Home ข่าวทั่วไปรอบวัน 128 คณาจารย์เข้าชื่อ – วิตกกังวลต่อทั้งสิทธิเสรีภาพของนิสิตที่ถูกสอบสวนและต่อเกียรติภูมิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

128 คณาจารย์เข้าชื่อ – วิตกกังวลต่อทั้งสิทธิเสรีภาพของนิสิตที่ถูกสอบสวนและต่อเกียรติภูมิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

744
0
SHARE

 

 

 

เฟชบุ้ค  ชื่อบัญชี  เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง – คนส.  เผยแพร่

 

จดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากคณาจารย์ทั่วประเทศ

กรณีความขัดแย้งระหว่างมหาวิทยาลัยกับสมาชิกสภานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

จากเหตุการณ์ความวุ่นวายในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา จนกลายเป็นข่าวใหญ่ตามสื่อต่างๆ และก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติของทั้งฝ่ายอาจารย์และนิสิตอย่างกว้างขวาง ล่าสุดผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีฝ่ายกำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิตฯได้ลงนามในคำสั่งให้คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต ดำเนินการสอบสวนการกระทำของสมาชิกสภานิสิตฯ จำนวน 8 คน ได้แก่

 

  1. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ประธานสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
  2. ศุภลักษณ์ บำรุงกิจ รองประธานสภานิสิต นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์
  3. ธรณ์เทพ มณีเจริญ สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะรัฐศาสตร์
  4. ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะรัฐศาสตร์
  5. ชินวัตร งามละมัย สภานิสิตสามัญ นิสิตคณะครุศาสตร์
  6. ชยางกูร ธรรมอัน กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
  7. ปิยะธิดา พัชรศิรสิทธิ์ กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะรัฐศาสตร์
  8. ฐาปกร แก้วลังกา กรรมาธิการสภานิสิต นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์

 

อนึ่ง นายเนติวิทย์ มีข้อหาเพิ่มเติมกรณีใช้สถานที่มหาวิทยาลัยโดยไม่ได้รับอนุญาตในการจัดประชุมเพื่อรับฟังความเดือดร้อนผู้ค้าบริเวณสวนหลวงสแควร์

 

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คณาจารย์จากหลายสถาบันตามรายชื่อแนบท้าย วิตกกังวลต่อทั้งสิทธิเสรีภาพของนิสิตที่ถูกสอบสวนและต่อเกียรติภูมิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงใคร่ขอเสนอความเห็นเพื่อให้ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พิจารณาดังต่อไปนี้

 

  1. ผู้บริหารจุฬาฯ อาจเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของจุฬาฯ บุคคลภายนอกไม่ควรยุ่งเกี่ยว แต่หากพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลของความขัดแย้งทางความคิดระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า อีกทั้งการกระทำและข้อเรียกร้องของสมาชิกสภานิสิตจุฬาฯ ในกรณีนี้ไม่ได้เกินเลยไปจากสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่นิสิตมีเป็นเบื้องต้นแล้ว การใช้อำนาจลงโทษโดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของพวกเขา ย่อมเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะคณาจารย์ไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้ เพราะหากจุฬาฯ ตัดสินว่านิสิตเหล่านี้กระทำผิด ก็เท่ากับเป็นการส่งสารถึงคนทั้งประเทศว่า ในอนาคตหากคนรุ่นใหม่คนใดหาญกล้าใช้สิทธิเสรีภาพที่พวกเขามีเป็นเบื้องต้นไปตั้งคำถามต่อแนวทางปฏิบัติ จารีตประเพณี และความคิดความเชื่อของผู้มีอำนาจแล้ว พวกเขาก็จะถูกลงโทษเช่นเดียวกัน

 

ทั้งนี้ คณาจารย์ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ย่อมต้องเข้าใจว่าจารีตประเพณี ค่านิยมและความเชื่อในทุกสังคม รวมทั้งสังคมไทยล้วนต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และปัญญาชนคนรุ่นใหม่มักมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ส่วนผู้มีอำนาจที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงและใช้อำนาจดิบลงโทษผู้ที่เห็นต่างนั้นมักประสบกับการต่อต้านอย่างรุนแรง

 

หากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานนี้ได้แล้ว ความพยายามทุ่มเททรัพยากรมากมายเพื่อไต่ลำดับไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกก็เป็นเรื่องไร้สาระ

 

  1. ขณะที่ฝ่ายนิสิตได้แสดงความเห็นโต้แย้งการหมอบกราบในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ อย่างเป็นเหตุเป็นผลในพื้นที่สาธารณะมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ฝ่ายผู้บริหารจุฬาฯ กลับยังไม่เคยแสดงเหตุผลโต้แย้งให้ปรากฏ ในเมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างฝ่ายผู้บริหารจุฬาฯ ที่ต้องการรักษาพิธีกรรมที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว กับฝ่ายคนรุ่นใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับพิธีกรรมดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะที่เชื่อว่าตนเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” ก็พึงมีขันติอันหนักแน่น และใช้โอกาสนี้สร้างปัญญาให้แก่คนในประชาคมและสังคม ด้วยการเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงอย่างมีสติเพื่อให้เห็นข้อดีข้อเสียของทั้งสองฝ่าย และแสวงหาแนวทางแก้ไขต่อไป ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการใช้อำนาจกับนิสิต

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะกล้ากล่าวอ้างว่าตนเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” และภูมิปัญญาของสังคมได้หรือหากไม่สามารถจัดการกับความแตกต่างเพียงแค่นี้เยี่ยงผู้มีปัญญาได้

 

แม้ว่าผู้บริหารจุฬาฯ มีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษแก่สมาชิกของประชาคม แต่อำนาจนั้นพึงใช้อย่างยุติธรรมและชอบธรรม ประการสำคัญ ผู้บริหารจุฬาฯ ยังมีสถานะเป็น “ครูบาอาจารย์” ที่พึงมีใจเปิดกว้างต่อธรรมชาติอันแตกต่างหลากหลายและเร่าร้อนของคนรุ่นใหม่ หากผู้บริหารจุฬาฯ เห็นว่านิสิตทำไม่ถูก ก็พึงแก้ไขด้วยความปรารถนาดี ไม่ใช่มุ่งลงโทษหรือมุ่งขับไสพวกเขาออกไปจากประชาคม ประการสำคัญ การกระทำของนิสิตทั้ง 8 คนในกรณีนี้ ไม่ได้กระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หากแต่มุ่งผลักดันสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าดีต่อสังคมโดยรวม

 

  1. ในขณะที่การสอบสวนยังไม่ได้เริ่มขึ้น แต่ข้อความในคำสั่งที่ลงนามโดยรองอธิการบดีกลับส่อว่าผู้บริหารจุฬาฯ เห็นว่านิสิตเป็นฝ่ายกระทำความผิด ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสียชื่อเสียง ดังข้อความที่ว่า “ด้วยเกิดเหตุการณ์และข่าวต่างๆ ใน social media ที่ส่งผลต่อชื่อเสียงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีใช้สถานที่ราชการในการจัดประชุมโดยไม่รับอนุญาตและการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยเจตนาเดินออกจากแถวขณะประกอบพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน […] คณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิตจึงเห็นควรให้มีการสอบสวนพิจารณาการกระทำดังกล่าว […] เพื่อจัดให้มีคำสั่งลงโทษ”

 

ถึงแม้ผู้บริหารของจุฬาฯ มองว่าการกระทำของสมาชิกสภานิสิตทั้ง 8 คนทำให้จุฬาฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ผู้คนจำนวนมากที่ได้เห็นคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ดังกล่าว กลับเห็นว่าการกระทำของอาจารย์จำนวนหนึ่งต่างหากที่ทำให้จุฬาฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง

 

  1. ผู้คนจำนวนมากในสังคมได้เห็นหลักฐานภาพถ่ายและคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว หากการตัดสินของจุฬาฯ ขัดแย้งกับหลักฐานที่ปรากฏ ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ผู้บริหารจุฬาฯ ถูกพิพากษาจากสังคม แต่จะส่งผลต่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างสำคัญ ในทางกลับกัน แม้จุฬาฯ ได้ประกาศว่าอธิการบดีได้มอบหมายให้สภาคณาจารย์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจรรยาบรรณของอาจารย์ผู้ปรากฏเป็นข่าว แต่สื่อมวลชนและสังคมจะติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีการจะเลือกปฏิบัติต่อกรณีนี้หรือไม่ ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจุฬาฯ พึงพิจารณาเรื่องนี้อย่างมีสติรอบด้านและเที่ยงธรรม

 

จึงเรียนมาด้วยความหวังว่าในยุคที่พื้นที่สิทธิเสรีภาพในสังคมไทยหดแคบลงทุกขณะ มหาวิทยาลัยจะยังเป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้สมาชิกของประชาคมได้มีสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเหลืออยู่บ้าง

 

ด้วยความนับถือ

คณาจารย์และนักวิชาการไทย

14 สิงหาคม 2560

 

รายชื่อแนบท้าย

  1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช Ph.D. Candidate มหาวิทยาลัยเกียวโต
  3. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  5. กีรติ ชื่นพิทยาธร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. กุลธีร์ บรรจุแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  7. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  8. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษามหาวิทยาลัย University of Manchester
  9. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  10. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  11. เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการอิสระ
  12. คำแหง วิสุทธางกูร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  13. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  14. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  15. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  16. เฉลิมพล โตสารเดช วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  17. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  18. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  19. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  20. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  21. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  22. ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระและนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  23. ชิงชัย เมธพัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  24. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  25. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  26. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  27. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
  28. ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  29. ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์ นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  30. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  31. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  32. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  33. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  34. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  35. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  36. ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  37. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  38. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  39. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  40. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  41. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  42. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  43. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  44. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  45. บุญเลิศ วิเศษปรีชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  46. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  47. เบญจมาศ บุญฤทธิ์ PhD Candidate University of Aberdeen และนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  48. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  49. ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  50. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  51. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  52. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  53. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  54. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  55. พกุล พัฒน์ดิลก แองเกอร์ นักวิชาการอิสระ
  56. พงศธร นัทธีประทุม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  57. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  58. พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  59. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  60. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  61. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  62. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  63. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  64. เพ็ญสุภา สุขคตะ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ
  65. ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ PhD Candidate University of Cambridge
  66. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลอิสระ
  67. ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  68. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  69. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  70. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  71. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  72. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  73. รจเรข วัฒนพาณิชย์ ร้าน Book Re:Public
  74. รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  75. รามิล กาญจันดา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  76. รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  77. รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระ
  78. ลลิตา หาญวงษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  79. วริตตา ศรีรัตนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  80. วัชรพล ศุภจักรวัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  81. วันพิชิต ศรีสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  82. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  83. วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  84. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  85. วิไลลักษณ์ ซูวาโซโน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  86. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  87. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  88. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ
  89. เวลา กัลหโสภา
  90. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  91. เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน
  92. ศยามล เจริญรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  93. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  94. ศรัณยู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  95. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  96. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  97. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ
  98. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระและนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  99. สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  100. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  101. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  102. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  103. สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา
  104. สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
  105. สุรัช คมพจน์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  106. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  107. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  108. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  109. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  110. อนรรฆ สมพงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  111. อนุสรณ์ ติปยานนท์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  112. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  113. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  114. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  115. อภิญญา เวชยชัย
  116. อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  117. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  118. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  119. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  120. อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  121. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  122. อิสราภรณ์ พิศสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  123. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  124. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  125. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
  126. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  127. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  128. Hara Shintaro นักวิชาการอิสระ

 

(ภาพจาก https://hilight.kapook.com/view/157730)

Matemnews.com  14  สิงหาคม  2560