Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ลูกค้า  BB Clinic  โล่งใจ  คลินิกแห่งนี้ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอกเป็นซิลิโคนแท้สหรัฐอเมริกา ไม่มีอันตราย  ไม่โยงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองใดๆ

ลูกค้า  BB Clinic  โล่งใจ  คลินิกแห่งนี้ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอกเป็นซิลิโคนแท้สหรัฐอเมริกา ไม่มีอันตราย  ไม่โยงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองใดๆ

686
0
SHARE

 

เฟชบุ้ค องค์การอาหารและยา

https://bit.ly/2YH7PwY

เฟชบุ้คกระทรวงสาธารณสุข

https://bit.ly/2OJ2t4G

 

 

ตามที่ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  พร้อมคณะได้เปิดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนที่กระทรวง เมื่อบ่ายวันที่ 6 ส.ค.2562  ประเด็น  2 บริษัทผู้ผลิตเต้านมเทียมซิลิโคนต่างประเทศ  ได้แจ้งให้ทราบว่า พบข้อมูลมีผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin’s Lymphoma จากผลิตภัณฑ์แบบผิวขรุขระ  ซึ่งหลังจากข่าวปรากฏในสื่อมวลชนทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อโชเชียล  ได้มีลูกค้าของ BB Clinic สอบถามเข้ามาหลายราย  ก็ได้ทำการชี้แจงไปว่า  ซิลิโคนที่ BB Clinic นำมาให้บริการลูกค้า  เป็น  ยี่ห้อ MENTOR  กับ MOTIVA  ซิลิโคนแท้  ผลิตภัณฑ์ของบริษัทในสหรัฐอเมริกา  ที่มีความปลอดภัยอย่างเต็มที่

 

ข่าวที่ อย.แถลงมีสาระสำคัญ ดังนี้

 

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 

รศ.นพ.ศิรชัย จินดารักษ์ นายกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย และ ศ.คลินิก

 

นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช นายกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย

 

ร่วมแถลงข่าว   โดย  นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ แถลงว่า  ได้รับแจ้งจากบริษัท แอลเลอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท นีโอฟาร์ม จำกัด   ขอเรียกคืนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์เต้านมเทียมซิลิโคนชนิดผิวขรุขระ เนื่องจากพบข้อมูลว่า มีผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin’s Lymphoma ที่สัมพันธ์กับการเสริมเต้านมด้วยวัสดุนี้ 800 คนจากทั่วโลก โดยเป็นคนไทย 1 คน  แม้อุบัติการณ์จะน้อย ไม่ได้มาก แต่จำเป็นต้องเรียกวัสดุคืน โดยบริษัทแจ้งว่า ประเทศไทยใช้วัสดุนี้ตั้งแต่ปี 2554 ประมาณ 29,000 ชิ้น ใช้ไปแล้ว 14,000 ชิ้น ขณะนี้ได้ประสานไปยังโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาลต่างๆ ที่ใช้วัสดุนี้ในการเรียกคืน ส่วนผู้ที่เสริมเต้านมด้วยวัสดุนี้ไปแล้วไม่ต้องกังวล ให้สังเกตอาการ หากมีอาการบวม เต้านมผิดรูป ควรรีบพบแพทย์ทันที หรือไม่มีอาการก็ต้องสังเกต ด้วยการคลำเต้านม และพบแพทย์ปีละครั้ง เพราะอุบัติการณ์เกิดไม่ได้มาก  เต้านมผิวขรุขระที่เรียกคืน มีชื่อทางการค้า “นาเทรล (NATRELLE)” ผลิตโดย Allergan Costa Rica S.R.L. ประเทศคอสตาริกา เจ้าของ คือ Allergan Plc สหรัฐอเมริกา

 

ผลิตภัณฑ์ที่เรียกคืนของบริษัท แอลเลอร์แกน ได้แก่

 

1.เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย นาเทรล รุ่น เอสที-410 เอ็มเอฟ เลขที่ใบรับแจ้งรายการละเอียด จน. 5/2560

 

2.เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย นาเทรล รุ่น 120 เลขที่ใบรับแจ้งฯ จน. 36/2561

 

3.เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย นาเทรล รุ่น เอสที-410 เอ็มเอ็ม เลขที่ใบรับแจ้งฯ จน. 4/2562

 

บริษัท นีโอฟาร์ม ได้แก่ 1.เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย นาเทรล รุ่น 110 เลขที่ใบรับแจ้งฯ จน. 79/2553

 

  1. เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย นาเทรล รุ่น 120 เลขที่ใบรับแจ้งฯ จน. 106/2553

 

  1. เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย นาเทรล รุ่น ST-410 MF เลขที่ใบรับแจ้งฯ จน. 2/2554

 

  1. เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย นาเทรล รุ่น ST-410 MM เลขที่ใบรับแจ้งฯ จน. 3/2554

 

อย.กำลังจัดทำระบบติดตามเฝ้าระวัง ให้สถานพยาบาล หรือแพทย์ลงทะเบียนว่า มีการนำเต้านมเทียมชนิดดังกล่าวไปใช้ที่ไหน อย่างไร เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและให้ทราบข้อมูล

 

ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์  ช่วงสุวนิช แถลงว่า ความสัมพันธ์ของซิลิโคนผิวขรุขระกับเต้านม ที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สาเหตุยังไม่แน่ชัด เกิดได้จากผิวสัมผัสที่ขรุขระหรือพันธุกรรม ซึ่งจะพบมากในชาวออสเตรเลีย และพบว่า ซิลิโคนผิวเรียบเกิดมะเร็งต่อน้ำเหลืองน้อยกว่า  ที่ผ่านมา คนไทยนิยมผ่าตัดเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนผิวขรุขระ เนื่องจากสมัยนั้นการผ่าตัดต่างๆ โอกาสทำให้เกิดพังพืดน้อย แต่ปัจจุบันด้วยเทคนิคการผ่าตัดทำให้ความเสี่ยงเกิดพังพืดน้อยเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะใช้วัสดุแบบผิวขรุขระหรือผิวเรียบ

 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบกรณีนี้ ไม่ใช่มะเร็งเต้านมที่เกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านม และกรณีนี้ก็ไม่ได้พบมาก อัตราการเกิดต่ำ เพียงแต่มาเตือนเพื่อให้เฝ้าระวัง เนื่องจากหากไม่ดูแลให้ดี ก็อาจร้ายแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แต่หากรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษาได้ดี และมีโอกาสหายขาดได้ด้วยการผ่าตัดโดยไม่ต้องใช้ยาเคมีบำบัด

 

รศ.นพ.ศิรชัย จินดารักษ์  แถลงว่า  ไม่เกี่ยวกับวัสดุ สาเหตุจริงๆ ก็ยังไม่ทราบ เพียงแต่พบว่า มาจากวัสดุที่ทำจากผิวขรุขระมากกว่าผิวเรียบ  ยกเว้นคนที่เสริมเต้านมผิวขรุขระมาก่อน แล้วเปลี่ยนเป็นวัสดุผิวเรียบก็มีความเสี่ยงเช่นกัน แต่ไม่ได้เกี่ยวกับตัวสารใดๆ ที่ผลิตออกมา   อาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อบางชนิด ฯลฯ ขณะนี้กำลังศึกษาหาสาเหตุที่แท้จริงอยู่

 

matemnews.com 

6 สิงหาคม 2562