Home ข่าวทั่วไปรอบวัน มาตรา 44 คลายล็อคการเมือง 6 ข้อ

มาตรา 44 คลายล็อคการเมือง 6 ข้อ

667
0
SHARE

 

 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว   ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เมื่อเช้าวันที่ 23 ส.ค.2561 ประเด็นการเตรียมคลายล็อกให้พรรคการเมืองได้ดำเนินการเรื่องต่างๆ ว่า

 

เรื่องนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้คุยกันมาระยะหนึ่งแล้ว โดยต้องการให้

 

  1. พรรคการเมืองจัดประชุมใหญ่ เพื่อรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติมได้
  2. ให้ความเห็นเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งได้
  3. สามารถดำเนินการเกี่ยวกับไพรมารีโหวตได้
  4. ตั้งกรรมการเพื่อสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
  5. ติดต่อประสานงานกับสมาชิกได้

ส่วนข้อ 6. นั้น จำไม่ได้ แต่ไม่ใช่การหาเสียงเลือกตั้ง

 

นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปิดทางให้สามารถดำเนินการได้   การใช้ ม.44 ก็ไม่เห็นจะเป็นประเด็นอะไร เพราะคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 นั้นเปรียบเหมือนกฎหมาย การจะปรับเปลี่ยนคำสั่งนี้ก็จะต้องออกกฎหมายโดย ม.44 แต่ไม่ทราบว่า คสช.จะออกคำสั่งได้เมื่อใด

 

การทำไพรมารีโหวตนั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด  เพราะกำหนดเพียงให้รับฟังความเห็นของสมาชิกพรรคในการเลือกผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็มีหลายวิธีการ แต่ไม่ขอบอกว่าจะเสนอให้ คสช.เลือกรูปแบบใด โดยจะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย ทุกรูปแบบ   จะเสนอ คสช.ได้เมื่อไหร่คงไม่ต้องพูด เพราะจะก่อให้เกิดการคาดการณ์ เกิดความสับสนอลหม่าน  มีการขยายผล มีการวิจารณ์ ด่าไปก่อน ทำให้ทุกอย่างไขว้เขวไปหมด

 

ส่วนที่นายกรัฐมนตรีบอกว่า  พร้อมเซ็นเมื่อมีการเสนอมานั้น หมายถึง พร้อมเซ็นเมื่อมีการพิจารณาแล้วเสร็จ โดยต้องเข้ามาพิจารณาในที่ประชุม คสช.ก่อนจะมีการปรับปรุง และยื่นให้หัวหน้า คสช.เซ็น

 

นักข่าวถามว่า เมื่อทำไพรมารีโหวตเสร็จ   พรรคการเมืองจะสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้เลยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ยังไม่ได้ เพราะการหาเสียงเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้ง ส่วนพรรคการเมืองจะลงพื้นที่พบปะประชาชนหลังทำไพรมารีโหวตได้หรือไม่นั้นจะต้องถาม กกต.

ส่วนที่ กกต.กางปฏิทินเบื้องต้นว่า  จะสามารถออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งในเดือนมกราคม 2562 แล้วจัดการเลือกตั้งได้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 นั้น  เป็นสมมุติฐานของ กกต. คิดว่าไม่มีปัญหาในเรื่องของระยะเวลา   เพราะสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีเวลาเตรียมตัวเลือกตั้งแค่ 20 วัน  จนทำให้ พรรคกิจสังคมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องขึ้นป้ายหาเสียงว่า  คิดไม่ทันพี่น้องเอ๋ย เลือกกิจสังคม   ดังนั้น  จึงไม่มีปัญหาเรื่องระยะเวลา  การประกาศเพียงสั้นๆ การหาเสียงก็จะสั้น บางคนอาจรู้สึกว่าเสียเปรียบ  แต่บางพรรคอาจชอบใจ  เหมือนที่หนังสือพิมพ์เขียนวันนี้ว่า  ทุกพรรคการเมืองอยากให้การเลือกตั้งสั้นทั้งนั้น  เพราะจะได้จ่ายเงินน้อย แต่ก็ยังขาดการสร้างความรู้ความเข้าใจ การตัดสินใจเลือกนโยบายของพรรคต่างๆ ทางที่ดีที่สุด  คือ  เอาให้พอดี   เพราะอย่าง 20 วัน ก็สั้นเกินไป 90 วัน ก็ยาวเกินไป

 

 

matemnews.com

23 สิงหาคม 2561