“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ประกาศในเว็บไซต์ เมื่อตอนเช้าวันที่ 4 ก.พ.2561 ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เชื่อมั่นหรือไม่กับการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562”
สำรวจระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.60 ระบุว่า เหมาะสม
ร้อยละ 20.40 ระบุว่า ไม่เหมาะสม
ด้านความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก มากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชน ร้อยละ 10.80 ระบุว่า เชื่อมั่นมากที่สุด เพราะจะได้ดำเนินการตาม Road Map บ้านเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว , ร้อยละ 24.32 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างมาก เพราะเชื่อมั่นในความสามารถของรัฐบาล เลื่อนการเลือกตั้งมาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้น่าจะทำจริง
ร้อยละ 23.76 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย เพราะยังไม่มีความพร้อม สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา , ร้อยละ 15.36 ระบุว่า เชื่อมั่นน้อย เพราะมีการเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น และสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่นิ่ง และร้อยละ 25.76 ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะที่ผ่านมายังไม่มีอะไรที่ลงตัวเลยสักอย่าง สถานการณ์บ้านเมืองก็ยังไม่ปกติ
ปัจจัยหรือสาเหตุที่อาจจะทำให้ยังไม่มีการเลือกตั้งตามกำหนด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 22.64 ระบุว่า ปัญหาพรรคการเมืองยังไม่พร้อม รองลงมา ร้อยละ 21.20 ระบุว่า เศรษฐกิจยังไม่ดี พอที่จะเลือกตั้ง , ร้อยละ 21.12 ระบุว่า ปัญหาการยังไม่มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ , ร้อยละ 14.32 ระบุว่า ประชาชนยังต้องการให้รัฐบาลปัจจุบันทำงานต่อและยังไม่ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ร้อยละ 19.52 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่เรียบร้อย บ้านเมืองยังไม่สงบ ยังมีความขัดแย้งในสังคม รัฐบาลชุดปัจจุบันยังไม่พร้อมที่จะให้มีการเลือกตั้ง และรัฐบาล คสช. ยังอยากอยู่ต่อ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ถามถึงว่ายอมรับได้หรือไม่ ถ้าหากการเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.16 ระบุว่า ยอมรับได้ เพราะอยากให้ทำการปฏิรูปประเทศก่อน บ้านเมืองยังต้องจัดการระบบและระเบียบอยู่ อะไรหลายๆอย่างยังไม่ลงตัว ไม่เรียบร้อยเท่าไหร่ การดำเนินการต้องใช้เวลา ต้องรอให้รัฐบาลชุดนี้บริหารบ้านเมืองไปก่อน
มีความเชื่อมั่นในตัวนายกคิดว่ารัฐบาลคงมีเหตุผลที่สำคัญในการเลื่อนการเลือกตั้ง และคิดว่าหากเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก็คงไม่นาน ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ประชาชนทำอะไรไม่ได้อยู่แล้ว ไม่มีสิทธิ์ต่อต้าน ถ้าบ้านเมืองยังไม่สงบจริง ก็อยากให้บริหารประเทศต่อไป
ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาลบริหารงานดีอยู่แล้วไม่อยากให้มีการเลือกตั้งอีก ถ้าหากเลือกตั้งไปแล้ว ก็ไม่น่ามีอะไรดีขึ้น บ้านเมืองสงบดีแล้ว
รองลงมา ร้อยละ 33.36 ระบุว่า ยอมรับไม่ได้ เพราะเลื่อนมาหลายครั้งแล้ว อยากให้รัฐบาลทำตามที่ได้กำหนดไว้ อยากให้เป็นประชาธิปไตย ควรคืนอำนาจให้กับประชาชน เศรษฐกิจแย่มาก ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการมาลงทุนกับเรา และไม่ชอบการทำงานของรัฐบาล อยากให้บ้านเมืองดีขึ้นกว่านี้ และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ถามว่าตอนนี้ประชาชนอยากเลือกตั้งแล้วหรือยัง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.84 ระบุว่า อยากเลือกตั้ง เพราะอยากให้ประเทศชาติพัฒนา เศรษฐกิจจะได้ดีขึ้น อยากเห็นแนวทางการบริหารประเทศในรูปแบบใหม่ อยากให้ประชาคมโลกยอมรับประเทศไทย ต่างชาติจะได้เชื่อมั่นและกล้าเข้ามาลงทุนอยากให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ยึดอำนาจมานานแล้ว ควรคืนอำนาจให้กับประชาชน บ้านเมืองจะได้สงบ มีระเบียบมากขึ้น ขณะที่บางส่วน ไม่พอใจกับการทำงานของรัฐบาลอยากให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ รองลงมา
ร้อยละ 19.60 ระบุว่า ไม่อยากเลือกตั้ง เพราะตอนนี้สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ ยังไม่สงบเรียบร้อยดีเท่าไหร่ การเมืองก็ยังวุ่นวายอยู่ รอให้ทุกอย่างลงตัวเรียบร้อยก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง อยากให้โอกาสรัฐบาลบริหารงานต่อไป อยากเห็นการพัฒนาตามระบบของรัฐบาล ถ้ามีการเลือกตั้งก็จะมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกอีกเหมือนก่อนหน้านี้ ไม่รู้ว่าที่เลือกเข้ามาจะพัฒนาประเทศชาติได้ดีแค่ไหนที่ผ่านมายังไม่มีพรรคการเมืองไหนที่มีประสิทธิภาพ
ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาลบริหารงานดีอยู่แล้ว บ้านเมืองสงบดีอยู่แล้ว อยากอยู่แบบนี้ตลอดไป ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง และ ร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
matemnews.com 4 มีนาคม 2561