สำนักข่าวไทย รายงาน
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มติเห็นชอบและอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ….) พ.ศ……..เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกป่าเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ประเทศ
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาล บ่าย 7 ส.ค.2561 ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ….) พ.ศ……..ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2489 มาตรา 7 โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขให้ไม้ทุกชนิดในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม และการทำไม้ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่อีกต่อไป
สำหรับไม้ที่ขึ้นในป่าชนิดใดจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากตามระเบียบและกฎหมายเดิมมีความซับซ้อนยุ่งยาก ทำให้ประชาชนจำนวนมากขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ สร้างรายได้ สามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ไม้หวงห้ามที่กำหนด ประกอบด้วย
ไม้สัก
ไม้ยาง
ไม้ชิงชัน
ไม้เก็ดแดง
ไม้อีเม่ง
ไม้พยูงแกลบ
ไม้กระพี้
ไม้แดงจีน
ไม้ขะยุง
ไม้ซิก
ไม้กระซิก
ไม้กระซิบ
ไม้พยูง
ไม้หมากพลูตั๊กแตน
ไม้กระพี้เขาควาย
ไม้เก็ดดำ
ไม้อีเฒ่า
ไม้เก็ดเขาควาย
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงแก่ผู้สื่อข่าว ว่า ครม.อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่…)พ.ศ…ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ (ทส.)และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณา ก่อนเสนอสนช.ต่อไป และได้รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไป กำหนดให้ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นหรือปลูกขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน”ไม่เป็นไม้หวงห้าม” สำหรับไม้ที่ขึ้นในป่าชนิดใดจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ,
กำหนดให้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ใดประสงค์จะให้ออกหนังสือรับรองไม้ที่ขึ้น หรือปลูกขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน รวมทั้งการออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กฎหมายป่าไม้ใหม่ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 โดยเฉพาะมาตรา 7 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ห้ามตัดไม้หวงห้ามอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะปลูกไว้ในที่ดินของตัวเองก็ตาม แต่หากต้องการตัดหรือโค่นต้องขออนุญาตทุกครั้งทุกต้น ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน การลักลอบตัดไม้หวงห้ามแล้ว ยังถือว่าเป็นการปลดล็อกเพื่อเปิดทางให้กับเศรษฐกิจชาวบ้านสามารถปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ จะทำให้ชาวบ้านและชุมชนสามารถสร้างสวนป่า ปลูกป่าไม้มีค่า ที่เป็นพืชเศรษฐกิจราคาแพง ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ชิงชัน ยางนา และอื่นๆ โดยสามารถตัดไม้หวงห้ามและไม้มีค่าทั้ง 58 ชนิดที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์ตัวเองได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่ผิดกฎหมาย จะส่งผลดีในด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ไม้ 58 ชนิด
เปรี้ยง
matemnews.com
7 สิงหาคม 2561