Home ข่าวทั่วไปรอบวัน วารสารการแพทย์ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน ถอดงานวิจัยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีผลต่อหัวใจ เหตุบิดเบือนการเก็บข้อมูล

วารสารการแพทย์ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน ถอดงานวิจัยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีผลต่อหัวใจ เหตุบิดเบือนการเก็บข้อมูล

1339
0
SHARE

 

 

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเผย วารสารการแพทย์ชื่อดังสั่งถอดงานวิจัยหัวข้อ “การใช้บุหรี่ไฟฟ้าก่อความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย”  เนื่องจากใช้ข้อมูลเพียงบางส่วนมาวิเคราะห์ เผยงานวิจัยและนักวิจัยคนนี้ถูกนำมาอ้างอิงบ่อยโดยกลุ่มรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าในไทย

 

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ” กล่าวว่า “ผลการวิจัยที่ระบุว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มมากขึ้นถึง 2.25 เท่า เป็นข้อมูลที่บิดเบือนและไม่เป็นไปตามหลักการวิจัยที่ถูกต้อง เพราะผู้วิจัยไม่มีความเป็นกลาง วารสารการแพทย์ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกันจึงถอดออกงานวิจัยจากวารสารดังกล่าวแล้ว” สะท้อนให้เห็นถึงอันตรายของการใช้และอ้างอิงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโดยกลุ่มรณรงค์ต่อต้านบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยซึ่งมีการอ้างถึงนักวิจัยดังกล่าวบ่อยครั้ง

 

การวิจัยหัวข้อ “การใช้บุหรี่ไฟฟ้าก่อความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย” จัดทำโดย ดร. สแตนตัน แกลนซ์ และ ดร. ดาร์มา ภัทรา จากศูนย์ศึกษายาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน แต่ต่อมาบรรณาธิการวารสารตรวจพบว่าผู้ทำวิจัยเลือกเอาเฉพาะผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาทำการวิจัยและไม่มีการวางแผนการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง จึงเรียกร้องให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลซ้ำใหม่และขอให้ชี้แจงความถูกต้องของการเก็บข้อมูล แต่คณะผู้ทำการวิจัยไม่สามารถชี้แจงได้ กองบรรณาธิการจึงต้องเพิกถอนงานวิจัยดังกล่าวออกก่อน โดยให้เหตุผลว่าการข้อสรุปของงานวิจัยนี้ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อไม่เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดออกสู่สาธารณชน

 

“หน่วยงานต่อต้านบุหรี่ หรือ สธ. บ้านเรามักจะให้ข้อมูลด้านลบแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพราะอยากลดอันตรายให้กับตัวเอง ยกตัวอย่าง เช่น การวิจัยล่าสุดของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ที่สรุปว่าควรแบนบุหรี่ไฟฟ้าต่อ ประชาชนก็ไม่เคยทราบหรือรับรู้เลยว่าทำการศึกษากันจริงหรือไม่อย่างไร เราจึงเรียกร้องให้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเป็นกลางและอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยที่ถูกต้องบ้าง เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเราผู้สูบบุหรี่และผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง”

 

matemnews.com 

4 มีนาคม 2563