่น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องในระบบการเงินและส่งผลให้กิจกรรม

ทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหยุดชะงักได้ โดยพิจารณาจากมูลค่าเฉลี่ยการโอนเงินผ่านระบบ

การชำระเงินบาทเนตต่อวันของธนาคารพาณิชย์

– ความเป็นศูนย์กลางในระบบการชำระเงินบาทเนต

ธนาคารพาณิชย์ที่มีความเชื่อมโยงในเครือข่ายของระบบการชำระเงินสูง จะมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบ

ที่รุนแรงต่อการให้บริการการชำระเงินในระบบบาทเนตซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของระบบการชำระเงิน

ในประเทศมากกว่าธนาคารพาณิชย์อื่น โดยใช้แบบจำลองเชิงเครือข่าย (Network model) ในการพิจารณา

ความเป็นศูนย์กลางในระบบการชำระเงินบาทเนตดังกล่าว

– จำนวนผู้ฝากเงิน ธนาคารพาณิชย์ที่มีจำนวนผู้ฝากเงินสูง

จะแสดงถึงระดับความสำคัญในการให้บริการทางการเงินพื้นฐานดังกล่าว

หน้า ๓๐

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

(ง) ด้านความซับซ้อน (Complexity): ธนาคารพาณิชย์ที่มี

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ซับซ้อนหรือกระบวนการดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อน จะมีขั้นตอนและกระบวนการ

ในการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่าธนาคารพาณิชย์อื่น รวมถึงอาจเกิดการเร่งขายสินทรัพย์

(Fire sale) ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระดับราคาของสินทรัพย์ในระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

จึงกำหนดให้ความซับซ้อนเป็นดัชนีชี้วัดหลัก โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ดังนี้

– มูลค่าธุรกรรมอนุพันธ์นอกตลาด โดยพิจารณาจาก

จำนวนเงินตามสัญญาของธุรกรรมอนุพันธ์นอกตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์

– มูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบัญชี

เพื่อค้าและบัญชีเผื่อขาย โดยพิจารณาจากมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบัญชีเพื่อค้า

และบัญชีเผื่อขายของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ไม่รวมเงินลงทุนในสินทรัพย์

สภาพคล่องชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ในบัญชีเพื่อการค้าตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย

หลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับสถานการณ์ด้านสภาพคล่องที่มีความรุนแรง

(Liquidity Coverage Ratio: LCR)

(1.2) ดัชนีชี้วัดเสริม (Ancillary indicators)

ในกรณีที่ดัชนีชี้วัดหลักไม่สามารถใช้ในการระบุความมีนัยต่อ

ความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศของธนาคารพาณิชย์ได้อย่างชัดเจน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณา

นำดัชนีชี้วัดเสริมอื่น ๆ ทั้งที่เป็นดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณ (Quantitative indicators) หรือดัชนีชี้วัด

เชิงคุณภาพ (Qualitative indicators) มาใช้ประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมได้ เช่น ปริมาณสินทรัพย์เสี่ยง

การทำธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และความซับซ้อนของโครงสร้างธุรกิจของธนาคารพาณิชย์

เป็นต้น

(2) น้ำหนักของดัชนีชี้วัดหลัก

ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ดัชนีชี้วัดหลักด้านขนาด ด้านความเชื่อมโยง

รวมถึงด้านการทดแทนกันได้และด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาบันการเงิน มีน้ำหนักเท่ากันที่

ร้อยละ 30 ส่วนดัชนีชี้วัดด้านความซับซ้อนกำหนดให้มีน้ำหนักที่ร้อยละ 10 เนื่องจากธุรกรรมอนุพันธ์

ในประเทศยังมีปริมาณธุรกรรมและความเสี่ยงที่ไม่สูงนัก จึงอาจไม่ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบ

การเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเท่ากับดัชนีชี้วัดหลักด้านอื่น ๆ โดยดัชนีชี้วัดหลักและปัจจัย

ในแต่ละด้าน มีน้ำหนักสรุปได้ตามตาราง ดังนี้

ดัชนีชี้วัดหลัก ปัจจัย และน้ำหนักที่ใช้ในการพิจารณา

ดัชนีชี้วัดหลัก ปัจจัย น้ำหนัก

1) ด้านขนาด (Size) – สินทรัพย์รวมและรายการนอกงบดุล 30

2) ด้านความเชื่อมโยง

(Interconnectedness)

– ความเชื่อมโยงด้านสินทรัพย์ ร้อยละ 10

– ความเชื่อมโยงด้านหนี้สิน ร้อยละ 10

– ความเชื่อมโยงด้านความต้องการเงินทุน ร้อยละ 10

30

หน้า ๓๑

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

ดัชนีชี้วัดหลัก ปัจจัย น้ำหนัก

3) ด้านการทดแทนกันได้

(Substitutability) และ

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ของระบบสถาบันการเงิน

(Financial institution

infrastructure)

– มูลค่าการโอนผ่านระบบการชำระเงินบาทเนต

ร้อยละ 10

– ความเป็นศูนย์กลางในระบบการชำระเงินบาทเนต

ร้อยละ 10

– จำนวนผู้ฝากเงิน ร้อยละ 10

30

4) ด้านความซับซ้อน

(Complexity)

– มูลค่าธุรกรรมอนุพันธ์นอกตลาด ร้อยละ 5

– มูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบัญชี

เพื่อค้าและบัญชีเผื่อขาย ร้อยละ 5

10

(3) วิธีการคำนวณคะแนนรวมความมีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ของธนาคารพาณิชย์

(3.1) คำนวณหาสัดส่วนส่วนแบ่งตลาด (Market share) ของธนาคารพาณิชย์

ในแต่ละดัชนีชี้วัดหลัก (หรือแต่ละปัจจัย) โดยนำ มูลค่าที่ธนาคารพาณิชย์มีในแต่ละดัชนี

ชี้วัดหลัก (หรือแต่ละปัจจัย) หารด้วยมูลค่ารวมของระบบในแต่ละดัชนีชี้วัดหลัก (หรือแต่ละปัจจัย)

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีหน่วยเป็นร้อยละ

(3.2) นำผลลัพธ์ที่คำนวณได้ตาม (3.1) คูณด้วยน้ำหนักที่กำหนดไว้

สำหรับดัชนีชี้วัดหลักแต่ละด้าน (หรือแต่ละปัจจัย) ตามที่กำหนดไว้ในตารางข้างต้น แล้วคูณด้วย 100

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มหน่วย

(3.3) นำผลลัพธ์ของทุกดัชนีชี้วัดหลัก (หรือแต่ละปัจจัย) ที่คำนวณได้

ตาม (3.2) มารวมกันเพื่อใช้เป็นคะแนนรวมในการประเมินความมีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ของธนาคารพาณิชย์

(3.4) นำผลคะแนนรวมที่คำนวณได้ตามข้อ (3.3) มาเรียงลำดับ

และจัดกลุ่มความมีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศของธนาคารพาณิชย์ตามการกระจายตัว

ของคะแนน (Cluster analysis) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศ และ 2) กลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ทั้งนี้ หากการกระจายตัวของคะแนนดังกล่าวส่งผลให้ไม่สามารถ

แบ่งกลุ่มได้ชัดเจน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำดัชนีชี้วัดเสริมอื่น ๆ มาใช้ประกอบการพิจารณา

ความมีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศของธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม

(4) ความถี่ในการระบุธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบ

ในประเทศ

หน้า ๓๒

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคำนวณคะแนนรวมความมีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศของธนาคารพาณิชย์เป็นประจำทุกปี โดยใช้ข้อมูลในปีก่อนหน้ามาพิจารณา

และจะประกาศว่าธนาคารพาณิชย์เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ เมื่อผล

คะแนนรวมความมีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศของธนาคารพาณิชย์ใดถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีนัย

ต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามข้อ 4.3.1 (3.4) ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 ปี (Observation period)

และจะเปลี่ยนแปลงสถานะของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว เมื่อผลคะแนนรวมความมีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศของธนาคารพาณิชย์นั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบ

ในประเทศติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 ปี (Observation period)

อนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนแนวทางการระบุธนาคารพาณิชย์

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามข้อ 4.3.1 (1) (2) และ (3) ข้างต้นเป็นประจำ

ทุก ๆ 3 ปี เพื่อให้แนวทางการระบุธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศสามารถ

สะท้อนถึงความมีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบได้อย่างเหมาะสม

4.3.2 มาตรการกำกับดูแลเพิ่มเติมสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศ

(1) มาตรการกำกับดูแลด้านเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัย

ต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศดำรงเงินกองทุน

ส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหายสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

(Higher loss absorbency) ดังนี้

ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบ

ในประเทศดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1)

เพิ่มเติมจากการดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำ อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุน

ในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) และอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยง

เชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) อีกร้อยละ 1 ของสินทรัพย์

เสี่ยงทั้งสิ้น เพื่อเป็นเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหายสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศ (Higher loss absorbency)

ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

เป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นเพิ่มเติมจากการดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำ อัตราส่วนเงินกองทุน

ส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) และอัตราส่วนเงินกองทุน

ส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer)

หน้า ๓๓

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

อีกร้อยละ 1 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น เพื่อเป็นเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหายสำหรับ

ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ (Higher loss absorbency)

ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ไม่สามารถดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดข้างต้นได้

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศดังกล่าวเก็บสะสมเงินกำไรสุทธิบางส่วน

หรือทั้งหมดตามสัดส่วนที่กำหนดในเอกสารแนบ โดยจำกัดการจัดสรรกำไรสุทธิ๑ ของธนาคารพาณิชย์

(Earning distribution) ได้แก่ การจ่ายเงินปันผล การจ่ายโบนัสพนักงาน๒ การจ่ายผลตอบแทน

แก่ผู้ถือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการซื้อหุ้นคืน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่มีนัย

ต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศอาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งข้างต้นหรือทั้งหมดก็ได้ เพื่อให้สามารถ

ดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ครบตามที่กำหนดจึงจะสามารถจัดสรรกำไรสุทธิได้๓ อนึ่ง ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศเก็บสะสมกำ ไรสุทธิตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

กำหนด แต่ยังไม่สามารถดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัย

ต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศหารือกับฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ถึงแผนการดำรงเงินกองทุนต่อไป

อย่างไรก็ดี หากธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ไม่สามารถดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ จะยังไม่ถือว่าธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศไม่ปฏิบัติตามการดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 29 มาตรา 30

หรือมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัย

ต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการจำกัดการจัดสรรกำไรสุทธิตามสัดส่วน

ที่กำหนดในเอกสารแนบจึงจะถือว่าธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศไม่ปฏิบัติตาม

การดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ

ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 แล้วแต่กรณี

(2) มาตรการกำกับดูแลด้านอื่น ๆ สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศ

๑ กำไรสุทธิ ได้แก่ กำไรสุทธิหลังหักเงินสำรองที่ได้จัดสรรแล้ว (ถ้ามี) ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อบังคับของ

ธนาคารพาณิชย์ เช่น ทุนสำรองตามกฎหมาย และรายการอื่น ๆ เป็นต้น

๒ การจ่ายโบนัสพนักงาน หมายถึง ผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง หรือพนักงาน ที่ขึ้นอยู่กับผลการ

ดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์นั้น

๓ หากธนาคารพาณิชย์ยังต้องการจัดสรรกำไรสุทธิ (Earning distribution) โดยไม่เก็บสะสมกำไรสุทธิ ธนาคารพาณิชย์

จะต้องดำเนินการเพิ่มทุนเพื่อให้สามารถดำรงอัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนและสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร

แห่งประเทศไทยกำหนด

หน้า ๓๔

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศปฏิบัติตาม

มาตรการกำกับดูแลอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถติดตามดูแลความเสี่ยงของ

ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์

มีระบบการควบคุมภายในที่ดีและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

(2.1) การจัดส่งรายงานที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงภายในของ

ธนาคารพาณิชย์ (Internal management report/Risk report)

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

จัดส่งรายงานที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงเป็นการภายในของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย

เมื่อมีการร้องขอ ภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

(2.2) การจัดให้มีวาระการประชุมของคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์

(Board of directors) เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานผลการตรวจสอบที่สำคัญ

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

จัดให้มีวาระการประชุมของคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงาน

ผลการตรวจสอบที่สำคัญต่อคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

(2.3) การจัดส่งรายงานการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับ

กลุ่ม Solo Consolidation

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

จัดส่งรายงานการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับกลุ่ม Solo Consolidation ตามประกาศ

ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำรายงานและการตรวจสอบกลุ่มธุรกิจทางการเงิน

และชุดข้อมูลตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย

ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้แทน ดังนี้

(ก) ให้จัดส่งรายงานการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินใน

ระดับกลุ่ม Solo Consolidation ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กำหนดในประกาศธนาคาร

แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำรายงานและการตรวจสอบกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เป็นรายเดือน

ภายในระยะเวลา 45 วันนับจากวันสิ้นเดือน ยกเว้นรายงานการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย

ในบัญชีเพื่อการธนาคาร และรายงานการดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศในระดับกลุ่ม Solo

Consolidation ให้จัดส่งเป็นรายไตรมาส ภายในระยะเวลา 90 วัน นับจากวันสิ้นไตรมาสตามเดิม

หน้า ๓๕

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

(ข) ให้จัดส่งชุดข้อมูลการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน

ในระดับกลุ่ม Solo Consolidation ตาม (ก) ข้างต้นที่กำหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

ว่าด้วยการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรายเดือน ภายในระยะเวลา 45 วัน

นับจากวันสิ้นเดือน ยกเว้นชุดข้อมูล Provision Summary1 และชุดข้อมูล Total Trading Book

Position ในระดับกลุ่ม Solo Consolidation ให้จัดส่งเป็นรายไตรมาส ภายในระยะเวลา 45 วัน

นับจากวันสิ้นไตรมาส

(2.4) มาตรการอื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

4.3.3 กรอบระยะเวลาการดำเนินการตามมาตรการกำกับดูแลเพิ่มเติมสำหรับ

ธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

(1) ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการประกาศว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อ

ความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศในปี 2560 และปี 2561

(1.1) ให้เริ่มดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหาย

สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามข้อ 4.3.2 (1) ที่ร้อยละ 0.5

ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 และดำรงเพิ่มเป็นร้อยละ 1 ของสินทรัพย์

เสี่ยงทั้งสิ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยสรุปได้ตามตาราง ดังนี้

การดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

อัตราส่วนเงินกองทุน 1 ม.ค. 2562 1 ม.ค. 2563

เป็นต้นไป

อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของขั้นต่ำ

(CET1 ratio) 4.5% 4.5%

อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ขั้นต่ำ (T1 ratio) 6.0% 6.0%

อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นขั้นต่ำ (Total capital ratio) 8.5% 8.5%

Conservation buffer 2.5% 2.5%

Countercyclical buffer ตามที่ ธปท. กำหนด

Higher loss absorbency

สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบ

ในประเทศ

0.5% 1.0%

รวม CET1 ratio ที่ต้องดำรง 7.5% 8.0%

รวม T1 ratio ที่ต้องดำรง 9.0% 9.5%

รวม Total capital ratio ที่ต้องดำรง 11.5% 12.0%

หน้า ๓๖

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

การดำรงเงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

อัตราส่วนเงินกองทุน 1 ม.ค. 2562 1 ม.ค. 2563

เป็นต้นไป

อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นขั้นต่ำ (Total capital ratio) 8.5% 8.5%

Conservation buffer 2.5% 2.5%

Countercyclical buffer ตามที่ ธปท. กำหนด

Higher loss absorbency

สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ 0.5% 1.0%

รวม Total capital ratio ที่ต้องดำรง 11.5% 12.0%

(1.2) ให้ปฏิบัติตามมาตรการกำกับดูแลด้านอื่น ๆ สำหรับธนาคารพาณิชย์

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามข้อ 4.3.2 (2) โดยมีผลบังคับใช้ทันที ยกเว้น

การจัดส่งรายงานการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับกลุ่ม Solo Consolidation ตามข้อ 4.3.2 (2.3)

ให้เริ่มจัดส่งรายงานและชุดข้อมูลตามแนวทางดังกล่าวตั้งแต่งวดสิ้นเดือนมกราคม 2562 เป็นต้นไป

(2) ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการประกาศว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อ

ความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป

(2.1) ให้ดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหาย

สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามข้อ 4.3.2 (1) ทั้งจำนวน

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีถัดจากวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ธนาคารพาณิชย์

ทราบว่ามีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

(2.2) ให้ปฏิบัติตามมาตรการกำกับดูแลด้านอื่น ๆ สำหรับธนาคาร

พาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศตามข้อ 4.3.2 (2) โดยมีผลบังคับใช้ทันที ยกเว้น

การจัดส่งรายงานการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับกลุ่ม Solo Consolidation ตามข้อ 4.3.2 (2.3)

ให้เริ่มจัดส่งรายงานและชุดข้อมูลตามแนวทางดังกล่าวตั้งแต่งวดสิ้นเดือนมกราคมของปีถัดจาก

วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ทราบว่ามีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

(3) การเลิกดำเนินการตามมาตรการกำกับดูแลสำหรับธนาคารพาณิชย์

ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เคยได้รับการประกาศว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัย

ต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ ยกเลิกการดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหาย

หน้า ๓๗

เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐

สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ (Higher loss absorbency) ตามข้อ 4.3.2 (1)

และไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลด้านอื่น ๆ ตามข้อ 4.3.2 (2) ได้ทันทีที่ธนาคาร

แห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ทราบว่าไม่ได้มีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง

เชิงระบบในประเทศแล้ว

  1. วันเริ่มต้นบังคับใช้

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

วิรไท สันติประภพ

ผู้ว่าการ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี แถลงแก่ผู้สื่อข่าวหลังประชุครม.ที่ทำเนียบรัฐบาล  บ่าย 26 ก.ย.2560 ว่า

“ยืนยัน ทั้ง 5 ธนาคารของเรา มีความมั่นคงมาก เงินสำรองมีมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แต่สิ่งที่ทำก็คือตามหลักการสากล คือการออกข้อกำหนดความเข้มงวดมากขึ้น ก็จะสอดคล้องกับหลักสากลมากขึ้น อย่าไปวิตกกังวลว่าธนาคารมีปัญหา หรือมีความเสี่ยงสูง ยืนยันไม่มี ธนาคารเราเข้มแข็งตั้งแต่เหตุการณ์ต้มย้ำกุ้งมาแล้ว ซึ่ง 5 แห่งนี้เป็นธนาคารหลักของประเทศไทย มีเงินสำรองเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นจำนวนมาก ยืนยันได้ว่ามั่นคง ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ ต่างประเทศก็มีการดำเนินการเช่นกัน เราก็ทำให้สอดรับกันเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปแตกตื่น คนก็พร้อมจะสร้างความแตกตื่นอยู่เรื่อย ทุกเรื่องไป”

 

 

matemnews.com  26 กันยายน 2560