Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ก็ดีแล้วนี่!!

ก็ดีแล้วนี่!!

682
0
SHARE

 

 

เฟชบุ้ค Wassana Nanuam รายงาน

 

ก็ดีแล้วนี่!!

 

“นายกฯบิ๊กตู่” นิ่ง บอกแค่ “ก็ดีแล้ว นี่” หลัง EU สหภาพยุโรป ฟิ้นความสัมพันธ์ไทย ในทุกระดับ หลังจากระงับไป หลังรัฐประหาร 2557

 

ก่อน ถอนหายใจ เฮือกใหญ่!!!

 

เดินขึ้นประชุม ครม.

 

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย   ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อตอนเช้าวันที่ 12 ธ.ค.2560 ถึงกรณีอียูยื่นข้อเรียกร้อง 14 ข้อต่อรัฐบาลไทยให้รีบคืนประชาธิปไตยโดยเร่งด่วนที่สุด จัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานว่า เท่ากับตบหน้าไทย ประจานไปทั่วโลก ความเชื่อมั่นประเทศซึ่งมีน้อยอยู่แล้วต้องต่ำเตี้ยจมดินไปในคราวนี้  สิ่งที่ ครม.อียูเรียกร้อง นั้นตรงกับความเห็นของภาคส่วนต่างๆ ที่เรียกร้องต่อรัฐบาลมาช้านาน เมื่อประสานเสียงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อนเช่นนี้ ตนไม่ทราบว่ารัฐบาลจะแบกหน้าไปไว้ที่ไหน  ความเชื่อมั่นประเทศเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดที่จะชี้ว่าประเทศจะเดินหน้าไปได้หรือไม่ และเพื่อบรรเทาความเสียหาย กู้ศักดิ์ศรีของประเทศกลับคืนมา ขอเรียกร้องรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องเสียสละอำนาจ รีบประชุมเพื่อกำหนดแนวทางคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริงโดยเร็ว เพราะโลกเริ่มล้อมประเทศเราหนักขึ้นแล้ว และจะกระชับขึ้นเรื่อยๆ หากยังเห็นแก่ตนและพวกพ้องโดยลืมประชาชน บ้านเมืองจะเสียหายจนกู่ไม่กลับ   ทุกรัฐบาลต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทำเพื่อประชาชน แต่เมื่อผลงานพิสูจน์แล้วว่าประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า จนโลกเพ่งเล็งและบีบล้อม การคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วเป็นทางออกที่สง่างามที่สุด

 

 

ผลสรุปการประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเกี่ยวกับประเทศไทย (Council Conclusions on Thailand)

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560

 

  1. คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรป ยังคงยืนยันถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย คณะรัฐมนตรีฯ เล็งเห็นถึงคุณค่าของบทบาทที่ประเทศไทยมีในฐานะประเทศผู้ประสานการเจรจาและสนับสนุนการขยายความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศ อียู-อาเซียน (EU-ASEAN Dialogue Relations) ในปัจจุบัน

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ ขอย้ำถึงข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยมีการคืนสู่กระบวนการทางด้านประชาธิปไตยอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยผ่านการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย รวมถึงความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง และเสรีภาพ ซึ่งได้ถูกลดรอนไปอย่างรุนแรงในประเทศไทยหลังจากการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2557 เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมยังคงถูกจำกัดอยู่เป็นอย่างมาก ผ่านกฎหมายและคำสั่งของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลายฉบับ นอกจากนี้นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนยังคงเผชิญกับการคุกคามทางกฎหมาย คณะรัฐมนตรีฯ ตอกย้ำถึงความสำคัญของเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังกล่าวที่ต้องได้รับการฟื้นฟูขณะที่ประเทศไทยดำเนินการไปสู่ประชาธิปไตย และขอย้ำถึงความสำคัญของเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังกล่าวซึ่งมีความเชื่อมโยงกับบทบาทของภาคประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้สหภาพยุโรปจะยังคงสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต่อไป

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ ส่งเสริมให้ผู้มีอำนาจของไทยดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้ให้คำมั่นระหว่างการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้กลไก UPR (Universal Periodic Review) ครั้งที่สองของประเทศไทย (พฤษภาคม 2016)

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ พึงสังเกตว่าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นภายใน 150 วันหลังจากมีการประกาศใช้กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นสี่ฉบับ นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีฯ ยังตั้งข้อสังเกตว่าการเตรียมความพร้อมในทางนิติบัญญัติเพื่อจัดการเลือกตั้งกำลังมีความคืบหน้า ในบริบทนี้คณะรัฐมนตรีฯ ยอบรับแถลงการณ์ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีฯ เรียกร้องให้มีการประกาศใช้กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้เคารพกำหนดการการจัดการเลือกตั้งตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

 

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ ตั้งข้อสังเกตถึงการตัดสินใจของผู้นำทางทหารในการลดการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหารหลายคดีลง ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559 ทั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คณะรัฐมนตรีฯ เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจของไทยไม่ดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร ซึ่งรวมถึงความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ ทบทวนผลสรุปการประชุมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2557 ที่ระบุว่าสหภาพยุโรปตัดสินใจที่จะทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย และอาจจะพิจารณาดำเนินการมาตรการอื่นๆ ต่อไปตามสถานการณ์ เมื่อพิจารณาจากความคืบหน้าที่กล่าวไปข้างต้น คณะรัฐมนตรีฯ จึงเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเริ่มกลับมาปรับความสัมพันธ์ด้านการเมืองกับประเทศไทยอย่างช้าๆ

 

  1. ดังนั้น คณะรัฐมนตรีฯ ตัดสินใจที่จะกลับเข้าสู่การติดต่อทางการเมืองในทุกระดับกับประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกการเจรจาในประเด็นที่มีความสำคัญร่วมกัน อันรวมถึงด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และแผนการดำเนินงานสู่ประชาธิปไตย สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะใช้จากการเจรจาติดต่อดังกล่าวอย่างเต็มที่เพื่อหยิบยกประเด็นข้อกังวลเหล่านี้

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ อยากเห็นความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นกับประเทศไทย หลังจากการจัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและการปรับปรุงของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน สหภาพยุโรปหวังให้ผู้มีอำนาจของไทยจะดำเนินการให้ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ฝ่ายค้านและภาคประชาสังคมสามารถทำงานได้อย่างเสรี

 

  1. ในบริบทนี้ คณะรัฐมนตรีฯ ขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปสำรวจความเป็นไปได้ในการกลับมาเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างยุโรป-ไทย (EU-Thailand Free Trade Agreement)

 

  1. การลงนามในกรอบข้อตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement – PCA ) และการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศไทย จะสามารถดำเนินการได้กับรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ ย้ำอีกครั้งว่าจะยังคงพิจารณาทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับประเด็นในด้านต่อไปนี้:

 

– การยกเลิกข้อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ ตลอดจนเสรีภาพในการชุมนุมและการรวมกลุ่ม การยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองและองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงการเคารพและสนับสนุนการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

– การจัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย อันสอดคล้องกับมาตรฐานสากลซึ่งนำไปสู่สถาบันทางประชาธิปไตยที่ทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

 

– การเข้าประจำตำแหน่งของรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการเลือกแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

  1. สหภาพยุโรปพร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ด้วยเจตนารมณ์ของความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วน

 

  1. คณะรัฐมนตรีฯ ขอให้ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรป ร่วมกันติดตามสังเกตการณ์และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีฯ ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าที่เกิดขึ้น

 

คลิกอ่านภาษาอังกฤษ

http://bit.ly/2yf2xvm

 

 

 

matemnews.com 12 ธันวาคม 2560