Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ไทยไม่น่าอาย

ไทยไม่น่าอาย

600
0
SHARE

 

 

เว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ 15 ก.ย.2561

https://goo.gl/RP2f8a

 

“การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของไทย”

ตามที่สื่อมวลชนได้รายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ปรากฏในรายงานประจำปีของคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาตินั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้

 

1.รายงานนี้จัดทำขึ้นโดยนาย Andrew Gilmore ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้ประกอบในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการจัดทำและนำเสนอรายงานตามกระบวนการของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ที่มีการจัดทำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 ตามข้อมติของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ที่ 12/2 โดยนาย Gilmore ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน จะเป็นผู้นำเสนอรายงานต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ในวันที่ 19 กันยายน 2561

 

2.รายงานระบุสถานการณ์ในประเทศต่างๆในปีนี้ รวม 29 ประเทศ และมีประเทศที่ต้องติดตามจากปีที่แล้วอีก 19 ประเทศ รวมทั้งไทย โดยในส่วนของไทยในปีนี้ ได้แก่ กรณีนายไมตรี จำเริญสุขสกุล และ น.ส.ศิริกาญจน์ เจริญศิริ (ทนายจูน) และมีกรณีติดตามจากรายงานปีที่แล้ว เช่น กรณีฟ้องร้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภายใต้

 

3.กรณีที่กล่าวถึงข้างต้นไม่เกี่ยวข้องกับการให้ความร่วมมือกับกลไกด้านสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด โดยการดำเนินการเป็นไปตามหลักกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

4.ไทยไม่มีนโยบายหรือเจตนาจะคุกคาม ข่มขู่ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน จึงได้มีการจัดทำมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยได้พัฒนากระบวนการ กลไก และมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนให้ได้รับความปลอดภัยและสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตได้

 

โดยที่ผ่านมา รัฐบาล โดยกระทรวงยุติธรรม ได้มีการดำเนินการหลายประการ อาทิ การแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนามาตรการในการคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวางกรอบแนวทางในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน การจัดทำคู่มือสำหรับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิด/มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด และการจัดทำรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนรายงานนายกรัฐมนตรีรายสัปดาห์

 

นอกจากนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 และจะบรรจุประเด็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน ปี พ.ศ.2562-2566 รวมทั้ง นายกรัฐมนตรีได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ

 

5.เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา จะเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอรายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ของผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ ในวันที่ 19 กันยายน 2561 ที่เจนีวา และใช้โอกาสนี้ชี้แจงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไทยเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

 

ข่าวรอยเตอร์

https://goo.gl/qrVQrq

U.N. decries ‘shameful’ reprisals on rights activists in 38 countries

 

 

 

U.N. decries “shameful” reprisals on rights activists in 38 countries

GENEVA, Sept 12 (Reuters) – The United Nations listed 38 “shameful” countries including China and Russia on Wednesday which it said had carried out reprisals or intimidation against people cooperating with it on human rights, through killings, torture and arbitrary arrests.

The annual report from U.N. Secretary-General Antonio Guterres also included allegations of ill-treatment, surveillance, criminalisation, and public stigmatisation campaigns targeting victims and human rights defenders.

“The world owes it to those brave people standing up for human rights, who have responded to requests to provide information to and engage with the United Nations, to ensure their right to participate is respected,” Guterres wrote.

“Punishing individuals for cooperating with the United Nations is a shameful practice that everyone must do more to stamp out.”

The 38 countries included 29 countries with new cases, and 19 with ongoing or continuing cases.

The new cases were in Bahrain, Cameroon, China, Colombia, Cuba, Democratic Republic of Congo, Djibouti, Egypt, Guatemala, Guyana, Honduras, Hungary, India, Israel, Kyrgyzstan, Maldives, Mali, Morocco, Myanmar, Philippines, Russian Federation, Rwanda, Saudi Arabia, South Sudan, Thailand, Trinidad and Tobago, Turkey, Turkmenistan, and Venezuela.

Governments frequently charged human rights activists with terrorism or blamed them for cooperating with foreign entities or damaging the state’s reputation or security, it said.

“(There is a) disturbing trend in the use of national security arguments and counter-terrorism strategies by states as justification for blocking access by communities and civil society organisations to the United Nations,” the report said.

Women cooperating with the U.N. had reported threats of rape and being subject to online smear campaigns, and U.N. staff often encountered people who were too afraid to speak to them, even at U.N. headquarters in New York and Geneva.

U.N. Assistant Secretary-General for Human Rights Andrew Gilmour, who will present the report to the Human Rights Council next week, said in a statement that the cases in the report were the tip of the iceberg.

“We are also increasingly seeing legal, political and administrative hurdles used to intimidate – and silence – civil society,” he said.

Some of the countries listed are current members of the Human Rights Council, which adopted a resolution last year reaffirming that everyone – individually or in association with others – had a right to unhindered communication with the U.N. (Reporting by Tom Miles; editing by Stephanie Nebehay and Matthew Mpoke Bigg)

 

 

 

matemnews.com

15 กันยายน 2561

 

matemnews.com