ชาวบ้านสวนตูล ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ร้องต่อสื่อ เขื่อว่าบริษัทสื่อสารรายใหญ่ ไม่ให้ความสำคัญกับชาวบ้านตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ ม.58 ปี 2560
เกิดข้อพิพาท ระหว่างบริษัท สื่อสารยักษ์ใหญ่ เจ้าของสัญญา วางสายเคเบิลในทะเลรอบอ่าวไทย มาขึ้นฝั่งจังหวัดสงขลา ผ่านชุมชนชาวบ้าน ระยะทางนับ 10 กิโลเมตร โดยเป็นโครงการร่วมทุน กลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ แต่การขุดเจาะถนนเพื่อวางสายเคเบิล ได้ส่งผลกระทบและเกิดความหวาดวิตกแก่ประชาชนชาวหมู่ 6 บ้านสวนตูล อ.เมือง จ.สงขลาโครงการสายเคเบิลมูลค่าร่วมหมื่นล้านบาท ในพื้นที่หาดสมิหลา แต่ชาวบ้านบอกตรงกันว่า “ไม่ผ่านประชาพิจารณ์” ของชุมชนชาวบ้านหมู่ 6 ต.สวนตูล อ.เมือง สงขลา ทำให้ชาวบ้านร้องเรียนไปหลายหน่วยงาน แต่ไม่คืบหน้า
จึงขึ้นป้ายประท้วงขอทราบรายละเอียดการขุดเจาะถนนด้วยน้ำยาสารเคมี ว่า มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อชุมชนหรือไม่ นับตั้งแต่ส่งหนังสือร้องเรียนทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านไปแล้ว 3 เดือน ยังเงียบ ส่วนโครงการยังเดินหน้าต่อไปไม่สนใจเสียงคัดค้านของประชาชน สำหรับสิ่งที่ ชาวบ้านกังวลเนื่องจากขณะนี้มีการขุดเจาะและไม่ได้นำตัวอย่างดินหรือน้ำยาสารเคมีที่ขุดเจาะไปตรวจพิสูจน์แต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม และรับทราบจากคนงานผู้รับเหมา ว่า สารเคมีที่ประชาชนหวาดวิตกนั้น สารเคมีดังกล่าวเป็นดินภูเขาไฟ ที่นำมาใช้เพื่อละลายดินในการขุดเจาะ ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ซึ่งโครงการนี้ผู้รับเหมาขุดเจาะ ได้รับเหมาช่วงต่อจากบริษัทเจ้าของโครงการ โดยหากน้ำยาสารเคมีขุดเจาะอันตราย คนงานที่ทำงานอยู่กับสารเคมีดังกล่าวย่อมได้รับผลกระทบก่อนคนอื่น เนื่องจากมีการจับสัมผัสอยู่ในการทำงาน
แต่ถึงกระนั้น แม้จะมีคำชี้แจงจากผู้รับเหมาแล้ว แต่ชาวบ้านก็ยังต้องการเอกสารรับรองการตรวจพิสูจน์ตามมาตรฐาน ระเบียบของทางราชการ ว่าสารเคมีดังกล่าวมีอันตรายหรือไม่ เนื่องจากชาวบ้านได้ส่งหนังสือร้องเรียนให้มีการตรวจสอบสารเคมี และเก็บตัวอย่างน้ำและดิน ที่มีการขุดเจาะจาก โดยขอให้หน่วยงานรับผิดชอบรับรองการตรวจสอบตามหนังสือที่ขอให้ตรวจสอบสารเคมีดังกล่าว แต่ไม่มีเอกสารตอบกลับจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบแต่อย่างใด
เนื่องจากโครงการระดับเกือบหมื่นล้านนี้ (8,000ล้านบาท) ไม่มีการทำประชาพิจารณ์หรือบอกกล่าวแจ้งประชาชนในพื้นที่ให้ทราบแม้แต่คนเดียว ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกว่า รัฐบาลก่อนอนุญาตโครงการอะไรใดๆย่อมจะต้องสอบถามรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนก่อนดำเนินการ ไม่ใช่ทำก่อนแล้วมาตามแก้ปัญหาภายหลัง