Home ข่าวทั่วไปรอบวัน มหาดไทยได้ประโยชน์ตรงไหนจากโรงงานกำจัดขยะ – พลเอกประยุทธ์ถาม

มหาดไทยได้ประโยชน์ตรงไหนจากโรงงานกำจัดขยะ – พลเอกประยุทธ์ถาม

944
0
SHARE
เข้มตรวจโรงงานรีไซเคิลกากอุตฯ --- นายพงษ์เทพ จารุอำพรพรรณ รองอธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดรอบกรุงเทพฯ ทำให้ต้องหามาตรการเข้มงวดเพื่อลดปัญหา โดยจะเร่งเข้าตรวจโรงงานรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมอันตราย หรือโรงงานประเภท 106 ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ 420 แห่ง ซึ่งหากตรวจแล้วพบว่ามีปัญหาจะให้โอกาสปรับปรุง แต่ถ้ายังทำไม่ได้ก็จะยึดส่วนที่เคยอนุญาตให้ดำเนินการไม่ได้กลับมา หรือกรณีที่ไม่มีตัวโรงงานอยู่ก็ต้องยึดใบอนุญาตคืนทั้งหมด ทั้งนี้ การตรวจสอบที่ผ่านมา พบว่าปัญหาเกิดจาก 3 ส่วน คือไม่ดำเนินตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต เครื่องมือไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีนักวิชาการสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานและทำรายงานไม่ถูกต้อง

 

 

ภายหลังนำปฏิบัติกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ด้วยการทำความสะอาดใหญ่ในพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล และถนนโดยรอบ เมื่อตอนเช้าวันที่ 26 ก.ค.2561 แล้ว  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ ว่า

 

“เราได้ทำกิจกรรมทำความดีด้วยหัวใจ ทุกคนก็ได้สมัครเป็นสมาชิกจิตอาสา ได้รับพระราชทางเครื่องหมาย หมวก และอะไรต่างๆ โดยที่เราทำวันนี้ไม่ได้ห่วงว่า ทำเพื่อการประชาสัมพันธ์ แต่ทำเพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่า บ้านเมืองเป็นของพวกเราทุกคน ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามมันมีผลกระทบทั้งสิ้น ถ้าเราไม่รักกัน ไม่ร่วมกันแก้ปัญหา เอาแต่ปัญหาของตัวเองมาเผชิญหน้ากัน ก็แก้ไม่ได้สักอัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลพยายามจะแก้ปัญหาด้วยกฎหมาย ไม่ได้มุ่งหวังว่า จะให้เอาอำนาจไปไว้ที่ใครอย่างที่เขียนกันว่า ไปเอื้อประโยชน์ให้คนนี้คนโน้น ไม่ใช่ ต้องไปดูว่า ปัญหาเดิมอยู่ที่ไหน แล้วทำไมถึงต้องแก้ไขกฎหมาย หรือแม้แต่ออกมาตรา 44 มาต้องดูวัตถุประสงค์ว่า เพื่ออะไร ไม่เช่นนั้นใครจะกล้าทำ ถ้าจะทำเพื่อเอาประโยชน์ตรงนี้ไปให้ใครได้ประโยชน์คนเดียว ตนทำไม่เป็น ทำไม่ได้  ผมไม่เคยคิดแบบนี้   เวลาไปต่างจังหวัดจะทำอย่างไรให้ทั่วถึง ทำอย่างไรให้เกิดกิจกรรมที่เกิดผลประโยชน์โดยตรงกับพื้นที่ ผลประโยชน์โดยอ้อมก็ต้องไปเกิดกับคนอื่นด้วย หรือเรียกว่า การทำงานโดยการใช้งบประมาณให้เกิดผลประโยชน์โดยตรง และโดยอ้อมกับคนอื่น การใช้งบประมาณต้องเป็นแบบนี้ วันหน้า ครม. ก็ต้องทำงานแบบนี้ โครงการที่เหลือที่จะเข้า ครม. ก็ต้องตอบคำถามได้ มีการประเมินล่วงหน้าว่าใน 1-2 ปี จะเกิดอะไรขึ้น โดยโครงการในระยะยาวก็ต้องตอบคำถามให้ได้อีกว่า ระหว่างที่ยังไม่เสร็จทั้งโครงการจะมีอะไรเกิดขึ้นให้กับประชาชน เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้เป็นคนที่ย่อยโครงการออกมาอีก ในการจัดซื้อจัดจ้าง ถ้ามันใหญ่มากกเกินไป 4-5 ปีกว่าจะเสร็จ ถึงตอนนั้นปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้น ปัญหาเก่าก็ยังไม่ได้แก้ หลักการเป็นอย่างนี้ เราก็พยายามทำเต็มที่  เรื่องขยะถือมีความสำคัญที่สุด เดิมมีกฎหมายอยู่แล้ว เพียงแต่ทุกคนไม่ต้องการขยะในพื้นที่ตัวเอง เราไปบังคับไม่ได้ เขาก็อ้างว่า ไม่มีกฎหมายที่จะทำให้สามารถจัดการขยะได้ จึงต้องมีมาตรา 44 เรื่องผังเมือง ซึ่งไม่ใช่ปลดล็อกเพื่อให้ใครหรือเจ้าใดเจ้าหนึ่งมาทำ ก็ต้องไปหาคนมาทำ ไม่เช่นนั้นก็ดำเนินการไม่ได้ เพราะพื้นที่นั้นห้ามมีของเสีย แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องตอบคำถามเรื่องการแก้ปัญหาสังคมและขยะได้  หน้าที่นี้เป็นของท้องถิ่น ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล กระทรวงมหาดไทยก็สั่งไม่ได้ เพียงแต่กำกับดูแลให้ท้องถิ่นทำตามนั้น โดยที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายขยะที่เรี่ยราดอยู่ในวันนี้ โดยขยะในบ้างพื้นที่ เช่นที่ ระยองขยะบางส่วนต้องขนไปทิ้งที่สระบุรี นั่นคือ เหตุผลที่ออกมาตรา 44 เพื่อปลดล็อกเรื่องผังเมือง ให้สามารถทำโรงงานขยะได้ แต่การจะเอาขยะไปฝังกลบหรือเอาไปทำเป็นปุ๋ยหรือพลังงานก็มีกฎหมายของกระทรวงพลังงานอยู่ว่า ท้องถิ่นสามารถทำเองได้หรือไม่ หรือจะร่วมกับใครได้หรือไม่ ขอให้ดูให้ลึกซึ้งหน่อยก็แล้วกัน ถ้าเราวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์กันแบบเดิม มันก็กลับไปที่เก่า กลายเป็นว่า เอาประโยชน์ไปเอื้อใครมหาดไทยเขาจะได้ประโยชน์ตรงไหน ในเมื่อเขาเพียงกำกับดูแล ไม่ได้เป็นคนอนุญาตสร้างโรงงานอะไรต่างๆ เป็นเรื่องของท้องถิ่นW

 

 

matemnews.com 

26 กรกฎาคม 2561