Home ข่าวทั่วไปรอบวัน คนกรุงแห่ – ส่งไลน์ล่าสินบนนำจับกทม.แจ้งคนทำผิดกฎหมาย

คนกรุงแห่ – ส่งไลน์ล่าสินบนนำจับกทม.แจ้งคนทำผิดกฎหมาย

643
0
SHARE

 

 

หลังจากที่ กทม.เปิดแอพลพลิเคชั่นไลน์ ให้ประชานแจ้งข้อมูลคนทำผิดกฎหมายต่างๆมาให้เจ้าหน้าที่ไปจับและแบ่งเงินค่าปรับให้ครึ่งหนึ่ง  ปรากฏว่ามีแห่แจ้งกันจำนวนมาก โดยเมื่อตอนบ่าย 18 ส.ค.2560  นายวันชัย ถนอมศักดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) ผู้รับผิดชอบดูแลสำนักเทศกิจ   แถลงแก่ผู้สื่อข่าวว่า  ขณะนี้ช่องทางที่ประชาชนสนใจส่งหลักฐานการกระทำความผิดมามากที่สุด คือช่องทางไลน์ เนื่องจากถือเป็นช่องทางที่สะดวก และส่งภาพถ่ายข้อมูลผู้กระทำความผิดมาได้ทันที   ขณะนี้แอปพลิเคชั่น Line : @ebn6703w มีผู้แอดไลน์เข้าร่วมกลุ่มแล้วจำนวนกว่า 4,500 ราย โดยตั้งแต่การเปิดให้ส่งข้อมูลเบาะแสผู้กระทำผิด วันที่ 15 ส.ค.ถึงปัจจุบัน มีผู้แจ้งข้อมูลเบาะแสทั้งสิ้นกว่า 300 ราย แต่การแจ้งข้อมูลบางส่วนก็ไม่ครบถ้วน เป็นการส่งเพียงภาพการกระทำความผิด แต่ไม่แจ้งสถานที่ เวลา หรือรายละเอียดต่าง ๆ โดยในจำนวนดังกล่าว กทม.สามารถดำเนินการจับปรับผู้กระทำความผิดได้ทันที และจ่ายส่วนแบ่งค่าปรับให้ประชาชนผู้แจ้งเบาะแสไปได้ 17 ราย   เป็นความผิดซึ่งหน้าที่สามารถหาตัวผู้กระทำความผิดได้ทันที ส่วนที่เหลือที่มีการส่งเบาะแสมานั้นเป็นการขับขี่บนทางเท้า ต้องประสานข้อมูลกับตำรวจจราจร และกรมขนส่งทางบก เพื่อตรวจสอบผู้ครอบครองรถ เพื่อแจ้งให้มาจ่ายค่าปรับตามกฎหมายแล้วจึงแบ่งส่วนค่าปรับให้  กรณีการขับขี่รถบนทางเท้า แล้วประชาชนถ่ายภาพแจ้งเบาะแสมานั้น หากมีเลขทะเบียนชัดเจน กทม.ก็ประสานข้อมูลจากตำรวจจราจร และกรมขนส่งทางบกให้เจ้าของรถมาทำการจ่ายค่าปรับ แต่หากเจ้าของรถเพิกเฉยไม่มาจ่ายค่าปรับก็จะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

การถ่ายภาพผู้กระทำความผิดอื่น ๆ เช่นการทิ้งขยะในที่สาธารณะ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะเป็นผู้ช่วยหาตัวผู้กระทำความผิดได้  จากการตรวจสอบข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ แต่ละกรณีจะมีอายุความ 1 ปี นับจากวันกระทำความผิด ดังนั้นเมื่อกทม.ได้รับแจ้งเบาะแสก็จะเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด  การออกระเบียบของกทม.ให้สามารถมอบส่วนแบ่งค่าปรับให้แก่ประชาชนผู้แจ้งเบาะแสได้นั้น เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดผลสำเร็จ และจะทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน  ถ้าเป็นกลุ่มข้าราชการ หน่วยราชการอื่น ๆ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่เทศกิจ มีการละเมิดกฎหมาย ขับขี่รถบนทางเท้า หรือ กระทำการอื่น ๆ ที่ผิดตามพ.ร.บ.รักษาฯ มีผู้แจ้งเบาะแส ก็จะต้องดำเนินการจับปรับเช่นกัน  การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการดูแลพื้นที่สาธารณะ จะทำให้ทุกคนตระหนักถึงการเป็นเจ้าของพื้นที่สาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน และช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่ต่าง ๆ  คาดว่า เมื่อกทม.ดำเนินการจับปรับอย่างจริงจัง และประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลทุกพื้นที่ จะทำให้ผู้ละเมิดกฎหมาย กระทำความผิดในที่สาธารณะ ตามพ.ร.บ.รักษาฯลดน้อยลงอย่างแน่นอน

สำหรับ ป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย ที่มีการลักลอบติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ ทั้งติดตั้งบริเวณเสาไฟฟ้า ต้นไม้ริมทางเท้า หรือกำแพงตามๆ  ถือเป็นความผิดตามพ.ร.บ.รักษาเช่นกัน แต่ผู้กระทำความผิดคือผู้ติดตั้งป้าย หากประชาชนพบเห็บผู้กระทำความผิด กำลังติดตั้งป้าย ก็สามารถแจ้งมายังกทม.เพื่อดำเนินการได้   แต่กฎหมายยังไม่ได้ครอบคลุมไปถึงเจ้าของป้าย เจ้าของเนื้อหาโฆษณาในป้าย   หากไม่พบผู้กระทำการติดตั้งป้าย กทม.ก็อาจยังไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายในการจับปรับได้  แต่ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เทศกิจ ดำเนินการจัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายในพื้นที่ต่าง ๆ จากในอดีตที่จะจัดเก็บกันเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ เป็นต้องกวดขัน จัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายทุก ๆ วัน ทำให้ปัจจุบัน จำนวนการติดตั้งป้ายผิดกฎหมายลดน้อยลงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

 

 

Matemnews.com  18 สิงหาคม 2560