Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ประเทศเทศไทยหรือ  ?

ประเทศเทศไทยหรือ  ?

370
0
SHARE

 

เฟชบุ้ค Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

https://bit.ly/2lQ01Lz

“แหล่งผลิตลูกพันธุ์อาหารทะเลย้ายที่ไม่ได้”

 

เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 62 ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทราแถลงข่าวว่า โครงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จะยกระดับจังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างอาชีพอุตสาหกรรมให้แก่ประชาชน ที่จะได้ทำงานใกล้บ้าน นำไปสู่สมาร์ทซิตี้ เมืองแห่งความสุขสืบไป

 

และกล่าวถึงโครงการนิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ซิตี้ ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโครงการใหญ่ๆ ที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ต้องมีทั้งคนสนับสนุน และคนคัดค้าน

 

รูปข้างล่างจะเห็นชัดเจนว่า โครงการบลูเทคซิตี้นั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทราต่อเนื่องชลบุรี จะเห็นมีบ่อดังนี้เต็มไปหมด เต็มพื้นที่

 

ถ้าผู้บริหารประเทศ และคณะกรรมการ eec ไม่ตื่นจากหลับไหล เรื่องนี้จะทำร้ายห่วงโซ่ห่วงแรกของอาหารทะเลไทย อย่างไม่มีวันกลับ

 

ถึงแม้ไทยมีชายฝั่งทะเลยาวมาก ทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามัน มีแต่บริเวณนี้มีลักษณะพิเศษ ที่ระดับบนบกไล่เรี่ยกับระดับน้ำทะเล ลึกเข้าไปในพื้นดินไกลมาก

 

ทำให้เป็นพื้นที่ 2 น้ำ ฤดูหนึ่งน้ำเค็มหลากพาเอาลูกสัตว์น้ำเข้ามาบนบก อีกฤดูหนึ่งน้ำฝนจะพาเอาอาหารมาเลี้ยงให้เติบโต

 

จึงเป็นแหล่งผลิตลูกกุ้งกุลา 50% ของไทย ลูกปลาน้ำจืด 50% ของไทย ลูกปลากระพง 1,000 ล้านตัว/ปี ลูกปลานิล 2,000 ล้นตัว/ปี

 

ถามว่า ทำไมชายฝั่งจุดอื่นไม่สามารถทำอย่างนี้?

 

ตอบว่า เพราะมีระดับความลาดเอียงจากบนบกสู่ทะเลสูง จึงไม่มีสภาพพื้นที่ 2 น้ำเช่นนี้ ยกเว้นแต่แถวใกล้จังหวัดสงขลา แต่ครอบคลุมบริเวณแคบกว่ามาก

 

ผมจึงอยากเชิญชวนให้ชาวบ้านพิจารณาจุดเด่น

 

อุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่ที่ใดก็ได้ แต่จุดเด่นของฉะเชิงเทรา/ชลบุรี คือพื้นที่ชุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ จะย้ายที่ ก็ไม่ได้ จะมีแหล่งอื่นในไทยที่เหมือนอย่างนี้ ก็ไม่ได้

 

ส่วนสมาร์ทซิตี้นั้น ถ้าไม่มีอาหาร ถ้าต้องนำเข้าจากกัมพูชา/เวียดนามอย่างเดียว ก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน

 

ดังนั้น สังคมจึงควรรณรงค์ให้เก็บรักษาพื้นที่นี้ไว้เป็นห่วงโซ่หลักของครัวไทยและครัวโลก

 

โดยรัฐบาลควรคิดหาวิธีชดเชยชาวบ้านในพื้นที่เช่นนี้ ให้ได้รับการเกลี่ยผลประโยชน์ออกมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม และสมาร์ทซิตี้ในแหล่งอื่นของไทย

 

ส่วนผู้บริหารประเทศ และคณะกรรมการ eec ขอให้ดูภาพเหล่านี้ และตอบแก่ประชาชน

 

  1. ท่านให้ความมั่นใจแก่คนไทยได้อย่างไรว่า นิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ใจกลางบรรดาบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ จะไม่สร้างมลภาวะไปกระทบพื้นที่ล้อมรอบ?

 

  1. นิคมอุตสาหกรรมที่ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ว่าจะไฮเทคแค่ไหน และที่มาตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำ ก็น่าจะเพราะต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตจำนวนมาก จะไม่กระทบคุณภาพน้ำได้อย่างไร?

 

  1. โครงการที่อยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงไม่กี่สิบเซ็นติเมตร และข้อมูลดาวเทียมจาก GISTDA ระบุว่าเป็น “พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นครั้งคราว โดยประสบน้ำท่วมขัง 1-3 ครั้งในรอบ 10 ปี” นิคมอุตสาหกรรมจะต้องถมที่ให้สูงขึ้นมาก พร้อมทั้งสร้างกำแพงกั้นน้ำ ใช่หรือไม่?

 

สภาพที่เนรมิตขึ้นมาเป็นเนินภูเขาขนาดย่อมอย่างนี้ จะไม่ขวางทางหลากน้ำได้อย่างไร?

 

  1. โครงการนี้ดูเหมือนว่าเดินหน้าก่อสร้างไปมากแล้ว ได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยหรือยัง?

 

ถ้าหากนักธุรกิจมั่นใจทุ่มทุน ทั้งที่ยังไม่ได้ใบอนุญาต ก็ย่อมจะแสดงว่า น่าจะได้รับไฟเขียวด้วยวาจาจากผู้มีอำนาจ การทำอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่?

 

วันที่ 16 กันยายน 2562

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala

(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)

หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

matemnews.com 

17 กันยายน 2562