Home ข่าวทั่วไปรอบวัน โคตรเหล็กไหลพันล้าน + พระกริ่งปวเรศ  เจอ “ศรีสุวรรณ”ลองของเข้าแล้ว

โคตรเหล็กไหลพันล้าน + พระกริ่งปวเรศ  เจอ “ศรีสุวรรณ”ลองของเข้าแล้ว

823
0
SHARE

 

 

นัดหมายกับนักข่าวไว้  นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ก็ได้ไปตามนัด  ลองของโคตรเหล็กไหลพันล้านของ ส.ศ.  โดยได้ปรากฏตัวที่สำนักงาน ปปช.ถนนสนามบินน้ำ เมื่อเวลา 13 น.วันที่ 23 ก.ย.2562  ยื่นหนังสือให้  ป.ป.ช.  โดย  นายสุทธิ บุญมี ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ สำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้รับ

 

1.ขอให้ ปปช.ไต่สวนสอบสวน และวินิจฉัยกรณีการแสดงรายการทรัพย์สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 ราย คือ

 

นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล หน.พรรคพลังไทยรักไทย

 

นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หน.พรรคไทยศิวิไลย์

 

จากที่ได้แจ้งรายการทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. เป็นโคตรเหล็กไหลที่มีมูลค่ากว่า 700 ล้าน มหาเหล็กไหล มูลค่า 300 ล้านบาท อุกกาบาต 10 ล้านบาท และพระเครื่องต่าง ๆ อาทิ พระกริ่งปวเรศทองคำ 50 ล้านบาท พระสมเด็จวัดระฆัง 40 ล้านบาท พระสมเด็จไกเซอร์ 30 ล้านบาท ฯลฯ

 

อาจเป็นการจงใจยื่นบัญชีด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยกรณีดังกล่าว เป็นที่สงสัยและวิพากษ์วิจารณ์กันของสังคมไทยเป็นอย่างมากว่า มูลค่าทรัพย์สินต่าง ๆ ดังกล่าว เป็นการสร้างมูลค่าลวงขึ้นมาหรือไม่ ซึ่งอาจเข้าข่าย “ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย” ตามนัยยะของ ม.3(5) ของ พรบ.การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 2542 ซึ่งนักการเมืองอาจใช้เป็นข้ออ้างในการฟอกเงินเพื่อผ่องถ่ายทรัพย์สินแบบหลอกๆไปเป็นเงินสดในอนาคต หากมีเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นงอกเงยขึ้นมาเกินกว่ารายรับที่พึงมีในขณะดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็จะใช้เป็นข้ออ้างได้ว่าได้จำหน่ายพระเครื่องหรือวัตถุมงคลดังกล่าวออกไปในราคาแพงตามที่ตั้งมูลค่าไว้ เป็นต้น

สมาคมฯจึงนำความมาร้องเรียนให้ ป.ป.ช.ออกระเบียบหรือกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบมูลค่าทรัพย์สินประเภทต่างๆดังกล่าวของนักการเมือง เพื่อปิดช่องโหว่ของการเลี่ยงบาลีในการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งหากนักการเมืองไม่สามารถแสดงหลักฐานใบรับรองมูลค่าของทรัพย์สินต่างๆได้ ก็สามารถชี้ได้เลยว่าเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ  หรือ ปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และ 2) ขอให้ป.ป.ช.ไต่สวน สอบสวน และวินิจฉัยการกระทำของ 2 ส.ส.ข้างต้นว่า เป็นการฝ่าฝืน มาตรา 109 วรรคสาม ประกอบ มาตรา 114 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 หรือไม่ และหากพบว่า เป็นการฝ่าฝืน ให้ดำเนินการเอาโทษตาม มาตรา 167 คือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับต่อไป

matemnews.com

23 กันยายน 2562