Home ข่าวทั่วไปรอบวัน เลขาธิการ กพฐ.พูดถึงโรงเรียนบ้านดง-ครูต้องรับผิดชอบ

เลขาธิการ กพฐ.พูดถึงโรงเรียนบ้านดง-ครูต้องรับผิดชอบ

729
0
SHARE

 

 

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หรือ กพฐ. แถลงแก่ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 12 ต.ค.2561 ประเด็นนักเรียนรุ่นพี่ ม.2 โรงเรียนบ้านดง ต.ดงสุวรรณ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา รุมทำร้ายร่างกายเด็กหญิงรุ่นน้อง ถ่ายคลิปโพสต์โซเชียล  ว่า

 

ตนได้รับรายงานจาก นายประถม เชื้อหมอ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) พะเยา เขต 1  ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้ทราบว่าเหตุกาณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และความรับผิดชอบอยู่ที่ส่วนไหน เกิดจากความประมาทเลินเล่อของใคร หรือเกิดจากความผิดพลาดของระบบ ที่ไม่ครอบคลุมทั่วถึงบางมุม หากเกิดจากความบกพร่องของระบบ ก็ต้องไปทบทวนใหม่ แต่ถ้าเกิดจากผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามระบบก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ แต่ถ้าระบบไม่เคยถูกวางไว้เลย ผอ.โรงเรียนก็ต้องไปทบทวนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่วัวหายล้อมคอก เพราะตั้งแต่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ามารับตำแหน่ง รมว.ศธ.ตนได้มารับนโยบายเรื่องแนวปฏิบัติในทุกๆ เรื่อง ทั้งอุบัติเหตุ อุบัติภัย ชัดเจน ให้โรงเรียนปฏิบัติ แต่หากโรงเรียนไม่ปฏิบัติก็ไปจัดการคนที่ไม่ทำตามระบบ เพราะฉะนั้น ในส่วนของ ผอ.และครู ก็ต้องความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย เพราะในพื้นที่โรงเรียนเราให้เขาดูแลแล้ว  โรงเรียนจะต้องปรับวิธีคิดในเรื่องการจัดการภายในโรงเรียนใหม่  เพราะพฤติกรรมที่เด็กทำไปนั้นไม่เหมาะสม ทางโรงเรียนจะต้องทำให้เด็กได้คิดว่าเขาทำผิด และต้องศึกษาภูมิหลังของเด็กด้วยว่าทำไมเด็กมีพฤติกรรมแบบนี้  ทางโรงเรียนจะต้องรู้จักเด็กให้มากขึ้น เพราะถึงอย่างไรเด็กก็ต้องได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียนและสังคม หลังจากโรงเรียนได้ข้อมูลแล้วก็ต้องไปหาผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยแก้ปัญหาระยะยาวให้กับเด็ก  ทุกคนพฤติกรรม มีสาเหตุมีเบื้องหลังหมด ไม่ว่าจะเกิดจากเฉพาะหน้า หรือลึกๆ ข้างใน เขามีอะไร เราก็ต้องช่วยเหลือ แต่อันดับแรกเราจะต้องทำให้เขารู้ว่าเขาทำผิด ก็อาจจะให้เขาพักการเรียนไว้ก่อน ตนได้มอบหมายให้ ผอ.เขตพื้นที่ฯ ลงไปตรวจสอบเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด พบว่ามีการแก้ปัญหาทางกฎหมายเรียกค่าเสียหาย แต่ทางโรงเรียนจะต้องแก้ปัญหาเรื่องพฤติกรรมเด็ก และหน้าที่ของครูจะต้องมีวิธีการทำให้เด็กรู้ตัวว่าเขาทำผิดด้วยการพักการเรียนไว้ก่อน ส่วนจะพักเวลากี่วันต้องไปตกลงกัน และต้องไปศึกษาเบื้องลึกเบื้องหลังว่าทำไมถึงทำพฤติกรรมแบบนี้ ถ้าเราไม่แก้ไข ระยะยาวเขาเติบโตมาก็อาจจะมีพฤติกรรมที่อาจจะเป็นภัยกับตัวเขาและผู้อื่นด้วย  กลไกสำคัญของ สพฐ.ในการดูแลเด็กเกือบ 10 ล้านคน คือครู แต่ขณะนี้ สพฐ.มีครูนักจิตวิทยา ครูส่งเสริมการศึกษา ที่ยังไม่กระจายลงไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุม แต่เมื่อเกิดปัญหาลักษณ์นี้ขึ้นเราจะปรับอย่างไรในกลไกที่มีอยู่ให้สามารถรองรับและป้องกันปัญหา และดูแลเด็กให้ได้อย่างทั่วถึงส่วนความรับผิดชอบของผู้บริหารโรงเรียนและครู เมื่อประชาชนนำลูกหลานมาอยู่ภายในโรงเรียน และมอบความไว้วางใจให้กับโรงเรียนแล้ว ฉะนั้น นักเรียนทุกคนก็ถือเป็นลูกของครูทุกคนในโรงเรียน นั่นหมายถึงความรับผิดชอบทั้งหมดเกิดขึ้นกับโรงเรียนแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นกับเด็กในรั้วโรงเรียน ก็ต้องเป็นความรับผิดชอบของโรงเรียนโดยตรงอยู่แล้ว ขณะนี้ ผอ.เขตพื้นที่ฯได้ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความบกพร่องของใคร แต่เรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบตามระบบราชการ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ได้ชี้ว่าใครผิด ก็ต้องไปพิจารณาองค์ประกอบ เช่น ถ้าในเวลาส่วนตัวของเด็ก อาจจะอยู่ในมุมอับที่ครูมองไม่เห็น จะสรุปว่าครูผิดก็คงไม่ได้ แต่การจัดการในเรื่องนี้ ผอ.โรงเรียนและครูจะต้องจัดการให้เป็นระบบ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องการต่อรองระหว่างผู้ปกครองทั้งสองฝ่าย โรงเรียนจะต้องป้องกันปัญหาในระยะยาว

 

matemnews.com

12 ตุลาคม 25614