Home ข่าวทั่วไปรอบวัน นายกรัฐมนตรียืนยันพร้อมสนับสนุนภาคเอกชน ตามแนวทาง “สิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ”

นายกรัฐมนตรียืนยันพร้อมสนับสนุนภาคเอกชน ตามแนวทาง “สิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ”

628
0
SHARE

 

 

เว็บไซต์รัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th  รายงาน

วันนี้ เวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ โรงแรม Four Seasons กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบปะกับภาคเอกชนไทย เพื่อรับฟังผลการหารือระหว่างภาคเอกชนไทยกับสภาหอการค้าสหรัฐฯ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าแ

นายกลินทร์ สารสิน ประธานหอการค้าไทย และผู้บริหาร SCG ได้รายงานภาพรวมการหารือระหว่างภาคเอกชนไทยและสหรัฐฯว่า ไทยและสหรัฐฯ ควรใช้ประโยชน์จากสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ให้เกิดประโยชน์แก่การค้าและการลงทุนทั้งสองฝ่ายอย่างเต็มที่ พร้อมทั้ง จะมีการร่าง MOU เพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น มีเป้าหมายเดียวกัน และที่สำคัญมีแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยจะครอบคลุมด้านต่างๆอย่างคลอบคลุม ที่ไทยและสหรัฐฯมีศักยภาพ เช่น อาหาร พลังงาน ยานยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ หอการค้าสหรัฐฯแสดงความยินดีที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาคเอชนและรัฐบาลสหรัฐฯด้วย

 

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภาพรวมการหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯว่า การหารือเป็นไปด้วยความราบรื่น ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน และยินดีสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการค้า และการลงทุน และจัดตั้งศูนย์ข้อมูล เช่นเดียวกับ ศูนย์ดำรงธรรม เพื่อให้ข้อมูล แนวทาง และทิศทางการค้าการลงทุนเป็นเอกภาพ พร้อมทั้ง สร้างความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุนที่รัฐบาลได้ดำเนินการ รวมทั้ง มาตรการสนับสนุนการลงทุนให้กว้างขวาง ทั่วถึง และถูกต้องด้วย

 

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า ภาคเอกชน เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุน ดังนั้น หากมีข้อเสนอ หรือข้อติดขัด ขอให้แจ้ง รัฐบาลจะได้ดำเนินการเพื่อให้กลไกเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญ รัฐบาลได้ดำเนินการตามหลัก “สิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ” โดยยึดแนวทาง “ เคารพ คุ้มครอง และเยียวยา” เพื่อเป็นไปตามแนวทางของสหประชาชาติ

ภายหลังการหารือ นายกลินทร์ สารสิน ผู้บริหาร SCG  ได้ชี้แจงกรณีการซื้อถ่านหินจากสหรัฐฯว่า SCG เตรียมลงนามซื้อถ่านหินจากภาคเอกชนสหรัฐฯ 2 ฉบับ รวม 155,000 ตัน เพื่อใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ และทดแทนการซื้อถ่านหินจากอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันอินโดนีเซียมีความต้องการใช้ถ่านหินสูงขึ้น  SCG จึงต้องมองหาแหล่งถ่านหินใหม่ ซึ่งถ่านหินจากสหรัฐฯมีคุณภาพดีและคุ้มค่าต่อการลงุทน

…………………………………………

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย ในงานเลี้ยงอาหารค่ำซึ่งสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน และสภาหอการค้าสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพ

วันนี้เวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงในอาหารค่ำ ซึ่งสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน (USABC) และ สภาหอการค้าสหรัฐอเมริกา (U.S. Chamber of Commerce) เป็นเจ้าภาพเพื่อเป็นเ

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าความมั่นคงและเสถียรภาพของไทยมีผลต่อพัฒนาการและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองในภาพรวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงให้ความสำคัญกับการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับหุ้นส่วนต่างชาติ รวมทั้งมีนโยบายและแนวทางเพื่อวางพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง และเตรียมความพร้อมของไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

 

โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีย้ำความสัมพันธ์ยาวนานระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่มีอย่างรอบด้าน โดยความสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้า การลงทุนระหว่างสองประเทศ มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระหว่างกันทั้งในเชิงภาพรวมและระดับประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ที่เน้นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และความกินดีอยู่ดีของชาวอเมริกัน รวมถึงการสร้างงาน

 

นายกรัฐมนตรีไก้กล่าวถึงการหารือกับประธานาธิบดีทรัมป์ซึ่งได้เน้นย้ำความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนระหว่างสองประเทศ และจะส่งเสริมความร่วมมือกันในอนาคตต่อไป ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงซึ่งเป็นเสาหลักที่ค้ำชูความเป็นพันธมิตรระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีส่วนสำคัญในการสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาค ในประเด็นเศรษฐกิจ ไทยและสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ประธานาธิบดีทรัมป์เห็นพ้องว่า ประเด็นเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ต้องเดินหน้าไปด้วยกัน เพราะทั้งสองประเทศต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน

 

ในปัจจุบันมีนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในสหรัฐฯ กว่า 20 บริษัท มูลค่ารวมราว 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสร้างงานกว่า 68,000 ตำแหน่ง ในขณะเดียวกันธุรกิจสหรัฐฯ กว่า 100 บริษัทก็เข้ามาลงทุนในไทย มูลค่ากว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าประเทศไทยได้เปรียบในเชิงที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ความพร้อมในเชิงโลจิสติกส์ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งไทยประสบความสำเร็จในการยกระดับการพัฒนา และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ CLMV ตลาดอาเซียน รวมทั้งภูมิภาคเอเชีย นโยบายประเทศไทย+1 ไม่ได้ให้ความสำคัญแต่เพียงระดับทวิภาคี แต่ยังต่อยอดไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพ

 

ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งแก่ภาคเอกชนสหรัฐฯ เกี่ยวกับนโยบายในการปฏิรูปเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะประเทศไทย 4.0 และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นประตูแห่งโอกาสที่เปิดกว้าง และพร้อมต้อนรับและอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ

 

 

นายกรัฐมนตรีพบกับนายออร์ริน แฮทช์ ประธานที่ประชุมวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา เพื่อรับมอบสำเนาข้อมติวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

 

 

นายกรัฐมนตรีพบหารือกับนายพอล ไรอัน (The Hon.Paul Davis Ryan,.Jr.) ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมโดม Rotunda อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ

 

 

matemnews.com  4 ตุลาคม 2560