Home ข่าวทั่วไปรอบวัน เชื้อไวรัสโรต้าไม่ทำให้คนถึงตาย

เชื้อไวรัสโรต้าไม่ทำให้คนถึงตาย

1387
0
SHARE

 

 

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)

นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค     จัดให้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา   เรื่องอุจจาระร่วงหลังจากพบการเผยแพร่ ข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วยศิลปิน ดารา จากโรคอุจจาระร่วงและผลการตรวจเชื้อพบโรตาไวรัส  หลังประชุมแล้วได้ร่วมกันแถลงข่าว

 

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ   กล่าวว่า ปกติการเจ็บป่วยด้วยโรคอุจจาระในประเทศไทย และทั่วโลก จะมีสาเหตุมาจากไวรัส  2 ชนิด คือ

1.โรตาไวรัส พบมากที่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

  1. โนโรไวรัส พบมากในผู้ใหญ่

 

แต่จากการเก็บของมูลของสำนักระบาดวิทยา พบว่าในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา พบอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง ที่ติดเชื้อโรตาไวรัสสูงขึ้น และในปลายปี 2560 ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จนถึง ต้นปี 2561

 

จากการเก็บข้อมูลและตรวจหาเชื้อไวรัสในห้องปฏิบัติการ พบว่า  มีการเปลี่ยนแปลงของโรคอุจจาระร่วง พบการป่วยในผู้ใหญ่มากขึ้นและเป็นการติดเชื้อโรตาไวรัส แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้

 

อาการของการติดเชื้อไรตาไวรัสในผู้ใหญ่จะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน  อ่อนเพลีย มีไข้ การรักษา เน้นตามอาการ ปกติของการติดเชื้อไวรัสไม่มีการใช้ยารักษาอยู่แล้ว และไม่อยากให้คนตื่นตระหนกเพราะเป็นเรื่องปกติ โดยเน้นการ ทานเกลือแร่ และพักผ่อน หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์   โรคนี้จะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากประชาชน และแพทย์มีความเข้าใจโรค ส่วนในต่างประเทศ ก็พบการป่วยในผู้ใหญ่จากโรตาไวรัสเช่นกัน

 

นพ.ภาณุมาศ  ญาณเวทย์สกุล  กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้ใหญ่มีอาการรุนแรงเพราะมีอาการอาเจียน ทำให้ไม่สามารถรับเกลือแร่ได้ จึงอ่อนเพลียมาก บางรายต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลและจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า การป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง พบมาก ใน กทม.และ 4 จังหวัดปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ,ปทุมธานี ,ชลบุรี และสมุทรปราการ

 

สำหรับกลุ่มอายุของผู้ป่วยที่พบมาก ส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน อายุ 30-40 ปี อาศัยในชุมชน และพบอัตราการป่วยในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10

 

สาเหตุของอาการป่วยที่แน่ชัดไม่ได้ทางกรมควบคุมโรคและสำนักระบาดวิทยาไม่ได้นิ่งนอนใจ จะเร่งหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อการป้องกัน

 

ขณะนี้ขอให้ประชาชน เน้นการรับประทานอาหารร้อน ใช้ช้อนกลางและที่สำคัญ หมั่นล้างมือ ด้วยน้ำสบู่ หรือเจล ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง

 

ข้อมูลอัตราการป่วยโรคอุจจาระร่วงตลอดทั้งปี 2560 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยราว 1 ล้านคน

 

 

matemnews.com  10 มกราคม 2561