Home ข่าวทั่วไปรอบวัน คุกคามทางเพศ – พลเอกประยุทธ์โปรดอ่านหลายๆรอบ

คุกคามทางเพศ – พลเอกประยุทธ์โปรดอ่านหลายๆรอบ

447
0
SHARE

 

 

เฟชบุ้ค ศุภมาส เสนะเวส

Sexual Harassment – #การคุกคามทางเพศ

อยากจะพูดประเด็นนี้ ที่มีการขยายผลกันออกไป จากคำเรียกขานที่นายกรัฐมนตรีใช้สื่อถึง พรรณิการ์ วานิช เมื่อคืนนี้

ในฐานะที่ก็มีส่วนเคลื่อนไหวในประเด็นความเสมอภาคทางเพศมาบ้าง และเคยเป็นคณะทำงานศูนย์ต้านภัยทางเพศในที่ทำงาน ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เมื่อสักสิบปีมาแล้ว

 

การคุกคามทางเพศ คืออะไร ?

#คือการกระทำใดๆที่ผู้หญิงรู้สึกไม่สบายใจ ว่ามีนัยยะไปในทางเพศ แม้จะไม่ถูกเนื้อตัวร่างกาย

 

เช่น

– “เธอนี่เซ็กซี่ขึ้นทุกวัน วันนี้ไปกินข้าวกับหัวหน้าหน่อย ”

– “ใส่ชุดนี้แล้ว อยากนอนกอดสักคืน”

-จับแก้ม ,จับมือ

-ตีก้น

-ใช้สายตาแทะโลม

-มองแล้วแลบลิ้นเลียริมฝีปาก

 

แต่มิได้หมายความว่าผู้ชายกับผู้หญิงจะพูดจาชื่นชม ทักทาย หยอกเย้ากันมิได้ หรือขนาดเดินสวนกันต้องกลั้นหายใจ เก็บสายตา

 

เป็นต้นว่า หากเพื่อนชายในที่ทำงาน ทักว่า

-“เออ ตัดผมทรงนี้แล้วสวยขึ้นนะ”

– ใส่ชุดนี้แล้วสวยนะ

-(แต่งหน้าแต่งตาเตรียมไปงานตอนเย็นแล้วเพื่อนทัก )วันนี้สวยเป็นพิเศษนะครับ

 

ซึ่งอาจจะปราศจากนัยยะใด ๆ นอกจากการปฏิสันถาร ทักทายด้วยไมตรีเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม ต้องเอา #ความรู้สึกของผู้หญิงเป็นตัววัด ว่า รู้สึกไม่สบายใจในทำนองถูกคุกคามหรือไม่

 

ความสัมพันธ์ระหว่างหญิง-ชาย แม้การถูกเนื้อต้องตัวกัน อาจไม่ได้มีนัยยะทางเพศเสมอไป อย่างในภาพประกอบนี้ พ่อหนุ่มนั้น เป็นโชเฟอร์อายุอ่อนกว่าดิฉันสักสามสิบปี สุภาพ น่ารัก ท่าที่โพสต์นี้ไอเดียมาจากไกด์สาวกับพี่ผู้หญิงอีกคนหนึ่ง เราเลยลองโพสต์บ้างขำ ๆ สนุกสนานกันไป ทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่มีใครอึดอัดใจ เหมือนลูกเหมือนหลานมากกว่า

 

ในประเด็นเมื่อคืนนี้

ย้อนกลับไปในช่วงเปิดสภาแรก ๆ ดิฉันเองเคยโพสต์บทความในเฟซบุค ชื่อ

มีผู้หญิงยืนขึ้น โดยดาลใจ จาก บทกวีของพนม นันทพฤกษ์เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ว่า ผู้หญิง ควรได้รับความยอมรับนับถือในสภาฯ และในการทำงาน เสมอเหมือนกับผู้ชาย พิจารณาจากเนื้อหาสาระและความสามารถเป็นหลัก ควรมีโอกาสเท่า ๆ กัน

 

ในโลกแห่งการทำงานใด ๆ หญิงชายล้วนมีมิติความสามารถและมุมมอง ตลอดจนประสบการณ์จำเพาะของแต่ละเพศ ที่ควรนำมาหลอมรวมกัน เป็นดุลยภาพที่จะสร้างให้ผลงานออกมาเป็นประโยชน์แท้จริง

 

ควรได้รับโอกาสและการยอมรับในฐานะมนุษย์เท่า ๆ กัน

(โดยยกเว้น ทางกายภาพบางเรื่อง เช่น ย้ายของจัดห้องทำงาน คนงานผู้หญิงอาจมีแรงยกของน้อยกว่าผู้ชาย ก็แบ่งงานมาปัดกวาด เช็ดถู เป็นหลัก ดังนี้เป็นต้น)

 

ดังนั้น ในสภาผู้แทนราษฎร ในรัฐสภา ในองค์กรระดับสูง ควรก้าวข้ามมิติในเรื่องเพศกำเนิด เพศสภาพ แต่มองว่าทุกคนคือสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่เข้ามาทำหน้่าที่เป็นตัวแทนประชาชนเหมือน ๆ กัน

คำนึงถึงการทำบทบาทหน้าที่ว่าดีหรือไม่ดี มีคุณภาพเพียงใด เป็นสำคัญ

 

ทุก ๆ คน จึงควรระมัดระวังการแสดงออกต่อบุคคลอื่นในนัยยะเกี่ยวกับเพศสภาพ เพศกำเนิด

และควรใช้ถ้อยคำที่เป็นทางการ เป็นการเป็นงานต่อกัน

การใช้สรรพนามสื่อว่า “คุณคนสวย” ของนายกรัฐมนตรีเมื่อคืน จึงเป็น #การใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เป็นการหยอกเย้า จะโดยอารมณ์ขัน หรือนึกคำไม่ออก หรือเอ็นดูแบบผู้ใหญ่เอ็นดูเด็ก อะไรก็แล้วแต่ ซึ่ง #ไม่สมควร และนายกฯก็ได้ยอมรับและกล่าวขอโทษไปแล้ว

 

#เรื่องจึงควรจบในสภา

 

อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้ชมอยู่ในขณะนั้น คิดว่านายกรัฐมนตรีมิได้มีเจตนาสื่อนัยยะทางเพศ แต่ประการใด เป็นเพียงการไม่ระวังคำพูดแบบที่อาจชอบใช้กับกองทัพสื่อหรือคนแวดล้อมมาเสมอ ๆ ซึ่ง #ควรปรับปรุง

 

#เป็นอุทาหรณ์ที่ต่อไปจะต้องระมัดระวังให้มากขึ้น

 

สำหรับผู้ที่เคลื่อนไหวในประเด็น Gender

ดิฉันว่า เอาพอดีิๆ

 

อย่า Over re-act /อย่ามีอคติเกิน

 

สิ่งที่พึงทำ

คือEducate สังคมให้เข้าใจร่วมกัน

ถึงคุณค่า และความเสมอภาคของทุกๆเพศ

 

ศุภมาส เสนะเวส

๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒

 

***อย่าพาดพิงองค์กรใด เขียนในฐานะปัจเจกบุคคล

…………………………………..

“ศุภมาส เสนะเวส” ผู้ก่อตั้ง “ขบวนผู้หญิงกับการปฏิรูปการเมือง” หรือ WeMove

 

matemnews.com 

27 กรกฎาคม 2562