Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ดาวเทียม คสช.-4.0

ดาวเทียม คสช.-4.0

811
0
SHARE

 

 

เฟชบุ้ค   Wassana Nanuam   รายงาน

 

ดาวเทียม คสช.-4.0

 

รัฐบาล คสช.ยุค4.0 เล็งแผนเช่า ดาวเทียมใหม่”THEIA Space” ใช้ถ่ายภาพ-สำรวจ-งานความมั่นคง ใช้สำหรับหลายส่วนราชการ/ให้กลาโหม พิจารณา ความคุ้มค่า หรือไม่ ปีละ 2พันล้าน/จากที่ใช้”ไทยคม-ThiOs1-2″โฆษกกห. เผยกลาโหม อยากมีช่อง สำหรับความมั่นคงโดยเฉพาะ รองรับแผนพัฒนากิจการอวกาศกลาโหม สร้างบุคลากรรองรับ ในอนาคต จาก USER เป็น OPERATOR เผย มีการใช้ดาวเทียม จารกรรม เราต้องรู้เท่าทัน หวังพึ่งพาตนเองและรองรับระบบงานความมั่นคงด้านอวกาศของประเทศใน อนาคต การใช้ดาวเทียมสอดแนม ระบบขีปนาวุธนาวิถีด้วยดาวเทียมนำร่อง และระบบนำร่องUAV

 

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมสภากลาโหมร่วมด้วย ปลัดกห. ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.เหล่าทัพ จะมีการพิจารณา แนวความคิดด้านกิจการอวกาศ ของกระทรวงกลาโหม เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์กิจการอวกาศเพื่อการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2561-2570

 

พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม พลเอกประวิตร ได้สั่งการ เรื่องการดำเนินงานด้านกิจการอวกาศกระทรวงกลาโหม มอบหมาย ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ติดตามพัฒนาการของภัยคุกคามด้านกิจการอวกาศที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และให้บูรณาการงานร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพ รวมทั้งภาค ส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศของกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามแผนงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม

 

โดยเฉพาะการ พัฒนาองค์ความรู้และขีดความสามารถของกาลังพลจากระดับผู้ใช้งาน (USER) สู่การเป็นผู้ควบคุมและบริหารสถานี ดาวเทียม (OPERATOR) เพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเองและรองรับระบบงานความมั่นคงด้านอวกาศของประเทศใน อนาคต การใช้ดาวเทียมสอดแนม ระบบขีปนาวุธนาวิถีด้วยดาวเทียมนำร่อง และระบบนำร่องอากาศยานไร้คนขับUAV ใน การทิ้งระเบิดเป้าหมาย

 

พลโท คงชีพ กล่าวว่า ในอนาคต กลาโหม ก็ควรจะมีดาวเทียม เพื่อความมั่นคงของเราเอง แต่จะเป็น การใช้ร่วมกับทุกส่วนราชการ แต่จะมี channel ด้านความมั่นคง โดยเฉพาะ แต่ตอนนี้ เราก็พัฒนา บุคลากรของเราไปก่อน ตาม “ร่างยุทธศาสตร์กิจการอวกาศเพื่อการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2561-2570”

 

อีกทั้งปัจจุบัน มีการใช้ดาวเทียม จารกรรม เราต้องรู้เท่าทัน

 

มีรายงานว่า สภากลาโหม ได้ให้ สถาบันเทคโนโลยี ป้องกันประเทศ( สทป)- Defense Technology Institute -DTi และ ศูนย์พัฒนากิจการอวกาศและไซเบอร์ กลาโหม ในการศึกษา พิจารณา โครงการ “ดาวเทียม THEIA ที่จะร่วมทำ โครงการ Thailand Satellites Data Information Processing Center กับสหรัฐอเมริกา และหลายชาติ เพื่อให้หลายหน่วยราชการร่วมใช้ แต่ไม่ใช่ดาวเทียมกลาโหม แต่ จะเป็นดาวเทียม ของรัฐบาล

 

ทั้งนี้ เป็นโครงการ หน่วยงานราชการต่างๆ ในนามรัฐบาลไทยร่วมกับ สหรัฐอเมริกา และ หลายประเทศ ที่จะร่วมลงทุน

 

โดย ดาวเทียม THEIA Space นี้ จะใช้ เพื่อ

การถ่ายภาพ การสำรวจ และความมั่นคง ที่จะทำให้ได้ข้อมูลสำคัญ โดยเป็น ดาวเทียมสำรวจประเภทเรดาร์ SAR (Synthetic Aperture Rader) ที่จะเริ่ม ในอีก3 ปีข้างหน้า โดยที่ ดาวเทียม ไทยคม ที่จะหมดสัญญา ในปี2564

 

ทั้งนี้ การเช่า ดาวเทียม นี้จะใช้งบฯราวปีละ 2 พันล้านบาท

 

โดยกลาโหม จะใช้ในการสำรวจน้ำมัน ในประเทศ ด้วย เพราะ กลาโหม มีศูนย์อุตสาหกรรมและพลังงานทหาร และ ขุดเจาะน้ำมัน ในภาคเหนือ ด้วย, แหล่งข่าว กล่าว

 

พลเอกประวิตร กล่าวว่า ขอให้ทางกลาโหม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พิจารณาก่อนว่า เราควรจะทำอย่างไร เรื่องดาวเทียม

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 ที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะทำงานในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ได้เดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี พร้อมด้วยคณะ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพปฎล สุนทรนนท์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รองศาตราจารย์นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะอนุกรรมการด้านการปรับระบบงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมแบบบูรณาการ สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และพลอากาศเอก สุรศักดิ์ มีมณี ที่ปรึกษาสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

 

เพื่อพบกับผู้แทนของบริษัท THEIA GROUP นำโดย พลอากาศเอก Ronald Fogleman ประธานกรรมการ บริษัทฯ ซึ่งเป็นอดีตเสนาธิการทหารอากาศสหรัฐอเมริกา (เทียบเท่าผู้บัญชาการทหารอากาศ) เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปการศึกษาโครงการ Thailand Satellites Data Information Processing Center THEIA เกี่ยวกับการดำเนินการร่วมวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากดาวเทียม THEIA ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ และยังเพิ่มศักยภาพเพื่อรองรับตามนโยบาย Thailand 4.0 ในลักษณะความร่วมมือวิจัยและพัฒนาผ่านทางหน่วยงานวิจัยของไทย

 

 

matemnews.com 

30 พฤษภาคม 2561