Home ข่าวทั่วไปรอบวัน สวนดุสิตโพล กับ นิด้าโพล  ประจำวันอาทิตย์ 21 ม.ค.2561

สวนดุสิตโพล กับ นิด้าโพล  ประจำวันอาทิตย์ 21 ม.ค.2561

2073
0
SHARE

 

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประกาศในเว็บไซต์   เมื่อตอนเช้าวันที่ 21 ม.ค.2561  ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณีข่าวสารความเคลื่อนไหว และเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเสียงของประชาชน อาจเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคม   สำรวจ 1,189 คน ระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2561

‘5 อันดับข่าวที่ประชาชนคิดว่ามีผลกระทบต่อสังคมไทย

ร้อยละ 54.58 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 

มีผลกระทบ คือ ทำให้สินค้าขึ้นราคา ข้าวของแพง ค่าครองชีพสูงขึ้น กระทบต่อนายจ้าง การจ้างงาน ฯลฯ
แนวทางแก้ไข คือ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ขึ้นค่าแรงเฉพาะบางพื้นที่ฯลฯ

ร้อยละ 48.02 นาฬิกาหรู พล.อ.ประวิตร

มีผลกระทบ คือ แสดงถึงความไม่โปร่งใส กระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ขาดความน่าเชื่อถือ ประชาชนเกิดความสงสัยฯลฯ
แนวทางแก้ไข คือ ออกมาชี้แจง มีเหตุผลประกอบที่เชื่อถือได้ มีการตรวจสอบที่โปร่งใส ชัดเจน ไม่ปกป้องพวกพ้อง ฯลฯ

ร้อยละ 45.08 หลักสูตรมหาวิทยาลัยไม่ได้มาตรฐาน

มีผลกระทบ คือ สังคมไม่เชื่อมั่นต่อมหาวิทยาลัย แสดงถึงปัญหาของระบบการศึกษาไทย การเรียนการสอนไม่ได้คุณภาพ นักศึกษาได้รับผลกระทบ ฯลฯ
แนวทางแก้ไข คือ แก้ไขและปรับปรุงหลักสูตรให้ได้มาตรฐาน มีหน่วยงานเข้ามาดูแลรับผิดชอบโดยตรง นำหลักสูตรและวิธีการของต่างประเทศมาปรับใช้ ฯลฯ

ร้อยละ 32.97 ขโมยบัตรประชาชน “น้องณิชา”

มีผลกระทบ คือ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ประชาชนไม่มั่นใจต่อระบบความปลอดภัยของธนาคาร ฯลฯ
แนวทางแก้ไข คือ เพิ่มความระมัดระวัง ธนาคารต้องตรวจสอบให้ชัดเจน กวาดล้างแก๊งค์มิชฉาชีพให้หมดไป มีบทลงโทษที่เด็ดขาดฯลฯ

ร้อยละ 32.21ตำรวจ กับ อาบอบนวดวิคตอเรียซีเครท

มีผลกระทบ คือเสื่อมเสียภาพลักษณ์ของตำรวจ ประชาชนไม่เชื่อมั่น ยังมีการทุจริตคอรัปชั่น เอื้อประโยชน์ ฯลฯ
แนวทางแก้ไข คือ กำจัดการค้ามนุษย์ให้หมดไป มีกฎหมายควบคุมธุรกิจอาบอบนวดที่ชัดเจน ลงโทษตำรวจที่เกี่ยวข้องให้เป็นเยี่ยงอย่าง รัฐบาลแก้ปัญหาอย่างจริงจังฯลฯ

 

 

เช้าวันเดียวกัน  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ประกาศในเว็บไซต์  ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 มกราคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รายละเอียดเป็นดังนี้

ท่านคิดว่าจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ควรมีมากที่สุดคือเรื่องใด (ตอบ 1 ข้อ) 

ร้อยละ 54.24 ความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส
ร้อยละ 13.04 การไม่ใช้อำนาจ ตำแหน่ง หน้าที่ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง เช่น การแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์  การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ
ร้อยละ 12.56 การเอาใจใส่ และความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติ
ร้อยละ 06.80 การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เคารพกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของบ้านเมือง
ร้อยละ 06.64 การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาประเทศชาติ อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ หรือแบ่งแยก
ร้อยละ 02.00 การรักษาความเป็นระบอบประชาธิปไตย รับฟังเสียงส่วนน้อย ยึดหลักการมีส่วนร่วม
ร้อยละ 01.84 การไม่สร้างความแตกแยกในสังคม หรือไม่กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
ร้อยละ 01.28 มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ
ร้อยละ 01.20 ยึดหลักความพอเพียง ใช้ทรัพย์สินของราชการเป็นประโยชน์ เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
ร้อยละ 00.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท่านคิดว่า โดยภาพรวม ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ได้แก่ ครม. สนช. สปท.) มีจริยธรรมมากน้อยเพียงใด

ร้อยละ 10.48 มีจริยธรรมมาก
ร้อยละ 31.28 มีจริยธรรมค่อนข้างมาก
ร้อยละ 42.00 ไม่ค่อยมีจริยธรรม
ร้อยละ 11.20 ไม่มีจริยธรรมเลย
ร้อยละ 05.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท่านจะเลือกสิ่งใด ระหว่าง “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เก่ง มีผลงาน แต่ ไม่มีจริยธรรม” กับ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีจริยธรรม แต่ ไม่เก่ง มีผลงานน้อย” (ตอบ 1 ข้อ)

ร้อยละ 74.88 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีจริยธรรม แต่ ไม่เก่ง มีผลงานน้อย
ร้อยละ 17.36 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เก่ง มีผลงาน แต่ ไม่มีจริยธรรม
ร้อยละ 03.68 ไม่เลือกทั้งสองแบบ
ร้อยละ 04.08  ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท่านคิดว่าควรทำอย่างไร ประเทศไทยจึงจะมีแต่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ดี เก่ง มีผลงาน และมีจริยธรรม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ร้อยละ 35.20 มีบทลงโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด
ร้อยละ 29.52 มีหน่วยงานตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม และความประพฤติของนักการเมือง
ร้อยละ 21.44 มีระบบคัดกรองนักการเมืองน้ำดี มีคุณภาพ
ร้อยละ 19.60 ประชาชนต้องไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
ร้อยละ 14.80 แก้ไขที่ระบบการศึกษาของไทย
ร้อยละ 14.00 ควรสร้างค่านิยมใหม่ ๆ ปรับทัศนคติ ค่านิยมคนไทยบางกลุ่มที่ยึดติดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ไม่มีจริยธรรมแต่เก่ง มีผลงานหรือทัศนคติที่ว่าโกงได้ แต่ขอให้ประเทศพัฒนา
ร้อยละ 01.68 อื่นๆ ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง, เร่งปฏิรูปการเมืองและนักการเมือง, ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ร้อยละ 03.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

 

matemnews.com  21 มกราคม 2561