คลิกอ่านรายละเอียด
เฟชบุ้ค Wassana Nanuam รายงาน
สภากลาโหม เตรียมพิจารณา “ดาวเทียม THEIA ของ DTi กลาโหม ที่จะร่วมทำ Thailand Satellites Data Information Processing Center กับสหรัฐอเมริกา และหลายชาติ / ถก “ร่างยุทธศาสตร์กิจการอวกาศเพื่อการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2561-2570”
มีรายงานข่าวว่า ที่ประชุมสภากลาโหม วันนี้ ที่มี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน ร่วมด้วย ปลัดกห. ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.เหล่าทัพ จะมีการพิจารณาแนวความคิดด้านกิจการอวกาศ ของกระทรวงกลาโหม เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์กิจการอวกาศเพื่อการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2561-2570
โดยมีเป้าหมายให้กระทรวงกลาโหม จะต้องเป็นหน่วยงานหลักในการใช้เทคโนโลยีอวกาศด้านความมั่นคงของประเทศโดยตรง มิใช่เพียงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานกับหน่วยงานอื่นเท่านั้น
โดยมี วิสัยทัศน์ ว่า“ กระทรวงกลาโหม เป็นองค์กรหลักด้านกิจการอวกาศ ที่มีศักยภาพใน การเตรียมกำลัง ผนึกกำลัง และพัฒนาด้านกิจการอวกาศ เพื่อการป้องกันประเทศ ”
ทั้งนี้ เพราะพันธกิจกระทรวงกลาโหม พัฒนา เสริมสร้าง และบูรณาการขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศ เพื่อการป้องกันประเทศ ตามยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ( พ.ศ.2560 – 2579 ) ด้วยการเตรียมกำลัง การผนึกกำลัง และการพัฒนา
โดยมี ยุทธศาสตร์ย่อย ที่ว่า
- การสร้างความพร้อมด้านกิจการอวกาศ ของหน่วยงานภายในกระทรวงกลาโหม ให้สามารถนำเทคโนโลยีอวกาศไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจทางด้านความมั่นคง ในการป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งเพื่อการพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือประชาชน ทั้งในภาวะปกติ และภาวะไม่ปกติ
- การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน และบูรณาการทรัพยากรที่มี เพื่อให้กระทรวงกลาโหมมีศักยภาพด้านกิจการอวกาศเพื่อการป้องกันประเทศ เมื่อได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและเมื่อถึงเงื่อนไขที่กาหนด สร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ และรักษาสมดุลของความสัมพันธ์ได้อย่างบังเกิดผลเป็นรูปธรรม
- การสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านกิจการอวกาศ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ให้ทันต่อ ภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ เทคโนโลยี และสถานการณ์ความมั่นคงของโลก มีการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรมอวกาศในการก้าวไปสู่กิจการอวกาศเพื่อการป้องกันประเทศ
ทั้งนี้ จะมีการชี้แจงโครงการดาวเทียม THEIA โดย สถาบันเทคโนโลยี่ป้องกันประเทศ (สทป.DTi ) เป็นผู้ร่วมศึกษา เพื่อให้หลายหน่วยราชการร่วมใช้ แต่ไม่ใช่ดาวเทียมกลาโหม
ทั้งนี้ เป็นโครงการ หน่วยงานไทยร่วมกับ สหรัฐอเมริกา และ หลายประเทศ ที่จะมาร่วมลงทุน และเร่งทำสัญญากับ รัฐบาล.ไทยให้ได้ในปีนี้
เพราะ อีก 3 ปีถึงจะเริ่มงานได้ โดยคาดว่า ดาวเทียมสำรวจประเภทเรดาร์ SAR (Synthetic Aperture Rader)
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 ที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะทำงานในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ได้เดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี พร้อมด้วยคณะ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพปฎล สุนทรนนท์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รองศาตราจารย์นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการด้านการปรับระบบงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมแบบบูรณาการ สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และพลอากาศเอก สุรศักดิ์ มีมณี ที่ปรึกษาสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
เพื่อพบกับผู้แทนของบริษัท THEIA GROUP นำโดย พลอากาศเอก Ronald Fogleman ประธานกรรมการ บริษัทฯ ซึ่งเป็นอดีตเสนาธิการทหารอากาศสหรัฐอเมริกา (เทียบเท่าผู้บัญชาการทหารอากาศ) เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปการศึกษาโครงการ Thailand Satellites Data Information Processing Center THEIA เกี่ยวกับการดำเนินการร่วมวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากดาวเทียม THEIA ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ และยังเพิ่มศักยภาพเพื่อรองรับตามนโยบาย Thailand 4.0 ในลักษณะความร่วมมือวิจัยและพัฒนาผ่านทางหน่วยงานวิจัยของไทย
matemnews.com
30 พฤษภาคม 2561