รูปของ .naewna.com/
มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก เป็นองค์กรที่ 2 ต่อจาก องค์การเภสัชกรรม ที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้มีกัญชาไว้ใน ตามกฎหมายยาเสพติดใหม่ฉบับที่ 7 ประกาศใช้ 19 ก.พ.2562 เพื่อทำการวิจัยทางการแพทย์ ได้เปิดแถลงข่าวที่ สถานวิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก เมื่อบ่าย 21 มี.ค.2562 ผู้แถลงข่าว ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
รศ.ภญ.จารุภา วิโยชน์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์
รศ.ดร.ภก.เนติ วระนุช ผู้อำนวยการสถานวิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวคนแรกว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวข้องกับการชาตั้งแต่ปี 2561 และมีการขอใบอนุญาตครอบครองและผลิตสารสกัดกัญชา จนได้รับอนุญาตมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อทำการวิจัย ไม่ได้รับอนุญาตในการเพาะปลูก ทำให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เริ่มเดินหน้าศึกษาวิจัยและสารสกัดจากกัญชา โดยได้รับความอนุเคราะห์วัตถุดิบเป็นกัญชาแห้ง จาก ปชปส. นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยจากหลายคณะที่จะเข้ามาทำงานในลักษณะบูรณาการ เพื่อวิจัยและพัฒนากัญชาและกัญชง ให้สู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รศ.ภญ.จารุภา วิโยชน์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีงานวิจัยจากกัญชาหลายโครงการ แต่ละโครงการก็ต้องทำเรื่องขอองค์กรเภสัชฯ ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด ประกอบด้วย
โครงการพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิที่มีส่วนผสมจากสารสกัดกัญชา
โครงการพัฒนาสกัดกัญชาเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยา
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดสำหรับใช้แก้ปวดในรูปแบบการบริหารยาใต้ลิ้น ,
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดกัญชาเพื่อรักษาอาการผิดปกติทางผิวหนัง
โครงการพัฒนาวิธีการแยกสารและจัดทำสารมาตรฐานแคนนาบินอยด์จากกัญชา
โครงการบูรณาการ การวิจัยและพัฒนากัญชงเพื่อการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยจะมีการวิจัยตั้งแต่การสำรวจสายพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพของกัญชง
การพัฒนาการปลูกในระบบปิดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อการพัฒนาวิธีการสกัด การจัดเตรียมสารสกัดกัญชงมาตรฐานที่มีสาร cbd สูง
การควบคุมคุณภาพสารสกัดและวัตถุดิบการชง
การทดลองฤทธิ์ต้านอักเสบและแก้ปวดในสัตว์ทดลอง
การศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
การศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ และพัฒนาโดยพันธุ์ต้นกัญชง เพื่อการใช้ประโยชน์ 3 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ปฏิบัติอมใต้ลิ้น สารสกัดกัญชงสำหรับใช้แก้ปวด แผ่นปิดแผลไฟโบรอินผสมแคนนาบิไดออล จากกันชงสำหรับรักษาแผลที่หายช้า
ผลิตภัณฑ์ impregnated gauze เพื่อมีสารสกัดกัญชงทำความสะอาดช่องปากสำหรับผู้ป่วยที่มีแผลในช่องปาก เป็นต้น
รศ.ดร.ภญ.กรกนก อิงคนินันท์ อาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมีและเภสัชเวท กล่าวว่า งานวิจัยที่ทำอยู่ในขณะนี้ คือ การหาวิธีเตรียมสารสกัดกัญชามาตรฐานเพื่อให้มีทั้ง THC และ CBD ในปริมาณที่เหมาะสม
การพัฒนาวิธีการแยกและวิเคราะห์สาร cannabinoids
ศึกษาการควบคุมคุณภาพของสารสกัด
การตั้งสำหรับเภสัชภัณฑ์ต้นแบบ ทั้งในลูกอมใต้ลิ้น ใช้ภายนอก ซึ่งจะทำให้ได้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ซึ่งเมืองไทยมีความพร้อมในเรื่องวัตถุดิบ ปลูกต้นกัญชาที่มีคุณภาพ ก็ต้องรอต่อไปว่าจะได้รับอนุญาตด้วยหรือไม่
จากนั้นก็สามารถนำวัตถุดิบ มาสกัดโดยวิธีที่พัฒนาขึ้น และ ตั้งตำรับเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ศึกษาวิจัยด้านอื่น เช่น การพิสูจน์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นได้ โดยแต่ละโครงการต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการวิจัย คาดว่าในระยะเวลา 1 ปี 1 โครงการก็จะพอเห็นสารต้นแบบ และคาดว่าตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ก็จะสามารถนำยาที่ได้จากวิจัยและสารสกัดกัญชามาใช้ในวงการแพทย์ได้ โดยทุกอย่างจะต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยและใช้อย่างมีคุณภาพ
matemnews.com
21 มีนคม 2562