จากปัญหาไฟป่า จนก่อให้เกิดมลพิษ สร้างความเดือดร้อนให้กับคนและสัตว์ป่า กระทบไปจนถึงการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดทางภาคเหนือ ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 เม.ย.62 เฟซบุ๊ก ของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้โพสต์ถึงแนวทางแก้ปัญหา “ไฟป่า” ที่เป็นของมูลนิธิปิดทองหลังพระ ได้นำเสนอ “โครงการพระราชดำริป่าเปียก” ว่า
“มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริชวนสืบสานพระราชปณิธาน โครงการพระราชดำริป่าเปียก แก้ไขปัญหาไฟป่า”

พระราชดำริป่าเปียก เกิดขึ้นเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาของไฟป่าที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงคิดค้นขึ้น โดยการนำเอาหลักการที่แสนง่ายดาย แต่ได้ประโยชน์อย่างมหาศาล มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายวิธีการประกอบกัน ได้ทรงพระราชทานวิธีการสร้าง “ป่าเปียก” เอาไว้ให้ประชาชนได้ดำเนินการตามพระราชดำริ 6 วิธีด้วยกัน ได้แก่

1) การจัดทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยที่มีการใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่าง ๆ ไปปลูกที่บริเวณตามแนวคลองต่าง ๆ
2) การสร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟของ ป่าเปียก โดยที่มีการอาศัยน้ำในชลประทานและน้ำฝนมาช่วย
3) การปลูกต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เพื่อใช้ครอบคลุมแนวร่องน้ำ ส่งผลทำให้บริเวณดังกล่าวนั้นเกิดความชุ่มชื้นอย่างทวีขึ้นและก็สามารถแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างของร่องน้ำ ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าได้เป็นอย่างดี เพราะว่าไฟป่านั้นมักจะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น

4) การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นให้กับพื้นดิน หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Check Dam” เพื่อทำการปิดกั้นร่องน้ำ หรือ ลำธารขนาดเล็กเป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินเอาไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้ จะทำการซึมเข้าไปสะสมในดิน ช่วยทำให้ดินเกิดเป็นความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น “ป่าเปียก”

5) การสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมลงดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็น “ป่าเปียก” ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย
6) การปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กาหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก
7) การไม่เผาขยะ ไม่เผากิ่งไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ บริเวณที่โล่งแจ้ง พร้อมกับวิธีการลดใช้ยวดยานพาหนะ เพื่อจะช่วยลดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และในแต่ละพื้นที่ควรมีการจัดการและควบคุมปริมาณฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้าง รวมไปถึงควันเสียที่เกิดมาจากโรงงานอุตสาหกรรมให้จริงจังกว่าที่ผ่านมา เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก BLASTO ข่าวสาร ภัยธรรมชาติ สาเหตุ แนวทางแก้ไขปัญหาhttps://bit.ly/2FOaZYf
#ป่าเปียก #ป้องกันไฟป่า
#แนวพระราชดำริ #ศาสตร์ของพระราชา
#มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ
#DNP1362

ขอบคุณภาพจากhttps://bit.ly/2FOaZYf