Home ข่าวทั่วไปรอบวัน การพบ “ซุปหางเสือในหม้อ”

การพบ “ซุปหางเสือในหม้อ”

393
0
SHARE

เฟชบุ้ค Kanita Ouitavon กำลังรู้สึกงงงวยที่ Wildlife Forensics unit (DNP-WIFOS)

(น.ส.กณิตา อุ่ยถาวร หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม )

…………………………………..

🍀ความรู้สึกหลังฟังคำตัดสิน🍀

🐆🐾 ทั้งๆที่บอกตัวเองว่าไม่มีอะไรต้องกังวล..แต่พอเอาเข้าจริงๆ กลับรู้สึกกังวลขึ้นมาเฉยๆ ซะอย่างนั้น 😮 มีอยู่จุดหนึ่งที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น ก็คือการยกฟ้องคุณเปรมชัยเรื่องการครอบครองซาก “เสือดำ” ค่ะ…แน่นอนว่าตัวเองนั้นต้องเคารพและเชื่อมั่นคำตัดสินของศาลอยู่แล้วนะคะ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะมองกลับมาที่ตัวเองว่าทำอะไรบกพร่องไปรึเปล่า? จึงขอทบทวนสิ่งที่ทำไปตามที่สื่อก็ทราบกันดีอยู่แล้วดังนี้.. 🐾 วัตถุพยานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชิ้นเนื้อต่างๆ หนังเสือดำที่มีรอยกระสุน หางเสือต้มซุปในหม้อ กระดูกในลำธาร ลำไส้ มีดหลายเล่ม เขียง แม้แต่เลือดบนใบไม้ หรือคราบเลือดบนดิน ฯลฯ ล้วนแต่มาจาก “เสือดำ” ตัวเดียวกัน แต่คงไม่จบง่ายแค่นั้น.. “งานนิติวิทยาศาสตร์” ไม่ใช่งานสั้นๆ ที่จะตอบแค่ว่าเป็นสัตว์ชนิดอะไร? เป็นตัวเดียวกันหรือไม่? เพียงแค่นั้น..แต่จะต้องตอบให้ได้มากกว่านั้นหลังจากที่ประมวลรวมผลทั้งหมดแล้ว เช่น เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในที่เกิดเหตุ? เขาไปทำอะไรกันตรงนั้น? ลำดับของเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นก่อนหลัง? แล้วผู้ที่เกี่ยวข้องเขามีพฤติกรรมอะไร? หรือมีเจตนาอย่างไรบ้าง?? ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการหลักฐานเชื่อมโยงกันทั้งหมด 🐾ข้าพเจ้าคงตอบไม่ได้ในที่นี้ว่ามันเชื่อมโยงกันมากน้อยแค่ไหน..แต่อย่างน้อย (ขอแค่อย่างน้อยที่สุดก็แล้วกันนะคะ) การเห็นรอยกระสุน✔ เห็นมีดทำครัวและเขียง✔ เห็นซุปในหม้อ✔ เห็นกระดูกที่ทิ้งแล้ว✔เห็นการหมกซาก✔… ย่อมบอกได้ว่าพื้นที่ตรงนี้มีพฤติกรรมการล่า มีการฆ่าสัตว์ให้ตาย มีการชำแหละ มีการปรุงอาหาร มีการบริโภค มีการซุกซ่อน ฯลฯ เกิดขึ้น มีใครอยู่ตรงนั้นตอนนั้นบ้าง ก็เชื่อมโยงกันไป.. แล้วพฤติกรรมเหล่านี้มันอยู่ในนิยามความหมายของ “การครอบครองซากสัตว์ป่า” 🐆 รึเปล่าเอ่ย?? (อันนี้คือไม่รู้จริงๆ ค่ะ)😶

🍀 แต่อีกอย่างนึงที่อยากจะบอกไว้ก่อนเลยก็คือ ข้าพเจ้าไม่มีเจตนาอันใดแม้แต่น้อยที่จะไปพยายามหาจุดผิดให้กับจำเลย ไม่มีอคติใดใด ความมีอคติ-หรือไม่มีอคติ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดใดกับการตรวจ DNA เลยค่ะ ทุกอย่างเป็นไปตามเนื้อผ้าล้วนๆ ซึ่งโกหกไม่ได้ ปรุงแต่งข้อมูลอะไรก็ไม่ได้.. เพราะมันมีหลักฐานทุกขั้นตอนหมด ส่วน DNA ก็เป็นรหัสที่ตรวจซ้ำกี่ทีตลอดชีวิตก็ได้ผลเหมือนกันค่ะ ดังนั้นขอให้มั่นใจเลยว่าจรรยาบรรณของผู้ที่ทำงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในเบื้องต้น คือ ไม่มีการตั้งธงไว้ก่อน แล้วมองจำเลยเป็นผู้ร้าย..แต่ต้องให้ความยุติธรรมกับทุกคน และทุกชีวิต (คือหมายถึงตัวสัตว์ด้วย) บนข้อมูลของ “ความจริงที่ปรากฏ” อย่างเสมอภาคกัน…

🍀🐾 สำหรับเคส “เสือดำ” เคสนี้ยอมรับว่าเป็นเคสที่มีความซับซ้อนมากที่สุดเคสนึงในประสบการณ์การทำงานของข้าพเจ้า ซึ่งได้พยายามทุ่มเททำให้ดีที่สุด…แต่ก็อาจจะมีหลายจุด หลายประเด็นที่คงต้องไปเรียนรู้เพิ่มเติมอีกมาก ความติดใจในเรื่อง การพบ “ซุปหางเสือในหม้อ”🐆 กับการพบ “ซากไก่ฟ้าหลังเทาในกะละมัง” แต่ได้ความผิดเรื่องการครอบครองไก่ฟ้าเพียงอย่างเดียว อาจเป็นอะไรที่ข้าพเจ้าไม่มีความเข้าใจมากนัก.. คงต้องไปศึกษาเพิ่มเติม หรือไปค้นคว้าหานิยามของคำว่า “การครอบครองซากสัตว์ป่า” ให้ดีขึ้นกว่านี้ก่อนนะคะว่ามันคืออะไร?

matemnews.com 

20 มีนาคม 2562