Home ข่าวทั่วไปรอบวัน วิธีป้องกันไวรัสโนต้า

วิธีป้องกันไวรัสโนต้า

569
0
SHARE

 

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์   เผยแก่ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2561 ว่า โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในประเทศไทย เป็นโรคที่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ ระบาดในช่วงหน้าหนาว ได้แก่ ไวรัสโนโร (Norovirus,NoV) ประกอบด้วย 5 จีโนกรุ๊ป (Genogroup) คือ

 

GI-GV จีโนกรุ๊ปที่มักก่อโรคในมนุษย์ คือ GI และ GII โดยเฉพาะจีโนกรุ๊ป GII พบว่ามีอัตราการก่อโรคในคนสูงที่สุด ทั้งนี้ในแต่ละจีโนทัยป์ยังสามารถจำแนกออกได้อีกหลายสายพันธุ์ย่อย

 

อาการที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้รุนแรง ปวดท้องและท้องร่วง ซึ่งมีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น อาการร่วมอย่างอื่นที่พบ เช่น ปวดศีรษะ ไข้หนาวสั่น และปวดกล้ามเนื้อ เชื้อใช้เวลาฟักตัว 12-48 ชม. ไวรัสโนโรนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน…

 

ขณะที่ ไวรัสโรตา (Rotavirus) มี 7 สายพันธุ์

 

ได้แก่ A,B,C,D,E,Fและ G ซึ่งไวรัสโรตา กรุ๊ป A เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาการมักรุนแรงในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปี มีระยะฟักตัว 1-2 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียน และถ่ายเป็นน้ำ มักหายได้เองภายใน 3-8 วัน และเนื่องจากมีหลายสายพันธุ์ จึงสามารถเกิดโรคได้หลายครั้ง แม้จะมีการใช้วัคซีนป้องกันถึง 2 ชนิดแล้ว

 

เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคอุจจาระร่วง ประชาชนควรดื่มน้ำที่สะอาด หรือน้ำต้มสุก รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หากจะเก็บอาหารที่ค้างมื้อควรเก็บไว้ในตู้เย็น และก่อนรับประทานต้องอุ่นให้ร้อนทุกครั้ง และควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงหรือรับประทานอาหาร และภายหลังจากการเข้าห้องน้ำ

 

matemnews.com  10 มกราคม 2561