Home ข่าวทั่วไปรอบวัน วีระ  สมความคิด  ชำแหละเซ็นสัญญารถไฟฟ้า 3 สนามบิน

วีระ  สมความคิด  ชำแหละเซ็นสัญญารถไฟฟ้า 3 สนามบิน

331
0
SHARE

 

เฟชบุ้ค  Veera Somkwamkid

ข่าวรัฐบาลโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย กับกลุ่มบริษัท CP ร่วมเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สถามบิน ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยาน

 

ข้อมูลที่นำเสนอ เป็นเพียงด้านเดียว แต่ความจริงที่เป็นด้านลบเกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ประเทศและสาธารณะไม่ได้นำเผยแพร่ โดยเฉพาะโครงการได้นำเอา ’สาธารณสมบัติของแผ่นดิน’ คือ ที่ดินการรถไฟมักกะสันจำนวนประมาณ 150 ไร่ ทำเลที่ตั้งเป็นที่ต้องการของนักธุรกิจมีมูลค่าหลายๆแสนล้านบาท ยกให้กลุ่ม CP ที่เป็นผู้ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย เช่าทำธุรกิจในราคาต่ำมากๆ เป็นเวลา 50 ปี ในราคาเพียงประมาณ 50,000 ล้านบาท หรือประมาณปีละ 1,000 ล้านบาท จึงมีคำถามว่า เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกมากน้อยอย่างไร และประชาชนได้อะไร

 

นอกจากนั้น รัฐยังยกรถไฟแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่การรถไฟฯเป็นเจ้าของ ได้ลงทุนไปแล้วมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท ให้กลุ่ม CP ไปดำเนินการโดยจ่ายให้การรถไฟเพียง 10,000 ล้านบาทเศษ รถไฟแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้ผ่านช่วงเวลาที่วิกฤตจนปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาจราจรที่เป็นทุกข์ของประชาชนใน กทม ได้ในระดับหนึ่ง จนเป็นที่นิยมเริ่มมีกำไรจากการดำเนินการ ที่ทุกวันบริการผู้โดยสารประมาณวันละ 8 แสนกว่าคน ในราค่า ต่ำสุด 15 บาท แต่สูงสุดไม่เกิน 45 บาทตามระยะทาง เฉลี่ยผู้โดยสารเดือนละเกือบ 2 ล้านคนที่เกินจำนวนขบวนรถไฟฟ้าที่มีอยู่ 9 ขบวน เพียงแต่พัฒนาโดยซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเท่านั้น ที่สำคัญแอร์พอร์ตลิ้งค์มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการเดินทางและแก้ปัญหาจราจรในเขต กทม และย่านชานเมืองเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี แต่อย่างใด

 

โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการพัฒนาที่ดีควรสนับสนุน ซึ่งโครงการนี้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายที่เป็นมาตรฐานเบื้องต้น โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ยังมีข้อกังขาว่าไม่ชอบมาพากลหลายๆประการ ที่สำคัญคือยังไม่มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชนหรือ EIA.ที่ถูกต้องตามกระบวนการและขั้นตอนที่ชอบด้วยกฏหมาย ในบางพื้นที่ของโครงการ เช่นการย้ายท่อก๊าซ เสาไฟแรงสูง หรือท่อส่งน้ำมัน เป็นต้น เป็นประเด็นสิทธิของประชาชนที่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุดได้บัญญัติให้ต้องทำ และต้องไม่แอบแฝงใช้โครงการทำการทุจริตเชิงนโยบาย และใช้งบประมาณแผนดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

ขณะนี้รัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณเพื่อโฆษณาชี้นำโครงการฯ และพบว่าไม่เปิดเผยข้อมูลให้รอบด้าน ซึ่งโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี มีพื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และพื้นที่อื่นที่อยู่ในภาคตะวันออกที่กําหนดเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แต่ได้เกิดความสงสัยว่ามีขบวนการนำชื่อโครงการ อีอีซี ใช้ผิดพื้นที่ ผิดเป้าประสงค์ หรือไม่ รวมทั้งมีการแอบอ้างนำชื่อโครงการ เป็นกลอุบายเพื่อเอา ‘สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน’ คือ ที่ดินมักกะสันซึ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานให้การรถไฟฯ ใช้บริการประชาชน นำไปให้ กลุ่มธุรกิจนายทุนที่รวยที่สุดของประเทศไทย ไปทำธุรกิจหาผลประโยชน์หรือไม่ ทั้งที่ “สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ต้องเป็นสาธารณะสมบัติของประชาชน “ ไม่ใช่สมบัติของกลุ่มนายทุนที่สนับสนุนรัฐบาลในปัจจุบัน

 

ที่สำคัญ ให้จับตาสัญญาแนบท้าย หากรัฐไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามกำหนด ซีพีสามารถยกเลิกไม่ทำโครงการต่อได้ เพราะรัฐเป็นฝ่ายผิดสัญญา และหากส่งมอบพื้นที่ล่าช้า รัฐต้องขยายอายุสัญญาให้ซีพี แต่ซีพีไม่ต้องเสียค่าปรับ

 

นอกจากนี้ ให้จับตาโครงการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา ที่ซีพีฟื้นคืนชีพ ได้กลับเข้าร่วมประมูลใหม่ เพราะแพ้การประมูลทำผิดเงื่อนไขมายื่นซองประมูลช้าไป 9 นาที หลังจากได้ผู้ชนะการประมูลไปแล้ว ซีพีไปฟ้องศาลปกครอง ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัย แต่ศาลปกครองสูงสุดกลับให้ซีพีชนะไปอย่างที่โลกต้องจำไปอีกนาน

 

matemnews.com 

25 ตุลาคม 2562