Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ไม่เห็นจะยาก – ส.ว.ก็โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้

ไม่เห็นจะยาก – ส.ว.ก็โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้

331
0
SHARE

 

https://bit.ly/2WtXtU6

 

เฟชบุ้ค เสรี สุวรรณภานนท์

รัฐธรรมนูญ กำหนดให้

สว.ร่วมลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

 

การจัดตั้งรัฐบาลบนฐานของผลประโยชน์และความต้องการของพรรคการเมืองที่ต่อรองกันยังไม่ลงตัว ไม่ใช่เรื่องที่จะจัดตั้งได้ง่ายๆ เพราะแต่ละพรรคการเมืองล้วนมีจุดหมายของการได้ผลประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะต่อรองได้ มิใช่ประโยชน์สูงสุดของประชาชนอย่างที่พูดกัน

ทั้งๆที่พรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลจะควรจะต้องมีอำนาจการต่อรองมากกว่าพรรคอื่นๆ ที่จะต้องอยู่บนฐานของความเข้มแข็ง ความแข็งแกร่งและความเชื่อมั่นของตัวเอง ที่จะต้องให้พรรคการเมืองอื่นๆเข้ามาขอร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล

แต่ปรากฏว่า สถานการณ์กลับกัน พรรคแกนนำไม่สามารถนำเอาจุดแข็งของตัวเองมาใช้เป็นเครื่องต่อรองกับพรรคการเมืองอื่นๆได้ แต่กลับจัดตั้งรัฐบาลอยู่บนพื้นฐานของความหวาดกลัวว่า จะได้เสียงของพรรคร่วมรัฐบาลรวมแล้วไม่เกินกึ่งหนึ่งของเสียงในสภาผู้แทนราษฎร จนกลายเป็นพรรคการเมืองอื่นควบคุมสถานการณ์หรือควบคุมเกมส์ เล่นตัวได้ตามที่ตนเองต้องการ และในที่สุดก็จะถูกเรียกร้องจนหมดตัว

ซึ่งพรรคที่เป็นแกนนำจะต้องมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเด็ดขาดมากกว่านี้ และใช้จุดแข็งของตัวเองให้เป็นประโยชน์ในการต่อรอง และต้องทราบว่าจุดแข็งของตัวเองอยู่ที่ไหน หากยังไม่พบหรือยังไม่ทราบว่าจุดแข็งของพรรคตัวเองอยู่ที่ไหน ก็ยากที่จะต่อรองให้ได้ตามที่ตัวเองต้องการได้

โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาลบนเสียงปิ่มน้ำหรือจมน้ำเหล่านี้ อยู่ที่เสียงสนับสนุนของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คนเป็นตัวกำหนด ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ที่สมาชิกวุฒิสภาจะต้องมาร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ซึ่ง สว.มีอิสระในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี บนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของชาติและประชาชน รวมทั้งให้ได้คนที่มีความสามารถและมีความเหมาะสมที่สุดต่อการบริหารประเทศมาเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงสถานการณ์หรือช่วงเวลาขณะนี้ ซึ่งในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีนี้ สว.ก็ต้องตัดสินใจคิดกันเองให้ดีเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดของชาติบ้านเมืองดังกล่าว

ช่วงนี้ก็คงมีเวลาในการเจรจาต่อรอง ไปจนกว่าจะได้ประธานรัฐสภามาปฏิบัติหน้าที่ แต่เมื่อถึงเวลาแล้วดูทีหากพรรคการเมืองยังไม่สามารถหรือยังไม่ยุติที่จะรวมตัวกันในการสนับสนุนนายกรัฐมนตรีให้สำเร็จได้ คะแนนเสียงและความรับผิดชอบก็คงไปตกอยู่กับ สมาชิกวุฒิสภา ในการโหวตเลือกบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป

ซึ่งเป็นเอกสิทธิและเป็นหน้าที่ของ สว. ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

ส่วนผลคะแนนในส่วน ส.ส.จะมีจำนวนเป็นอย่างไร ก็ต้องรับสภาพ /.

 

เสรี สุวรรณภานนท์

อดีตประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง (สปท.)

 

matemnews.com 

29 พฤษภาคม 2562