Home ข่าวทั่วไปรอบวัน เรืองไกร ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยพลเอกประยุทธ์ไม่ปลดล็อกให้พรรคการเมือง

เรืองไกร ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยพลเอกประยุทธ์ไม่ปลดล็อกให้พรรคการเมือง

555
0
SHARE

 

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย  ได้ไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อตอนเช้าวันที่ 10 พ.ย.2560   ยื่นคำร้องใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าการที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยยังไม่ยกเลิกประกาศ คสช.ที่ 57 /2557  และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เข้าข่ายเป็นการกระทำขัดขวาง ไม่ให้พรรคการเมือง นักการเมือง ดำเนินการกิจกรรมทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560  ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ตามมาตรา 45  และเป็นการกระทำต้องต้องตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

นายเรืองไกร ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ว่า นับตั้งแต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 ต.ค.2560 และมีการกำหนดระยะเวลาให้พรรคการเมืองในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ แต่หัวหน้า คสช. กลับมีท่าที ที่จะยังไม่ต้องการให้มีการปลดล็อค ให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมเหล่านั้นได้ และ เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา คสช.ทำเอกสารชี้แจงว่าจะยังไม่มีการปลดล็อคพรรคการเมือง แต่หากพรรคการเมืองดำเนินการไม่ทันตามที่กฎหมายกำหนดก็จะมีการขยายเวลาให้ได้ โดยคสช.พิจารณาแล้วว่าไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่ตนเห็นว่าในเรื่องของสิทธิเสรีภาพทางการเมือง บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา45  โดยให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ที่คุ้มครองให้พรรคต้องทำกิจกรรมตามห้วงเวลาตามที่กฎหมายกำหนด แต่นายกฯ กลับมาบอกว่าตรงนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ  ทำให้ต้องมาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการกระทำต้องห้าม ตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ เห็นว่าการที่ หัวหน้า คสช. อ้างว่า ประกาศ คสช.ที่ 57 /2557  และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ยังมีผลใช้บังคับอยู่ได้นั้น ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 3  กำหนดไว้อยู่แล้วว่า หากกฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ กฎหมายอื่นใดที่ขัดหรือแย้งก็ให้สิ้นสภาพไป   ดังนั้นจะต้องถือว่าทั้ง 2 คำสั่ง คือ คำสั่งที่ 57 ที่ออกโดย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองปี 2550 และคำสั่งที่ 3 เป็นคำสั่งที่ห้ามเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ฉบับใหม่ ก็ได้บัญญัติว่ากฎหมายใดที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายนี้ให้สิ้นสภาพไป

 

ดังนั้นคำสั่งที่ออกโดย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองปี 2550 ก็น่าจะไม่สามารถเอามาบังคับใช้ได้อีก ส่วนคำสั่งที่เป็นเรื่องการชุมนุมก็ไม่เกี่ยวกับการประชุมพรรคการเมือง อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัย ที่ 12/2552 ที่เคยวินิจฉัยเรื่องสิทธิเสรีภาพไว้ว่าในการประกอบกิจการ กรณีที่มีประกาศคณะปฏิวัติห้ามไว้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าหากรัฐธรรมนูญใหม่ใช้บังคับก็ให้ประกาศคณะปฏิวัตินั้นก็จะต้องสิ้นสภาพไปหรือไม่.

 

 

Matemnews.com  10 พฤศจิกายน 2560