เฟชบุ้ค Paisal Puechmongkol
อำนาจคสช.ที่ต้องสะกิดกัน
1 อำนาจของคสช.นั้น ไม่เท่ากันใน 3 ช่วงเวลา
2 นับแต่ 22 พฤษภาคม 57 คสช.เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ออกคำสั่งประการใดมีผลบังคับเด็ดขาด เป็นผลจากอำนาจที่รองรับโดยคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานไว้
3หลังจากใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว อำนาจคสช. เป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น และการใช้อำนาจก่อนหน้าได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
4หลังจาก ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 อำนาจของคสช.เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง และต้องใช้ตามเงื่อนไขในมาตรา 44 ด้วย
4 เมื่อมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับแล้ว การใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญไม่มีบทนิรโทษกรรม ดังนั้นการใช้อำนาจ จึงต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งแม้ใช้อำนาจได้ แต่จะใช้โดยผิดกฎหมาย โดยไม่ชอบหรือโดยไม่สุจริต หรือโดยทุจริตไม่ได้
เทียบได้กับบรรทัดฐานคดีคุณทักษิณ ในการแก้ไขกฎหมายสรรพสามิต เกี่ยวกับค่าสัมปทานมือถือ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา
5 เมื่อรัฐธรรมนูญรับรองให้ใช้อำนาจได้แต่ไม่ได้นิรโทษกรรม ล่วงหน้าให้ไว้ ดังนั้นการใช้อำนาจตามมาตรา 44 จึงต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา 44 ด้วย ต้องใช้โดยชอบด้วย โดยสุจริตด้วย และต้องไม่ใช้โดยทุจริตด้วย มิฉะนั้นก็อาจถูกศาลเพิกถอน และต้องรับผิดในการใช้อำนาจนั้นตามบรรทัดฐานที่ศาลวินิจฉัยไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้มีผลในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือตุลาการก็ตาม!
เหตุที่ต้องสะกิดกันไว้บ้างก็เพราะว่า การใช้มาตรา 44 ผ่อนผัน ค่าสัมปทานมือถือและทีวีนั้น อาจต้องทบทวน ว่า ทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งtdri ได้ระบุว่ามีความเสียหายนับหมื่นล้านบาท
ซึ่งถ้าหากลองคำนวณแบบ Future Value และ Present Value เทียบเคียงกันดู ก็อาจเห็นความเสียหายถึง 25,000 ล้านบาท ซึ่งน่าจะให้ผู้เชี่ยวชาญคำนวณเรื่องนี้ดู ก็อาจจะต้องตกใจ
จำเป็นจะต้องมี Legal Second opinionแล้วล่ะครับ!!!
matemnews.com
12 เมษายน 2562