Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ยูเอ็นชี้ กองทัพเมียนมาต้องถูกตั้งข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ยูเอ็นชี้ กองทัพเมียนมาต้องถูกตั้งข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

687
0
SHARE

 

 

คลิกอ่าน  BBC Thai

https://goo.gl/vsgwKG

 

 

 

รายงานของสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ชี้ เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงเมียนมาต้องถูกสอบสวนข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรัฐยะไข่ และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ

 

รายงานฉบับนี้ซึ่งจัดทำขึ้นจากการพูดคุยกับพยานในที่เกิดเหตุ รวบรวมหลักฐานภาพจากดาวเทียม รูปถ่าย และคลิปวิดีโอ เป็นการประณามอย่างรุนแรงที่สุดของสหประชาติต่อวิกฤตโรฮิงญา โดยระบุว่ากองทัพเมียนมาจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผลกับภัยคุกคามความมั่นคงที่เกิดขึ้นจริง

 

ยูเอ็นได้ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงเมียนมา 6 คนด้วยกันที่ควรจะถูกไต่สวน นอกจากนี้ ยูเอ็นยังได้วิพากษ์วิจารณ์นางออง ซาน ซู จี อย่างไม่ไว้หน้าที่ไม่สามารถหยุดความรุนแรงไว้ได้

 

 

รายงานฉบับนี้ยังเรียกร้องให้ส่งเรื่องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อให้ดำเนินตามกระบวนการยุติธรรม

 

คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงของสหประชาชาติตั้งขึ้นเมื่อเดือน มี.ค. 2017 เพื่อหาความจริงจากข้อกล่าวหาที่มีอยู่อย่างแพร่หลายเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐยะไข่ โดยย้อนไปตั้งแต่ก่อนกองทัพเมียนมาจะเริ่มใช้กำลังทางทหารครั้งใหญ่หลังจากกองทัพติดอาวุธโรฮิงญาก่อเหตุโจมตีซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต เมื่อเดือน ส.ค.

 

 

 

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นทำให้ชาวโรงฮิงญาอย่างน้อย 7 แสนคนอพยพหนีออกจากประเทศ รายงานระบุว่านี่เป็น “หายนะที่มีเค้าลางจะเกิดขึ้นมาหลายทศวรรษแล้ว” และเป็นผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จาก “การกดขี่อย่างรุนแรงและเป็นระบบตั้งแต่เกิดจนตาย” โดยอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในรัฐคะฉิ่น รัฐฉาน และรัฐยะไข่ มีทั้งการฆาตกรรม การคุมขัง การทรมาน การข่มขืน ทำให้ตกเป็นทาส ซึ่งนับเป็นอาญกรรมที่ร้ายแรงที่สุดภายใต้กฎหมายนานาชาติ

 

ในรัฐยะไข่ รายงานพบว่ามีลักษณะของการสังหารหมู่และการเนรเทศ ในลักษณะและความรุนแรงที่มีเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คณะทำงานของยูเอ็นไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในพื้นที่แต่บอกว่าได้ข้อมูลมาจากการพูดคุยกับพยานในที่เกิดเหตุ ภาพจากดาวเทียม รูปถ่าย และคลิปวิดีโอ

 

 

ใครถูกกล่าวหาบ้าง

 

แม้ว่าภายใต้รัฐธรรมนูญเมียนมา ฝ่ายพลเรือนจะมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายกองทัพน้อยมาก แต่รายงานนี้ระบุว่า เจ้าหน้าที่ทางการในฝ่ายพลเรือนมีส่วนในอาญชกรรมร้ายแรงทั้งด้วยการกระทำและการละเว้นจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยระบุว่า นางออง ซาน ซู จี ไม่ได้ใช้อำนาจในเชิงปฏิบัติในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือเชิงศีลธรรม ในการหยุด หรือป้องกัน สิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่

 

รายงานของยูเอ็นยังบอกอีกด้วยว่า กลุ่มติดอาวุธในรัฐคะฉิ่นและรัฐฉาน และกองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน หรือกลุ่มอาร์ซา ในรัฐยะไข่ ก็มีส่วนในความรุนแรงและการละเมิดในครั้งนี้ด้วย

 

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ระบุว่าชาวโรฮิงญาอย่างน้อง 6,700 คน รวมทั้งเด็ก ๆ อายุไม่ถึงห้าขวบอีกอย่างน้อย 730 คน ถูกสังหารในช่วงเดือนแรกหลังเกิดเหตุรุนแรงในรัฐยะไข่

 

เฟชบุ้คแบนบัญชี มิน อ่อง หล่าย

https://goo.gl/JXrMh2

 

 

matemnews.com 

27 สิงหาคม 2561