คลิกอ่านข่าวของเว็บไซต์โลกวันนี้
นักวิชาการเตือนนายกฯเป็นผู้นำประเทศไม่ควรใช้อารมณ์
On August 25, 2018
CREATOR: gd-jpeg v1.0 (using IJG JPEG v62), default quality
นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไล่สื่อมวลชนพ้นทำเนียบรัฐบาล รวมถึงมีการด่าทอสื่อมวลชนมาตลอด 4 ปีว่า นายกรัฐมนตรีหรือประชาชนทั่วไป สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อมวลชนสามารถทำได้ แต่ต้องทำภายใต้ความเป็นจริง ไม่ใช้อารมณ์ โดยเฉพาะผู้นำประเทศอย่างนายกฯ ในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณที่สามารถจะวิพากษ์วิจารณ์ได้ ทั้งนี้หากสื่อมวลชนทำหน้าที่ไม่เหมาะสม ก็ควรจะพูดด้วยเหตุและผล และมองการกระทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นรายฉบับเฉพาะกรณีไป มากกว่าการที่จะมาแสดงอารมณ์หรือใช้ลักษณะของการกล่าวโจมตีสื่อมวลชนแบบกว้างๆ กลับกันหากมีการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนหรือสื่อมวลชนต่อคณะรัฐบาล หรือกองทัพโดยกว้างที่ไม่ระบุว่าเป็นบุคคลใดที่อยู่ในรัฐบาลหรืออยู่ในกองทัพที่ทำเรื่องไม่เหมาะสมก็อาจจะเกิดความไม่พอใจขึ้นได้เช่นเดียวกัน ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่านายกฯ อาจจะเป็นโรค 2 อารมณ์นั้น เรื่องดังกล่าวนี้จะต้องไปถามจิตแพทย์ ตนไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ ว่าเขาเป็นคน 2 อารมณ์หรือไม่ เดี๋ยวจะกลายเป็นการกล่าวหา อย่างไรก็ตามการแสดงอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดของนายกฯ เข้าใจว่าคงจะมีความเครียดอยู่แล้ว แต่ไม่ควรที่จะไปลงกับสื่อมวลชนหรือกับคนอื่น
“ผู้นำประเทศควรระวังในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก การแสดงท่าทีที่เกรี้ยวกราด เพราะอาจจะกลายเป็นต้นแบบให้กับเด็กและเยาวชน เช่น นายกฯ หัวเราะบ่อยแล้วจะมาบอกให้เด็กควบคุมอารมณ์ มันก็อาจจะดูน่าตลกขบขัน อย่างไรก็ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เฉพาะนายกฯ แต่ยังรวมถึงแหล่งข่าวทุกคน สามารถวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของสื่อได้ หากสื่อทำเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม แต่ควรจะต้องเป็นเฉพาะกรณีและไม่ใช่แสดงด้วยท่าทีที่ไม่ให้เกียรติกัน หากนายกฯไม่ให้เกียรติกับสื่อมวลชน สื่อมวลชนเองก็ไม่จำเป็นต้องให้เกียรตินายกฯเช่นเดียวกัน ถึงตอนนั้นหากนายกฯ ต้องการให้สื่อมวลชนให้เกียรติเขาในฐานะว่าเป็นผู้นำประเทศ เขาก็ควรให้เกียรติสื่อมวลชนในฐานะที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายด้วย” นายมานะ กล่าว
matemnews.com
26 สิงหาคม 2561