Home ข่าวทั่วไปรอบวัน คสช.แถลงอธิบายทำไมห้ามใช้โซเชียลหาเสียงในช่วง 90 วัน

คสช.แถลงอธิบายทำไมห้ามใช้โซเชียลหาเสียงในช่วง 90 วัน

746
0
SHARE

 

 

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ   แถลงแก่ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2561   ประเด็นพรรคการเมือง ออกมาวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2561 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ห้ามใช้โซเชียลมีเดียในการหาเสียง ว่า

 

“คำสั่งฯ ฉบับนี้เป็นช่วงทางให้ทางพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามรายละเอียดที่ระบุในช่วง 90 วัน ที่อยู่ในระหว่างการรอให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 จะมีผลบังคับใช้ช่วงเวลาดังกล่าว หลายภาคส่วนจะต้องเตรียมการเพื่อเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง เป็นช่วงที่พรรคการเมืองต้องเตรียมด้านงานธุรการ ประสานงานสำหรับดำเนินกิจกรรมภายในพรรค และการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง การจัดทำข้อบังคับหรือนโยบายต่างๆ รวมถึงการคัดเลือกผู้บริหารและการรับสมาชิก เช่น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ การจัดทำนโยบาย การเลือกตั้งผู้บริหารพรรคต่างๆ การจัดตั้งสาขาพรรค การรับสมาชิกพรรค การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค และการมีส่วนร่วมในการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยแค่การแจ้งบอกกล่าวทาง กกต.ในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล กฎกติกาการเลือกตั้ง ก็ต้องเตรียมงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการแบ่งเขตเลือกตั้ง ประชาชนและสื่อสารมวลชนก็ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด  สำหรับช่องทางการสื่อสารโซเชียลมีเดีย ที่ระบุในคำสั่งฯนี้ จะสามารถอำนวยความสะดวกเรื่องการติดต่อสื่อสารนำไปสู่กิจกรรมต่างๆ ของพรรคการเมือง  ในเรื่องที่จะสามารถกระทำได้ในช่วงนี้เท่านั้น และเมื่อเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งจริงๆ  ช่วงมีการประกาศ  พ.ร.ฎ.ว่าด้วยเลือกตั้ง ในเรื่องการหาเสียงรูปแบบช่องทางวิธีการต่างๆ ที่จะให้ได้มาซึ่ง ส.ส.ของแต่ละพรรคการเมือง ทาง กกต.คงจะได้ให้ความชัดเจน ในฐานะผู้ควบคุมกำกับดูแลกฎกติกาการเลือกตั้งต่อไป  ดังนั้นในช่วงเวลา 90 วันนี้ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและเป็นการสร้างสภาวะที่เกื้อกูลไปสู่การเลือกตั้ง คสช.หวังให้ทุกกระบวนการเดินไปได้ด้วยความราบรื่นที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งผ่านโซเชียลมีเดีย  มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเกิดความคลาดเคลื่อนในข้อมูลหรือมีการบิดเบือน มีการสร้างข่าวเท็จในโซเชียลมีเดีย ก็จะยิ่งสร้างความสับสนให้กับสังคม ซึ่งอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อกลไกที่กำลังดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งก็เป็นได้ อยากให้ทุกพรรคที่จะเสนอตัวมาเป็นผู้บริหารบ้านเมืองและดูแลประชาชน ได้เตรียมตัวเองในเรื่องกายภาพ และแนวทางการดำเนินการทางการเมืองให้เรียบร้อย เชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากให้เกิดภาพการใช้โซเชียลมีเดีย แล้วเกิดผลกระทบในทางลบต่อความเข้าใจของสังคม ต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ ซึ่งนั่นหมายถึงอาจส่งผลต่อกระบวนการสู่การเลือกตั้งที่ได้เตรียมไว้ก็เป็นได้”

 

matemnews.com

18 กันยายน 2561