จากกรณีที่ชายหนุ่มอายุ 24 ปี พร้อมครอบครัวได้ออกมาเปิดเผยถึงการเข้ารับการถ่ายเลือดระหว่างการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ตอนอายุ 9 ขวบ ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมาพบว่าติดเชื้อ HIV โดยพบความผิดปกติในระหว่างรักษาเป็นวัณโรคแทรก หลังให้เลือดครั้งที่ 12 จาก 14 ครั้ง จนต่อมาตรวจพบเชื้อ โดยตอนนั้นครอบครัวไม่อยากฟ้องโรงพยาบาล ขณะที่เจ้าหน้าที่รับปากกับครอบครัวว่าจะรักษาให้ตลอดชีวิต แต่ไม่ได้มีการทำหนังสือสัญญาไว้ ซึ่งครอบครัวก็ปกปิดไม่ให้ชายหนุ่มซึ่งตอนนั้นอายุ 9 ขวบรู้
หลังจากนั้นมีการรักษาตามอาการ โดยครอบครัวใช้เงินประกันจากทางบริษัทคุณพ่อที่เป็นคนญี่ปุ่น ปีละ 7 แสนบาท แต่เมื่อบริษัทประกันรู้ก็ไม่จ่ายเงินให้อีก ขณะที่พ่อที่ไปทำงานต่างประเทศขาดการติดต่อไปแล้ว 3 ปี ต่อมา เมื่อครอบครัวติดต่อกลับไปที่โรงพยาบาล หลังจากเปลี่ยนไปรักษาด้วยสมุนไพรมา 2-3 ปี แต่ได้รับแจ้งว่าไม่มีประวัติคนไข้เพราะมีการเปลี่ยนผู้อำนวยการ และให้ไปรักษาด้วยสิธิ์บัตรทองก่อนถ้าไม่ไหวค่อยกลับมาที่โรงพยาบาลนั้น
ล่าสุด วันที่ 9 พ.ค. ฝ่ายสื่อสารองค์กร ได้ออกคำชี้แจง “กรณีผู้ป่วยพบการติดเชื้อเอชไอวีจากการรับเลือด” ว่า
จากกรณีที่รายการข่าวไทยรัฐนิวส์โชว์ ได้ทำการเผยแพร่ข่าว “หนุ่มวัย 24 ปี รักษามะเร็งที่โรงพยาบาลดังกลับได้รับเชื้อ HIV” เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2562 เมื่อเวลาประมาณ 20.53 น. ซึ่งมีการรายงานข้อมูลของผู้ป่วยและปรากฏภาพโลโก้ของโรงพยาบาลฯ บนเอกสารผู้ป่วยตามที่มีการเผยแพร่ในรายงานข่าวนั้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ทำการตรวจสอบแล้ว ขอชี้แจงว่า บุคคลในภาพข่าวนั้นเป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลฯได้รับผู้ป่วยรายดังกล่าวเข้ารับการรักษาอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เริ่มจากปี พ.ศ.2547 คือเมื่อ 15 ปีก่อน
เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ป่วย โรงพยาบาลฯไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยรายดังกล่าวได้ แต่ขอถือโอกาสนี้ชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อแสดงถึงจุดยืนในการให้การรักษาและการเยียวยาแก่ผ้ปู่วย ตามหลักมนุษยธรรมที่โรงพยาบาลฯ ได้ปฏิบัติตลอดระยะเวลายาวนานที่ผ่านมา
1.ข้อปฏิบัติในการให้เลือด
โรงพยาบาลฯ มีข้อปฏิบัติในการรับเลือดจากศนูย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพื่อให้การรักษาแก่ผู้ป่วย ด้วยเป็นสถาบันที่มีการคัดเลือกและตรวจเลือดผ้บูริจาคตามมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล มีมาตรการคัดกรองผ้บูริจาคโลหิตด้วยแบบสอบถามและซักประวัติพฤติกรรมความเสี่ยง มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีซีโรโลยี่ ด้วยน้ำยาที่มีความไวสูงสุด และตรวจด้วยวิธี Nucleic acid amplification test (NAT)
ดังนั้นผลิตภัณฑ์เลือดจะมีความปลอดภัยสูง ผ่านการตรวจคัดกรองการติดเชื้อต่างๆ รวมถึงการตรวจคัดกรองเชื้อ HIV ด้วย
ในช่วงปี พ.ศ.2547 ซึ่งผู้ป่วยรายนี้เข้ารับการรักษา ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ได้ใช้เทคโนโลยีการตรวจคัดกรองเลือดผู้บริจาคที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยเทคนิค NAT ที่สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้มาถึงปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองการติดเชื้อในเลือดยังมีข้อจำกัดกรณีที่ผู้บริจาคเพิ่งได้รับเชื้อเข้ามาใหม่ ซึ่งในเลือดจะมีปริมาณเชื้อไม่มากพอที่จะตรวจพบได้ด้วยวิธีใดๆ (Window period) จึงอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อเหล่านี้ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นมีน้อยมาก
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าทางโรงพยาบาลต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติในการให้ผู้ป่วยรับทราบถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการได้รับเลือด ซึ่งรวมถึงเชื้อ HIV ด้วย แล้วจึงลงนามยินยอมรับการให้เลือดเพื่อการรักษาที่จำเป็น
2.เรื่องการดูแลรักษาเพื่อเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม
โรงพยาบาลฯ รู้สึกเสียใจอย่างยิ่ง กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายดังกล่าว และยึดมั่นในการดูแลให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม มาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไมว่าจะเป็นการช่วยเหลือค่าดูแลรักษาเรื่อง HIV และอาการข้างเคียงอื่นๆ อันเป็นผลจากเชื้อ HIV โดยปรากฏในประวัติย้อนหลังผู้ป่วย ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับการรักษา เป็นจำนวนเงินกว่า 7 หลักรวมการเข้ารักษาทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน 266 ครั้ง
ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการการบริบาลด้วยความเอื้ออาทรแก่ผ้ปู่วยที่โรงพยาบาลฯ ยึดมั่นมาตลอดกว่า 38 ปีของการดำเนินงาน
โรงพยาบาลฯ ขอแสดงความเสียใจต่อเหตกุารณ์ที่เกิดขึ้นและมีความเห็นใจต่อตัวผู้ป่วยตลอดจนครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ โรงพยาบาลฯ ขอถือโอกาสนี้ยืนยันที่จะให้การดูแลรักษา ผู้ป่วยรายนี้เป็นอย่างดีที่สุดต่อไป รวมถึงการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลตามหลักคุณธรรมและมนุษยธรรมอย่างเหมาะสมต่อไป
ที่มา ข่าวเวิร์คพ้อยท์