อุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศไทย คือ พล.อ.ประยุทธ์
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.อดีตสังกัดพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการอภิปรายวันที่ 3 – 26 ก.พ.2563 ที่รัฐสถาเกียกกาย
“พล.อ.ประยุทธ์ มีมุมมองกับการกระจายอำนาจว่า ประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่ใหญ่โตให้กระจายอำนาจ อ้างอิงจากดัชนี LAI ชี้วัดในต่างประเทศที่มีการกระจายอำนาจ ทั้งที่มีขนาดเล็กกว่าประเทศไทย แต่กลับมีพื้นฐานของประเทศดีกว่าไทยทั้งหมด ประเทศไทยมีคะแนน LAI 29.59 จาก 100 คะแนน ดังนั้น ความคิดที่ว่าประเทศไทยเล็กเกินกว่าการกระจายอำนาจไม่เป็นความจริงจากนั้น 5 ปีต่อมา เมื่อมีการถามเรื่องการคืนอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ กลับตอบว่าแล้วคนไทยพร้อมแล้วหรือ ผมยืนยันว่าคนไทยพร้อมและมีศักยภาพ เช่น การจัดทำรถเมล์รางคู่ที่จังหวัดเลย ที่ประชาชนศึกษาและจัดทำกันเองโดยไม่ได้ใช้อำนาจรัฐ , กระบี่คัพ การแข่งขันฟุตบอลที่จัดโดย อบจ.กระบี่ อีกทั้งยังให้งบประมาณสนับสนุนไปยัง อบต.ต่างๆ ได้จากรายได้จากการแข่งขันฟุตบอล แต่กระนั้นก็ยังมีข้ออ้างจากนายกรัฐมนตรีที่ไม่ยอมกระจายอำนาจว่า ท้องถิ่นมีการทุจริตคอร์รัปชั่น เนื่องจากจำนวนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนมาก จะเหวี่ยงแหไปตรงไหนก็เจอ แต่ถ้านับความเสียหายโดยรวมมีแค่ 25% ของความเสียหายจากการทุจริตทั้งหมด พลเอกประยุทธ์มีความคิดไม่ถูกต้องเหมาะสมกับการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง ผมยกตัวอย่าง ประเทศไทย ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย มีการกระจายอำนาจมาตลอด และประเทศไทยก็เริ่มการกระจายอำนาจมาตั้งแต่ปี 2552 แต่สะดุดลงในปี 2557 หลังรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ์ ออกประกาศ คำสั่ง และ ม.44 ทำลายการกระจายอำนาจ เช่น ประกาศ คสช.85/2557 ที่ยกเลิกการเลือกตั้งท้องถิ่น และให้สัดส่วน 2 ใน 3 ให้เป็นข้าราชการหรืออดีตข้าราชการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ทั้งหมดขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังประกาศให้กฎหมายต่างๆ ที่ป้องกันเรื่องประโยชน์ทับซ้อน ให้ยกเลิก ทำให้ข้าราชการเข้าไปนั่งในตำแหน่งเหล่านี้ได้ , ประกาศ คสช.88/2557 แทรกแซงกระบวนการจัดทำงบประมาณส่วนท้องถิ่น ให้ทหารเข้ามาเป็นกรรมการในการจัดทำงบประมาณท้องถิ่น และฝ่ายบริหารของท้องถิ่นก็ถูกควบคุมโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าฯ มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการไปตรวจสอบ และสุดท้ายทำให้สภาวะกาลของท้องถิ่นไทยเริ่มมีปัญหา จนต้องใช้ ม.44 ที่มีเนื้อหาให้ต่ออายุสมาชิกสภาท้องถิ่นไปอย่างไม่มีกำหนดและถ้าหมดวาระการทำงานแล้วก็ยังให้กลับเข้ามาทำงานอีกได้ รวมๆ แล้วคำสั่งกว่า 20 ฉบับทำลายระบบการเลือกตั้งท้องถิ่น สั่งแขวน สั่งปลด ถูกคดีใช้เป็นเครื่องมือต่อรองเพื่อให้เข้ามาเป็นพวกเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ และก่อนที่จะส่งผ่านเข้าสู่รัฐบาลชุดปัจจุบัน มีการออกกฎหมายทิ้งทวนอีก 6 ฉบับ เช่น การองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพฯ และพัทยา ไม่ต้องมีผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมาจากการแต่งตั้งก็ได้ ความคิดแบบนี้ติดตัว พล.อ.ประยุทธ์ มา 2 สมัย เช่นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 กฎหมายกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่น และ พล.อ.ประยุทธ์ ทราบดีว่าการจัดเก็บภาษีที่ดิน ท้องถิ่นไม่มีศักยภาพ แต่กลับไม่ปรับลดรายได้ส่วนนั้นในงบประมาณ หรือต้องการจะรวมงบประมาณไว้ส่วนกลางให้มากกว่า การพัฒนาจากการกระจายอำนาจ จากเดิมที่บอกว่าคนไทยก็คือคนไทย คนไทยยังไม่พร้อม แต่ถ้าเราไม่มีพล.อ.ประยุทธ์ เราจะพัฒนาไปขนาดไหน เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีการกระจายอำนาจมาก่อนไทยแค่ 5 ปี ผ่านมา 26 ปี จากระบอบราชการรวมศูนย์ แต่ทุกวันนี้ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่ามีการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการท้องถิ่น และการจัดเก็บภาษีได้ดีที่สุดในโลก และการแบ่งโครงสร้างอำนาจรัฐที่ดี ทำให้ 60% ของงบประมาณอยู่กับท้องถิ่น ทำให้มีการจัดสวัสดิการ การรักษาความสะอาด การพัฒนาที่ดิน ฯลฯ ส่วนรัฐบาลก็มีเวลาไปดูแลเรื่องหนี้สาธารณะ และการเงินการคลัง ขณะเดียวกันอินโดนีเซีย เริ่มต้นการกระจายอำนาจหลังไทย 2 ปี ทุกวันนี้กำลังจะแซงหน้าเราไปแล้ว Real GDP per Capita จะเห็นว่า 10 จังหวัด ที่จนที่สุดมีอัตราการเพิ่มขึ้นของความกินดีอยู่ดี 5.7% และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ และสูงกว่าคนในจังหวัดที่รวยกว่า ขณะเดียวกันประชาชนในจังหวัดที่รวยที่สุดของไทย มีอัตราการกินดีอยู่ดีเพียงแค่ 2.5% จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำที่สุดในโลกในยุคของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ่งที่เราต้องการวันนี้คือรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ ความสามารถ ในการบริหารประเทศ แต่ผมไม่เห็นคุณสมบัติเหล่านั้นในตัวของนายกรัฐมนตรี และอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศ คือ พล.อ.ประยุทธ์”
matemnews.com
26 กุมภาพันธ์ 2563