Elon Musk มหหาเศรษฐี แห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา เจ้าของบริษัท สเปชเอ็กซ์ กับ เทสลา ได้ส่งแค็ปซูลดำน้ำจิ๋ว 7 ตัว มาถึงประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2561 แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติการ เนื่องจากฝ่ายฯผู้ว่า ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนาธร ได้เริ่มปฏิบัติการนำหมูป่าออกตั้งแต่ 10 โมงเช้า 8 ก.ค.2561 ทางผู้สื่อข่าว BBC จึงได้ส่งข้อความทางทวิตเตอร์ไปถามอีลอน ได้รับคำตอบว่า
คลิกชมคำตอบในทวิตเตอร์
Will do. Even if not useful here, perhaps it will be in a future situation.
Good luck to everyone who are involved in the operation.
Let us stay optimistic, focused on the task at hand.
Let’s not yield to bad mood. Here’s something from me to make the day a bit brighter:
คลิกชมเฟชบุ้ค Worawisut Pinyoyang
จริงใจ ยังปฏิบัติการต่อไป
เฟชบุ๊กของ Worawisut Pinyoyang ได้โพสต์รูป และข้อความ ชื่นชมในความตั้งใจของทีมงาน SpaceX ของ Elon Musk และ Wing Inflatables ที่ช่วยกันออกแบบ-ประกอบ-ทดสอบ “Rescue Pod” อย่างขะมักเขม้น
พร้อมกับขนส่งด้วยเครื่องบินเจ็ตของ Elon Musk มายังไทย
พูดจริง ทำจริง ช่วยจริง
นี่คือการรวมตัวของเหล่า Avengers เพื่อช่วยเหลือน้องๆ 13 คนอย่างแท้จริง
ขณะที่ในโลกโซเซี่ยลได้มีการเผยแพร่สำหรับอุปกรณ์ดังกล่าว เรียกว่า “เรสคิว พอด” (Rescue Pod) ภายใต้ชื่อว่า “วิงก์” ซึ่งนายอีลอน มัสก์ ประธานบริษัท เทสลา สเปซเอ็กซ์ มหาเศรษฐีนักธุรกิจขนส่งทางอวกาศชาวอเมริกัน ได้สั่งให้ทีมงานผลิตแคปซูลดำน้ำ ขนาดจิ๋วเท่าคนแนวนอนขึ้นมาเพื่อใช้ในภารกิจช่วยเหลือ 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง อ.แม่สาย จ.เชียงรายของไทย
โดย เรสคิว พอดนี้ ตัวบอดี้ผลิตจากท่อส่งออกซิเจนเหลวของจรวด Falcon มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา สามารถยกได้ด้วยคนเดียวหรือสองคน สามารถลอดตัวถ้ำได้ รวมถึงลอดช่องแคบๆในถ้ำได้ด้วย มีหูหิ้ว 4 จุดบน และ 4 จุดล่าง ไว้สำหรับผูกเชือกแล้วลาก หรือจะหิ้วก็ได้ สามารถต่อกับถังอากาศได้ 4 ถัง
ข้อมูลจากเว็บไซต์ madriverunion.com ระบุว่า วิศวกรของบริษัทฯ ได้ออกแบบอุปกรณ์ดังกล่าวพร้อมกับพนักงานรวม 30 คน ที่โรงงานในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยอุปกรณ์ดังกล่าวทำจากพลาสติกโพลียูรีเทน สีดำและสีส้ม ความยาว 7 ฟุต หุ้มด้วยแถบสำหรับปะยึดเวลโคร (ตีนตุ๊กแก หรือแถบหนามเตย) พองตัวด้วยอากาศหายใจออกของผู้โดยสาร มีแถบสีดำที่พองตัว
โดยเริ่มต้นออกแบบและผลิตเมื่อเวลา 09.30 น. วันศุกร์ที่ 6 ก.ค. ตามเวลาท้องถิ่น แล้วทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบเมื่อเวลา 13.00 น. จากการทดสอบพบว่าทำงงานตรงกับที่วางแผนไว้ ก่อนที่จะผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวเริ่มต้นที่ 5 ลำ ขึ้นเครื่องบินส่วนตัวของอีลอน มัสก์ ส่งไปยังประเทศไทย เมื่อเวลา 17.15 น. ของวันศุกร์ โดยอีก 8 ลำที่เหลือได้ทยอยส่งเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันเฟชบุ๊กของ Jaroensook Limbanchongkit Pone โพสต์รายละเอียดของเรสคิว พอดนี้ด้วย พร้อมระบุในช่วงท้ายว่า มีคนถาม”อีลอน”ว่า “ยังคงเดินหน้าทำเรือดำน้ำขนาดเล็กอยู่ไหม หลังทางการไทยตัดสินใจตัดสินใจช่วยเด็กด่วนด้วยการให้เด็กดำน้ำพร้อมมนุษย์กบ”
เขาบอกว่า “โครงการนี้ยังคงเดินหน้าต่อ ถึงจะไม่ได้ใช้ตอนนี้ แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจต้องใช้ก็ได้”
อ่านเต็มๆ ได้ที่ลิงค์นี้ : http://madriverunion.com/arcatas-wing-inflatables-spacex-c…/
ส่วนหนึ่งจากทวิตเตอร์ของ อีลอน มัสก์ และ 77kaoded
matemnews.com
8 กรกฎาคม 2561