Home ข่าวทั่วไปรอบวัน เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ตอกย้ำเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจอาหารเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการบริจาคเงิน 250,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้กับบริษัท Start-up ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำการเกษตรผสมผสานรูปแบบใหม่ภายในงาน FoodShot...

เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ตอกย้ำเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจอาหารเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการบริจาคเงิน 250,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้กับบริษัท Start-up ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำการเกษตรผสมผสานรูปแบบใหม่ภายในงาน FoodShot Global

319
0
SHARE

หลังประสบความสำเร็จในการเปิดตัวสินค้าใหม่ ‘SABSU’ ในงาน ‘THAIFEX 2019’ ระหว่าง 28 พ.ค. – 1 มิ.ย. 62 ที่ผ่านมา เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการผลิต และส่งออกอาหาร รวมถึงเครื่องปรุงรสที่ได้รับรองมาตรฐานสากล ‘นายดนัย ปฐมวาณิชย์’ ซีอีโอ แห่ง เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในเรื่องของการทำการเกษตรผสมผสานรูปแบบใหม่ ซึ่งมีนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาคุณภาพดิน 3.0 ได้ ทั้งยังให้เงินทุนสนับสนุนองค์กร เพื่อการเกษตรในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงเจตนารมย์ในการส่งเสริมและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรทั่วโลกให้ดีขึ้น

ในปี 2562 บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (NRF) ได้มีการปฏิวัติและสร้างความยั่งยืนในวงการธุรกิจด้านอาหารครั้งใหญ่ ประกาศเป็นผู้นำอาหารประเภท specialty food (อาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณภาพพรีเมี่ยม) มุ่งเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการที่ NRF เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มของวงการอาหารประเภทนี้โดยการมอบเงินทุนสนับสนุนให้แก่บริษัทที่มีนวัตกรรมเพื่อการผลิตอาหารที่มีคุณภาพเพื่อประชากรกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก

นายดนัย ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด และประธานมูลนิธิ Path ได้เดินทางไปยังนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐเอมริกา ในฐานะของหนึ่งในผู้ริเริ่มก่อตั้งและเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ เพื่อเข้าร่วมการคัดเลือกรางวัล Moonshot ภายในงาน FoodShot Global ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลก ทั้งยังสนับสนุนความคิด และนวัตกรรมใหม่ๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบห่วงโซ่อาหารให้สมบูรณ์ ยั่งยืน และเป็นกลาง FoodShot Global ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มการลงทุนในชื่อแคมเปญ ‘Moonshot for Better Foods’ ในปี พ. ศ. 2561 เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการ นักวิจัย และผู้สนับสนุนรุ่นใหม่ เข้าร่วมประกวดในหัวข้ออาหารและการเกษตร ผู้ที่มีวิธีการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุดจะได้รับรางวัลจากแพลตฟอร์มทุนรวมของ FoodShot เป็นเงินทุนตราสารหนี้สำหรับธุรกิจ และรางวัลเงินสดเพื่อสนับสนุนงานด้านการวิจัยกิจการเพื่อสังคม หัวข้อการแข่งขันในปี 2561 คือ คิดค้นวิธีแก้ปัญหาดิน 3.0 ซึ่งหัวข้อในปี 2562 นี้คือ การแก้ปัญหาดิน 3.0 ภายใต้การเกษตรผสมผสานรูปแบบใหม่ หรือ Regenerative Agriculture โดยแคมเปญดังกล่าวสอดคล้องกับพันธกิจของมูลนิธิ Path และ เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF)

FoodShot Global ได้เตรียมรางวัลไว้ถึง 4 รางวัลเพื่อมอบให้กับผู้เข้าร่วม ได้แก่ รางวัล Moonshot จำนวน 2 รางวัล เป็นมูลค่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อรางวัล พร้อมด้วยทุนสำหรับงานวิจัยอีก 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ และมอบรางวัลสนับสนุนองค์กรที่มีความเที่ยงธรรมภายในสังคม เป็นจำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ Trace Genomics ทั้งนี้ นายดนัย ปฐมวาณิชย์ ได้มอบรางวัล Moonshot ซึ่งมีมูลค่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับ COMET-Farm ฟาร์มปศุสัตว์ในรัฐโคโลราโด ซึ่งมีระบบการควบคุมและคำนวณปริมาณคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก COMET-Farm ประมาณการค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากทุกส่วนของการดำเนินการในฟาร์มปศุสัตว์ และให้เกษตรกรได้ประเมินทางเลือกต่างๆในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการดูดซับคาร์บอน ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะมีการให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการดูดซับคาร์บอน โดยระบบมีการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยละเอียด สำหรับสภาพภูมิอากาศและคุณภาพของดินในบริเวณนั้น อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถใส่ข้อมูลรายละเอียดของฟาร์มปศุสัตว์และสามารถดำเนินการเองได้ภายใต้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงของฟาร์มนั้นๆ ทำให้เกิดความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

นายดนัย กล่าวต่อว่า “การเกษตรผสมผสานรูปแบบใหม่ คือกุญแจสำคัญในการก้าวไปสู่อนาคต ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการช่วยเหลือโลกใบนี้ และดูแลปกป้องสุขภาพของทุกคน จึงทำให้เราเป็นที่จับตามองของสื่อ อย่างไรก็ตามความสำคัญของดินกลับถูกมองข้าม ทำให้องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติออกมากล่าวว่า พื้นที่มากกว่า 90% ของดินบนโลกนี้อาจลดลงภายในปี 2593 เนื่องจากมีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่กำลังขยายตัว”

“วิสัยทัศน์ของ บริษัท อาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) มุ่งมั่นที่จะพัฒนาโลกใบนี้ให้ยั่งยืนด้วยผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากฟาร์มรูปแบบใหม่ ความสำเร็จในครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย หากไม่มีการสนับสนุนที่ดีจากทางรัฐบาล อีกทั้งยังได้รับความร่วมมืออันดีจากองค์กรชั้นนำและกลุ่มหุ้นส่วนสำคัญอย่าง FoodShot Global และกลุ่มชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ยังให้การสนับสนุนและทำงานร่วมกับกลุ่มธุรกิจ Start-up เชิงนวัตกรรม ที่ให้ความสนใจในเรื่องของการทำฟาร์มแบบการเกษตรผสมผสานรูปแบบใหม่ และไม่ใช่แค่ทำงานร่วมกันเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกันเพื่อก้าวเข้าสู่ชุมชนระดับโลก นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เราสามารถประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบเกษตรกรรมในประเทศไทยและอุตสาหกรรมการเกษตรระดับโลก” นายดนัยกล่าวทิ้งท้าย

การร่วมมือกันระหว่าง มูลนิธิ Path FoodShot Global และบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ถือโอกาสในครั้งนี้ประกาศหาบุคคลหรือองค์กรในไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะสม อย่างผู้ประกอบการ ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และองค์กรภาครัฐและเอกชน เป็นต้น เพื่อสมัครและเข้าร่วมโครงการ MoonShot For Better Foods Challenge ในปี 2563 ซึ่งรูปแบบโครงการรวมถึงมูลค่ารางวัลก็จะเพิ่มขึ้น เป็น 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ มูลค่ารางวัลสำหรับการสนับสนุนด้านความเป็นธรรมทางสังคมเป็นจำนวน 20,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครได้ที่ http://www.foodshot.org/apply.html