Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ในที่สุดก็ประกาศ Covid 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย – เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเต็มๆ

ในที่สุดก็ประกาศ Covid 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย – เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเต็มๆ

423
0
SHARE

 

 

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าว  บ่าย 24 ก.พ.2563 ว่า

 

“ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติครั้งที่ 2/2563 มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งแพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เกิดความสบายใจ ด้วยการมีกฎหมายรองรับ ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และจะมีประโยชน์กับการควบคุมโรคมากขึ้น  ขอทำความเข้าใจกับสังคม ว่า ขณะนี้ประเทศไทย ยังไม่เข้าสู่สถานการณ์ระบาดในระดับ 3 แต่อย่างใด ตรงกันข้าม การออกประกาศนี้ เท่ากับเป็นการยืดเวลาให้การระบาดในระดับ 3 มาถึงอย่างช้าที่สุด นายอนุทินยังกล่าวว่าการออกประกาศนี้หมายความถึงไทยใช้มาตรการที่เข้มข้นมากๆ แม้ในขณะที่สถานการณ์ของประเทศยังอยู่ในระดับสองหรือควบคุมได้ก็ตาม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี โดยที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้ยกถึงประสบการณ์และข้อมูลทางวิชาการมารองรับ ทุกคนรวมทั้งผมจึงมั่นใจว่าวิธีที่จะควบคุมโรคนี้ ด้วยการออกประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย จึงเป็นวิธีที่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งประกาศฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับหลังจากตนได้ลงนามและออกประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา”

 

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า

 

“ข้อดีของการประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายเห็นผลได้ชัดเจน เช่นการให้คนใดคนหนึ่ง ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอาจแพร่โรค อยู่ในบริเวณนั้นๆ หรือเรียกว่าการกักตัว จะทำได้ง่ายขึ้นหรือเหมือนประกาศนี้ คือ เครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ทำงานในการป้องกันโรคได้ดี ช่วยชะลอตัวเลขผู้ป่วยที่จะเพิ่มมากขึ้นด้วยW

 

รศ.นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา แถลงว่า

 

“ยกตัวอย่างของชาวต่างชาติ ไม่ยอมให้กักตัว ที่ผ่านมา เป็นไปได้ความลำบาก เพราะไม่มีกฎหมายใดมาควบคุมได้ ซ หากชาวต่างชาติผู้นี้กลายเป็น Super Spreader สถานการณ์ก็จะอันตรายมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวย้ำว่าขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับประกาศฉบับนี้ เช่นการกักกันโรค หรืออาจเป็นการห้ามเข้าไปในสถานที่ชุมนุมแออัดที่ เจ้าหน้าที่เห็นว่า เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค”

 

 

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่า

 

“เนื้อหาในมาตรา 34 (1) ของประกาศฉบับนี้มีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ชัดเจน คือ ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาด หรือผู้ที่เป็นผู้ที่สัมผัส โรคหรือเป็นพาหะ มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ และเพื่อความปลอดภัยอาจดำเนินการโดยการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด จนกว่าจะได้รับการตรวจ และการชันสูตรทางการแพทย์ว่า พ้นระยะติดต่อของโรค หรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัย ทั้งนี้ หากเป็นสัตว์ก็ให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสัตว์ เป็นผู้นำสัตว์มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์”

 

เฟชบุ้คอนุทิน  https://bit.ly/37Pqj2J

 

 

matemnews.com 

23 กุมภาพันธ์ 2563