Home ข่าวทั่วไปรอบวัน พลเอกประยุทธ์เป็นทศกัณฐ์ – ให้จัดตั้งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ขึ้นมาช่วยงาน

พลเอกประยุทธ์เป็นทศกัณฐ์ – ให้จัดตั้งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ขึ้นมาช่วยงาน

650
0
SHARE

 

 

 

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ตึกบัญชาการ  ทำเนียบรัฐบาล  เมื่อตอนเช้าวันที่ 25 ก.ย.2561 ว่า

 

ที่ประชุม คสช.หารือเรื่องกลไกการขับเคลื่อน และการปฏิรูปประเทศ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้า คสช.เป็นห่วงว่าเรื่องดีๆ ที่รัฐบาล และ คสช.ได้เริ่มต้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ การเร่งรัดยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง กลัวว่าเมื่อรัฐบาลชุดนี้สิ้นสุดลงแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะไม่อยู่ถาวร และสถานการณ์บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมถึงนายกฯ คนใหม่ จะรับภารกิจเหล่านี้ไหวหรือไม่  ที่ประชุมจึงมีการเสนอจัดตั้งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) เพื่อให้ทำหน้าที่บูรณาการ กลั่นกรองข้อมูล ช่วยเหลือชาวบ้านในการตรวจสอบข้อร้องเรียน ที่กระทรวงอาจจะไม่ได้ทำตามแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิรูป เป็นต้น และช่วยเหลือกระทรวงต่างๆ เนื่องจากบางเรื่องกระทรวงกลัวว่าจะมีการก่อม็อบเคลื่อนไหว จึงขอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาติดตามรับฟังและอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ก่อนที่ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะไปถึงนายกฯ สำนักงานดังกล่าวจะไม่มีอำนาจสั่งการ มีเพียงการติดตามผลประสานงาน และช่วยแก้ปัญหาในบางเรื่อง

 

การตั้งสำนักงานดังกล่าว เนื่องจากพบว่าในปัจจุบันนายกฯ เหมือนทศกัณฐ์ ควบคุมหน่วยงานต่างๆ และคณะกรรมการจำนวนมาก เช่น

 

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

 

คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)

 

คณะกรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.)

 

คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน (กขป.)

 

คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล (คตน.)

 

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พีเอ็มดียู)

 

ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เป็นต้น

 

คณะกรรมการเหล่านี้จะรายงานข้อมูลต่างๆโดยตรงไปยังนายกฯ จึงควรมีสำนักงานขึ้นมากำกับดูแลหน่วยงานย่อยๆเหล่านี้  ในที่ประชุม คสช. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ อธิบายเพียงหลักการว่าสำนักงานดังกล่าวจะเป็นหน่วยงานในลักษณะของกรม มีข้าราชการจำนวนไม่มาก เพื่อติดต่อประสานงาน  เขาให้อำนาจนายกฯ สามารถนำเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เป็นต้น ไปทำงานในสำนักงานใหม่ได้ เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ถูกยุบไปแล้ว แต่ยังมีเจ้าหน้าที่อยู่ โดยหัวหน้าหน่วยงานจะเป็นระดับซี 11 แต่ขณะนี้ยังไม่มีการพูดถึงว่าจะเป็นใคร และหลังจากนี้ที่ประชุมได้ให้นายวิษณุไปดูรายละเอียดการจัดตั้ง อย่างไรก็ตาม การหารือดังกล่าวจะยังไม่ออกเป็นมาตรา 44

 

matemnews.com

25  กันยายน 2561