คลิกชมเฟชบุ้ค
พชร นริพทะพันธุ์ – Pachara Naripthaphan
19 สิงหาคม เวลา 19:53 น. ·
ทำไม #Thaksinomic คือ solution ของ 5.0 revolution ใน ประเทศที่กำลังพัฒนา ?
ทักษะและประสบการณ์ (skill and experinced) คือหลักของ ความสามารถพื้นฐาน (competency) ของการบริหารองค์กร ทักษิโณมิกส์ เกิดขึ้นมากจาก ความสมบูรณ์แบบของทั้งสองด้าน ในสมัยนี้ที่วัยรุ่น start ups เรียกว่า Unicorn นั่นเอง เพราะน้อยนักที่นักทำจะได้มีโอกาสคิด และนักคิดที่ได้มีโอกาสทำ แต่ #ลูกศิษย์ทักษิโณมิกส์ ทุกคน ย่อมรู้ว่าคุณครูของเขานั้นประสบความสำเร็จมาจากการทำ และ ความสามารถในการต่อยอดทางความคิด
#ทักษิโณมิกส์ คือ ทักษะของความเข้าใจพื้นฐานเศรษฐศาสตร์ ของ Keynesian ผสานกับ ความต้องการพื้นฐานของประชากรแบบของ Maslow ตามหลักจิตวิทยา และ sociological positivism ตามหลักสังคมอาชญวิทยา
ตามหลักพื้นฐาน Keynsian ที่สอนถึงเส้น อุปสงค์ และ อุปทาน เพื่อให้เห็นความต้องการในการเปลี่ยนแปลง อุปสงค์และอุปทาน และ การเกิด เงินเฟ้อและการว่างงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลพวงมากจากการ ปฎิวัติอุตสาหกรรมในช่วง ศตวรรษที่ 18 ทั้งสิ้น มันทำให้เกิดการผลิตและการศึกษา เพื่อสร้าง mass customization ส่งผลถึงรูปแบบสังคมการศึกษา และ ระบบธุรกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบัน แต่ประเทศไทยไม่ได้ ปฎิวัติอุตสาหกรรมแบบในประเทศตะวันตก เรายังเป็น ประเทศกสิกรรม อัตราว่างงานธรรมชาติ natural unemployment rate ของเราเลยต่ำและเป็น unreliable indicator มาโดยตลอด เพราะประชากรจะหมุนเวียนการทำงาน ตามฤดูและราคาเพาะปลูก และหลายๆประเทศที่กำลังพัฒนาก็ยังติดอยู่ paradigm นี้
ทักษิโณมิกส์ เข้าใจถึงความต้องการหลัก ประชากรของประเทศกสิกรรมเป็นหลัก ที่ต้องพึ่งฟ้าฝนและความช่วยเหลือของรัฐ ในขณะเดียวกัน ประเทศยังต้องการรายได้จากอุตสาหกรรม และการลงทุน ซึ่งเราล้าหลังกว่าประเทศตะวันตก นับสิบๆๆปี การบริหารบนพื้นฐานนี้ย่อมทำให้เราเสียเปรียบ ประเทศที่พัฒนาแล้ว และทำให้ประชากรของเราติดอยู่ในวังวนของการมีรายได้ต่ำ มีหนี้ครัวเรือนที่ไม่สามารถจ่ายได้ และ ถูกกดขี่โดยระบบที่มีนายทุนเป็นตัวครอบ
#ทักษิโณมิกส์ เข้าใจว่า ในปิระมิด Maslow นั้นจะสามารถช่วยประชากร มีความสุขได้หาก สามารถก้าวข้าม ความต้องการพื้นฐาน แต่ สามารถเข้าถึง self actualization (กองทุนหมู่บ้าน 30บาทรักษาทุกโรค และ OTOP คือตัวอย่างของการขับเคลื่อน) คือการสร้างความภูมิใจในการเป็นประชากรคนไทย ที่ไม่ถูกกดขี่โดยรัฐ และ สามารถดูแลอนาคตได้ด้วยตัวเอง ซึ่ง ในหลัก sociological positivism สังคมจะดีได้หาก ประชากรได้การศึกษา เข้าถึงโอกาส และ การสร้างความภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอน – ด้วยหลักคิดสามอันนี้ จึงเกิด การผลักดันทางเศรษฐกิจด้วยนโยบาย ที่ dynamic และสร้างทุกอย่างเป็น โมดูล (module) ซึ่งง่ายต่อการพัฒนาและปรับแก้ เพราะรู้ว่าเรามีช่องว่างกับประเทศที่พัฒนาอยู่ เราจึงต้องสร้าง พื้นฐานของนโยบายที่คล่องตัว เพื่อลบความเหลื่อมล้ำจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยความที่ #ทักษิโณมิกส์ รู้ว่า self actualization คือตัวผลักดันอุปสงค์ และ เพิ่มศักยภาพในการคิด
สังคม digital transformation หรือ 5.0 revolution จึง ต้องพึ่งพา ทักษิโณมิกส์ เพื่อสร้าง ประสิทธิภาพและศักยภาพ ให้ประเทศขนาดกลางที่กำลังพัฒนา และมีความเหลื่อมล้ำ กับ ประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่ เพื่อไม่ให้ ถูกครอบงำและเอาเปรียบจากนายทุน เพราะหาก ยุค 5.0 revolution มีพื้นฐานจาก sharing economy (เศรษฐศาสตร์แบ่งปัน) แล้ว ประชากรจะเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันได้อย่างไรหากเราไม่รู้สึกมีคุณค่าเพียงพอในสังคม ……
#Thaksinomic4econ5.0
#5.0revolution
ปาล์ม-พชร นริพทะพันธุ์ เป็นลูกชายของ พิชัย นริพทะพันธุ์
matemnews.com
21 สิงหาคม 2561