Home ข่าวทั่วไปรอบวัน แม่น้ำ 5 สายจะเป็นผู้ให้คำตอบเลื่อนเลือกตั้ง

แม่น้ำ 5 สายจะเป็นผู้ให้คำตอบเลื่อนเลือกตั้ง

511
0
SHARE

 

 

 

 

คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจการแก่พรรคการเมือง ครั้งที่ 4/2561  ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวชั่นเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ  เมื่อตอนเช้าวันที่ 22 พ.ย.2561  มีตัวแทนพรรคการเมือง 72 พรรค และผู้ยื่นจดแจ้งเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมือง 14 กลุ่ม รวม 306 คน เข้าร่วมรับฟัง หลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้สมัครและส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง โดยนายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.  เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม ความว่า

 

“รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งและดูแลพรรคการเมือง  ขณะที่คำสั่ง หัวหน้าคสช.ที่13/2561 กำหนดวิธีการให้พรรคการเมืองสรรหาสมาชิกและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ดังนั้นสำนักงานกกต.จึงจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติ โดยเฉพาะเรื่องหลักเกณฑ์  และวิธีการรับสมัคร  และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคการเมืองจะได้นำแนวทางไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  ปัจจุบันมีพรรคการเมือง 89 พรรค  ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าประชาชนตื่นตัวทางการเมือง และจะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง จึงขอให้แต่ละพรรคการเมืองดำเนินการตามเจตนารมณ์และอุดมการณ์ในการจัดตั้งพรรค  ผมและกรรมการ กกต.อีก 4 ท่าน ขอให้ความมั่นใจอีกครั้งว่า กกต.จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง สุจริต เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย และพร้อมให้คำแนะนำปรึกษากับทุกพรรค เพื่อให้การดำเนินกิจกการของพรรคการเมืองถูกต้องตามกฎหมาย กตต.มีหน้าที่สนับสนุนพรรคให้เป็นสถาบันการเมืองที่มีคุณภาพการที่มีพรรคการเมืองยื่นหนังสือขอให้การเลือกตั้งเป็นไปตามโรดแม็พวันที่ 24 ก.พ. 2562 และพรรคการเมืองอีกกลุ่มขอให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปนั้น  กกต. จะเอาข้อมูลทั้งหมดมาพิจารณาในภาพรวม   พรรคการเมืองขนาดเล็กก็มีข้อเรียกร้องให้มีความยืดหยุ่นเกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้ง รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ที่จะต้องพิจารณาด้วย  แต่เบื้องต้นมองว่า   ยังไม่มีเหตุปัจจัยที่จะทำให้การเลือกตั้งเลื่อนออกไปจากโรดแม็พ ส่วนการตัดสินใจว่าการเลือกตั้งจะเลื่อนออกไปหรือไม่  คงจะมีความชัดเจนหลังจากการประชุมร่วมกันระหว่างแม่น้ำ 5 สายกับตัวแทนพรรคการเมือง  อันเป็นไปตามข้อ 8 ของคำสั่ง คสช.ที่ 53/2561 และคาดว่าวันประชุมจะชัดเจนหลังพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้ว ส.ส. มีผลใช้บังคับ  แต่หากมีข้อสรุปให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป กกต. เองก็ไม่จำเป็นแสดงความรับผิดชอบ   เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีความรับผิดชอบ แต่การเลื่อนก็ต้องมีเหตุผล  และก็ต้องชี้แจงให้เข้าใจ  การแบ่งเขตเลือกตั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 16/2561 นั้น ทาง กกต. กำหนดวันไว้แล้วว่า  จะพิจารณาให้เสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. 2561 เพื่อที่จะเผื่อเวลาการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไว้ด้วย  ตั้งแต่สัปดาห์หน้ากกต.ก็จะมุ่งมั่นในการประชุมเพื่อให้เสร็จตามแผนงานที่วางไว้ โดยยืนยันว่าจะพิจารณาการแบ่งเขตให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 27 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ต้องคำนึงถึงจำนวนประชากรต้องมีความใกล้เคียงกันในแต่ละเขต”

 

นักข่าวถามว่า   มีการตั้งข้อสังเกตว่า  การเปิดทางให้ คสช. และรัฐบาลรับเรื่องร้องเรียนการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ อาจเป็นการเปิดทางให้ฝ่ายที่มีอำนาจแทรกแซงการแบ่งเขตเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง นายอิทธิพร ตอบ

 

ไม่คิดเช่นนั้น แต่เป็นการเพิ่มช่องทางในการรับเรื่องร้องมากกว่า การแบ่งเขตตามเงื่อนไขในคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 16/2561 ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นไปตามกฎหมายไม่ถือว่าทำให้ คสช.หรือรัฐมาครอบงำ   และคำสั่งไม่ได้มีผลนิรโทษกรรมให้กับ กกต. ที่ถูกมองว่าแบ่งเขตไม่เสร็จ  เพราะจริงๆ กกต.ทำทันตามกรอบเวลาที่คำสั่ง คสช.13/61 กำหนดให้แบ่งเขตเลือกตั้งแล้วเสร็จก่อน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.สมี.ผลบังคับใช้ อีกทั้งแม้ว่าจะแบ่งเขตไม่ทันตามที่กำหนดในระเบียบเนื่องจากระเบียบกกต.ว่าด้วยการแบ่งเขตให้ขยายเวลาได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเรื่องที่คสช.ต้องนิรโทษกรรมให้ กกต. แต่ยอมรับว่าอาจมีการหารือเรื่องของการคุ้มครองกกต.ในเรื่อง การปฏิบัติอื่นๆ

 

นักข่าวถามประเด็น  เงื่อนไขในคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2561 อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสังกัดพรรคการเมืองภายใน 90 วันว่า  สามารถสมัครได้จนกว่าจะปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายอิทธิพร ตอบ

 

กกต.ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้ ที่ผ่านมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแบ่งเขตอยู่  แต่ได้ยืนยันต่อที่ประชุมตัวแทนพรรคการเมืองในวันนี้แล้ว ว่า กกต. จะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเรื่องที่มีการวิจารณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของตนจนทำให้การแบ่งเขตเลือกตั้งล่าช้าออกไปนั้น  ก็เป็นความเห็นของแต่ละปัจเจกบุคคล ไม่ได้น้อยใจ และน้อมรับต่อกระแสวิจารณ์

 

นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการ กกต. กล่าวบรรยายหัวข้อ “การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง” ว่า

 

ตามกฎหมายกกต.จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งให้เสร็จก่อนวันที่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.มีผลบังคับใช้ หรือก่อนวันที่ 10 ธ.ค.2561  ซึ่งเขตเลือกตั้งมีความสำคัญมากกับพรรคการเมือง  เพราะพรรคการเมืองต้องทำงานกับเขตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนนและการรับสมัครอยู่ที่เขต   เขตเลือกตั้งจึงมีความสำคัญ และตราบใดที่ยังไม่มีเขตเลือกตั้ง ก็ไม่สามารถตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดได้  เพราะการตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดต้องใช้สมาชิกที่มีภูมิลำเนาในเขตเลือกตั้ง  เมื่อยังไม่มีเขตเลือกตั้งก็ยังไม่รู้ว่าใครจะอยู่ตรงไหน   ในระหว่างที่ยังไม่มีเขตเลือกตั้ง กกต.ได้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับพรรคการเมือง โดยแก้ประกาศนายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง เรื่องการรายงานทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองรับสมาชิกและรายงานสมาชิกทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคเข้าใช้ฐานข้อมูลได้โดยตรง สามารถแก้ไขเพิ่มเติมสมาชิกให้เป็นปัจจุบันได้ และสามารถตรวจสอบความเป็นสมาชิกพรรคเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนของสมาชิกพรรค โดยแต่ละพรรคจะได้รับยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดจากสำนักงานกกต.  ขณะนี้  กกต.ได้ตั้งกรุ๊ปไลน์ตามกลุ่มงาน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มกิจการพรรคการเมืองและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง, กลุ่มการเงินและบัญชีพรรคกรเมือง, กลุ่มฐานสมาชิกพรรคการเมือง และกลุ่มกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองและการสนับสนุนโดยรัฐ เพื่อประสานการปฏิบัติงานทางธุรการและตามกฎหมาย   ให้เป็นช่องทางตอบข้อซักถามของแต่ละพรรค ทั้งหมดนี้เป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับพรรคการเมืองซึ่งกกต.พยายามอย่างเต็มที่คำสั่งคสช.ที่ 16/2561 เรื่องการสรรหารผู้สมัครรับเลือกตั้งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง นั้นกำหนดระยะเวลาสรรหา  เป็นคนละเรื่องกับคุณสมบัติของผู้สมัคร หากวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 24 ก.พ.2562 การ สังกัดพรรคและเป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน ต้องเป็นสมาชิกก่อนวันที่ 26 พ.ย.2561 เว้นแต่เป็นพรรคการเมืองจัดตั้งใหม่ที่เข้ายื่นจดจัดตั้งภายในวันที่ 23 พ.ย.2561 ความเป็นสมาชิกจะย้อนกลับมาถึงวันที่ยื่นจดแจ้ง  ขอรับประกันว่า  ถ้ายื่นจดจัดตั้งพรรคภายในพรุ่งนี้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งทันแน่นอน  การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเมืองตั้งครั้งแรก หรือมินิไพรมารี  เป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายไพรมารีฉบับเต็มเพื่อแบ่งเบาภาระพรรคการเมืองในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งแรก จากการเลือกเป็นการรับฟัง เพื่อให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยการส่งผู้สมัครให้ส่งจากสาขาหรือตัวแทน อย่างน้อยแต่ละพรรคต้องมี 1 สาขาหรือ 1 ตัวแทน จึงสามารถส่งผู้สมัครในจังหวัดนั้นได้ ส่วนการรับฟังต้องเป็นไปตามข้อ 4 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2561 คือกรณีจัดตั้งสาขาให้รับฟังจากหัวหน้าสาขาและสมาชิก กรณีแต่งตั้งตัวแทนให้รับฟังจากตัวแทนและสมาชิก

 

ชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ยกมือขอถาม ว่า ยิ่งมาฟังการชี้แจงของกกต. วันนี้ยิ่งมีความสับสนมากขึ้น ทั้งประเด็นสาขาของพรรค   และระยะเวลาการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัคร   ที่จะต้องสังกัดพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน จะเป็นผลตามรัฐธรรมนูญ  คือ  ต้องสังกัดพรรคภายในวันที่ 26 พ.ย.2561  เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ขอถามไปยัง กกต.ว่า   เหตุใดจึงยังชักช้าในการประกาศเขตเลือกตั้งซึ่งล่วงเลยมานานจนทำให้มีคำสั่งคสช.ที่ 16/2561 ที่ให้อำนาจกกต.ทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ได้  แม้จะขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่วางไว้  กลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และยังเขียนหน้าด้านไปถึงขนาดให้การพิจารณาของกกต.เป็นที่สุด   ก็ไม่รู้ว่า กกต.เตรียมทำอะไรที่ผิดกฎหมายหรือผิดระเบียบที่ตัวเองร่างขึ้นหรือไม่  ขณะนี้ในต่างจังหวัดมีรูปแบบการแบ่งเขต  รูปแบบที่ 4 ปลิวว่อนไปหมด และมีข่าวว่ากกต.จะไม่เอา 3 รูปแบบที่รับฟังความเห็นไว้แล้ว รวมทั้งมีผู้สมัครจากบางพรรคการเมืองไปคุยโม้ว่าแบบที่ 4 กำลังจะมีขึ้น  ส่วนเรื่องของการสรรหาผู้สมัคร ที่ต้องรับฟังความคิดเห็นจากหัวหน้าสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดและสมาชิก  ก มองว่าตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดก็ตั้งจากสมาชิกในเขตอยู่แล้ว แต่ยังไปกำหนดว่าต้องรับฟังความเห็นจากสมาชิกจะทำอย่างไร  พรรคต้องลงไปคุยกับสมาชิกในแต่ละเขต  หรือติดประกาศไว้ในเว็บไซต์ได้หรือไม่ ตรงนี้มันลำบากและอาจเกิดปัญหาในการรับฟังความคิดเห็น

 

matemnews.com

22 พฤศจิกายน 2561