Home ข่าวทั่วไปรอบวัน “ครูบนดอย” วอนช่วยเหลือ นักเรียนขาดแคลนอาหาร-เครื่องเรียน เดินทางสุดลำบาก!

“ครูบนดอย” วอนช่วยเหลือ นักเรียนขาดแคลนอาหาร-เครื่องเรียน เดินทางสุดลำบาก!

1111
0
SHARE

วันที่ 29 พ.ค.62  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Wayu Jsr ได้โพสต์ภาพ โรงเรียนบ้านจอซิเดอเหนือ (สาขาศูนย์เรียนรู้ห้องเรียนอุนู) และขอรับบริจาคอาหารแห้งเส้นหมี่, ปลากระป๋อง, โปรตีนเกษตร อาหารที่เก็บไว้ได้นาน รวมถึงเสื้อกันฝน และอุปกรณ์​การเรียน หลังเข้าหน้าฝนหวั่นเส้นทางถูกตัดขาดจากน้ำป่าหลาก ขนอาหารสดขึ้นบนดอยไม่ได้

ทั้งนี้ผู้โพสต์  ระบุด้วยว่า  เครื่องกรองน้ำดื่ม ไฟโซล่าเซล​ดับบ่อยต้องการคนไปช่วยดู

สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคสามารถส่งของไปได้ที่ที่อยู่ ครูโสภา คำอ้าย (บ้านน้ำดิบ)​ 212 หมู่1 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 58110 ของที่ส่งไปจะรวมไว้บ้านครูนำขึ้นไปเป็นรอบ เนื่องจากเส้นทางขึ้นไปโรงเรียนนั้นค่อนข้างลำบากและมีค่าจ้างรถโฟร์วีล​ขึ้นต่อรอบแพง

ท่านใดไม่สะดวกส่งสิ่งของสามารถ​บริจาค​เป็นเงินได้ที่ธนาคารกสิกรไทย​ เลขบัญชี​ 055-8-34554-3 วายุ จอมศิริ เนื่องจากทางครูไม่สะดวกเปิดรับเอง ผมจึงเปิดบัญชี​ขึ้น วันที่ 24/5/2562 ปรับหน้าสมุดบัญชีทุกวันถ่ายลงใต้โพส และปิดบัญชี วันที่ 20/6/2562

กำหนดวันขึ้นมอบของวันที่ 22 มิถุนายน​ 2562 ผมจะขับรถเอาของไปที่บ้านครูและรวมของที่ได้ทั้งหมด ขึ้นรถโฟร์วีล​จ้าง 2 คัน ขึ้นไปศูนย์อุนู ตอนนี้มีนักเรียนตั้งแต่ อนุบาล​ถึง ป.5 จำนวน ​30 คน และคาดว่าปีนี้จะมีเพิ่มถึง 40 คน มีครูสอนอยู่คนเดียวต้องดูแลทุกอย่าง อยากเชิญชวนคณะหรือกลุ่มจิตอาสาขึ้นไปช่วยกัน หรือน้องๆ นักศึกษาจัดทำโครงการไปสร้างโรงอาหารให้เด็กๆ

หลังจากมีการโพสต์รวบรวมสิ่งของเพื่อบริจาค ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสได้สอบถามไปยัง ครูโสภา คำอ้าย ครูโรงเรียนบ้านจอซิเดอเหนือ(สาขาศูนย์เรียนรู้ห้องเรียนอุนู) ระบุว่า ข้อความที่โพสต์เป็นเรื่องจริง เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอ และมีเส้นทางขึ้นยากลำบาก ต้องใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง เป็นทางลาดยาง 30 กิโลเมตร อีก 60 กิโลเมตรเป็นทางลูกรัง และมีลำห้วยตัดผ่านหลายสาย

“ที่นี่ลำบากมากจริงๆ ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว น้ำป่าหลากบ่อยครั้ง ทำให้เส้นทางถูกตัดขาด รถสัญจรผ่านได้ยาก จึงต้องการอาหารไว้เพื่อให้เด็กๆ ได้กินกันเป็นกำลังในการเรียน”

สำหรับนักเรียนในโรงเรียนมีจำนวน 30 คน เรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 5 แต่มีครูเพียงคนเดียว จึงต้องแบ่งเวลาสอน นอกจากนี้โรงเรียนยังสอนหนังสือชาวบ้านใกล้เคียงที่สนใจเรียนรู้ภาษาไทยด้วย เนื่องจากชาวบ้านและเด็กๆ ในพื้นที่ใช้ภาษากะเหรี่ยงในการสื่อสาร จึงทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอ บางครั้งต้องใช้โรงอาหารเป็นห้องเรียน เพื่อสอนหนังสือ

ที่มา http://bit.ly/30Uu70iWayu Jsr