นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงข่าวเมื่อเช้าวันที่ 12 ม.ย.2562 อธิบาย เหตุที่ กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวิธีคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 ซึ่งเป็นวิธีที่ สำนักงาน กกต.คำนวณ และสอดคล้องกับวิธีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) สามารถจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อพึงมีได้ครบ 150 คน แต่การอาจไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (4) ที่กำหนดหลักการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะเกินกว่าที่พึงมีไม่ได้ โดยการจัดสรรในจำนวนที่ต่ำกว่า 0 อาจถือได้ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และวิธีการคำนวณตามาตรา 128 ของกฎหมายลูกว่าด้วย ส.ส.จำเป็นต้องหาข้อยุติให้ชัดเจน แม้ว่าวิธีการคำนวณตามมาตรา 128 ของกฎหมายลูกว่าด้วย ส.ส. จะจัดสรรได้ครบ 150 คน แต่อาจติดขัดต่อประเด็นว่าการจัดสรรนี้ จะทำให้พรรคการเมืองบางพรรคได้ ส.ส.เกินพึงมีหรือไม่ โดยนายอิทธิพร กล่าวยืนยันว่า
“การส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นวิธีดำเนินการเหมาะสม และจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ร้อยละ 95 ตามที่กฎหมายกำหนด แต่จะไม่ขอก้าวล่วงอำนาจวินิจฉัยของศาลว่าจะวินิจฉัยแล้วเสร็จก่อนวันที่ 9 พ.ค.นี้ตามกรอบกำหนดวันประกาศรับรอง ส.ส. หรือไม่
ประธาน กกต. ยังกล่าวถึงกรณีที่สำนักงาน กกต. ออกมาเปิดเผยว่าจะมีอย่างน้อย 25 พรรคการเมืองได้รับการจัดสรรว่าเป็นวิธีการคำนวณเบื้องต้น ตามที่ปรากฏในรับธรรมนูญซึ่งเป็นวิธีที่กรรมการร่างรับธรรมนูญเสนอไว้ และมากำหนดเป็นมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 128 ของ พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. ซึ่งในมาตรา 91 วรรค 3 กำหนดว่าหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณคิดอัตราส่วนให้เป็นไปตาม พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. และการคำนวณของสำนักงาน กกต.ก่อนหน้านี้เป็นการคำนวณจากคะแนนเบื้องต้นที่มีอยู่ของแต่ละพรรคการเมือง ไม่ใช่คะแนนสุดท้าย ทั้งนี้นอกจากวิธีการที่สำนักงานคำนวณมา รวมถึงวิธีการอื่นก็อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ หากคำนวณตามวิธีการของ กรธ. ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 128 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งจะทำให้จัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน เพราะนำเศษทศนิยมมาคิด ทั้งนี้ทราบมาว่าในการคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของ กรธ.นั้น ได้วางหลักคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อไว้ก่อน และเมื่อหารือกันแล้วเห็นพ้องกันว่าหลักคิดคำนวณดังกล่าวเป็นวิธีการคำนวณส.ส.พึงมี จึงนำไปเขียนให้เป็นมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นวิธีการคำนวณที่ กรธ.คุยกันจึงเป็นที่มาของมาตรา 91 ไม่ใช่มีการบัญญัติมาตรา 91 ก่อน แล้วค่อยหาวิธีคำนวณ โดยในการร่างมาตรา 91 นั้น เหตุที่วิธีการคำนวณมีความยาว กรธ.จึงนำไปใส่ไว้ในกฎหมายลูกแทน ยังมีข้อถกเถียงกันถึงเลขทศนิยม ที่น้อยกว่า 1 เช่น 0.8 จะถือว่าเกินกว่าจำนวนส.ส.ที่พึงมีหรือไม่ เพราะศูนย์อยู่ข้างหน้า ผู้รู้คณิตศาสตร์บอกว่า เลขศูนย์ก็เป็นเลขที่นำมาคำนวณได้ แล้วอยู่ๆจะไปตัดทิ้ง ทั้งนี้การคำนวณมาตรา 91 ในครั้งนั้นไม่มีใครคิดว่าจะมีพรรคใดได้จำนวนส.ส.มากกว่าจำนวนส.ส.พึงมี วิธีการนี้ก็มีวิธีติดไว้ข้างฝานานแล้ว”
นักข่าวถามว่าเหตุใดถึงไม่สามารถคำนวณตามเจตนารมณ์ของ กรธ.ได้ นายอิทธิพรตอบ
“เมื่อนำ 2 มาตรามาพิจารณา โดยความจริงแล้ว มาตรา 128 ของ พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. มีที่มาจากมาตรา 91 แห่งรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อมาตรา 91 อนุ 4 มีตัวอักษรเขียนไว้เช่นนี้ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าจะต้องยึดสิ่งใด กกต.คงต้องถือตัวอักษรที่ระบุในกฎหมาย ส่วนการตีความตามเจตนารมณ์เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา ดังนั้นเมื่อตัวอักษรเขียนแบบนี้ คงถึงทางตันที่ไม่สามารถตัดสินในเรื่องนี้เองได้ จึงต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญช่วยวินิจฉัย เพราะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจ และหน้าที่ การที่กกต.จะประกาศผลนั้นจะต้องมีความมั่นใจในเรื่องนี้ว่าสิ่งที่เราจะดำเนินการขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่”
matemnews.com
12 เมษายน 2562