วันที่ 20 มี.ค.2563 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงยืนยันพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มอีก 50 ราย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 322 ราย, หายแล้ว 43 ราย, กำลังรักษา 278 ราย และเสียชีวิต 1 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่ม 1 ผู้สัมผัสใกล้ชิด (41 ราย)
– สนามมวย 18 ราย กระจายสู่ต่างจังหวัด
– สถานบันเทิง 5 ราย มีทั้งพนักงานและคนท่องเที่ยว สถานที่คือเขตทองหล่อและรามคำแหง
– สัมผัสกับผู้ป่วย 12 ราย เป็นผู้สูงอายุ นักศึกษา แม่บ้าน ตำรวจ และเด็กเล็ก 6 เดือน
– ผู้ร่วมกิจกรรมทางศาสนา 6 ราย อยู่ที่ปัตตานีและสงขลา
กลุ่ม 2 ผู้ป่วยรายใหม่ (9 ราย)
– คนไทยเดินทางกับจากอังกฤษ 2 ราย เป็นนักศึกษาและพนักงานข้าราชการ
– ชาวเมียนมา 2 ราย
– ผู้ทำงานใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ 2 ราย
– รอผลตรวจ 3 ราย
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับสนามมวยและร่วมพิธีทางศาสนาจะพบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ร่วมกิจกรรมเหล่านี้ต้องรายงานตัวในพื้นที่แต่ละจังหวัด จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 76.7 อยู่ที่กรุงเทพฯ และจะมีการกระจายไปหัวเมืองหลักๆ ภูมิภาคหรือภูมิลำเนากลุ่มคนเหล่านี้ต้องนำหลักสาธารณสุขไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากป่วยจะต้องไปพบแพทย์ยืนยันว่าไม่มีค่าใช้จ่าย
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ยืนยัน กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งงานกันทำอย่างชัดเจนเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 มีการประชุมร่วมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกเครือข่ายเพื่อเตรียมพร้อมทั้งเรื่องของโรงพยาบาล มีเตียงกว่า 1600 เตียง ทั้งโรงพบาลเอกชน โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลในสังกัด กทม. มีการสำรองสถานพยาบาลพิเศษ มีโรงแรงจะเข้ามาร่วมเสริมประมาณสัปดาห์หน้าจะมีการย้ายผู้ป่วยไป ยืนยันมีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป้วยภายใต้วาระแห่งชาติที่ทุกคนจะช่วยกัน
“เราจะประมาทไม่ได้ แต่ไม่อยากให้ตื่นตระหนก คนที่อยู่ใกล้ชิดมีความเสี่ยงเป็นพาหะ เราต้องป้องกันตัวเองอยู่เสมอ บางคนกลัวสถานที่ เช่น สนามมวย และทองหล่อ แต่ความจริงเชื้อไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว เชื้อโรคเดินทางไปกับคน ไปตามสถานที่ต่างๆ แล้ว ดังนั้นทุกคนต้องป้องกันตัวเอง” รมช.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ไทยได้นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์มาแล้ว และมีขั้นตอนการเบิกจ่าย มีการทำคู่มือการใช้ยา ยืนยัน 80% ไม่ต้องใช้ยา ผู้ป่วยที่อาการหนักจึงใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ย้ำภูมิต้านทานสำคัญ
.
นพ.สุกิจ ศรีทิพยวรรณ รอง ผอ.สำนักการแพทย์ (ปฏิบัติงานด้านการศึกษาแพทย์) กทม. กล่าวว่า รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียนจะเป็นจุดที่รับผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการไม่มาก 103 เตียง ณ วันนี้มีเตียงพร้อมแล้ว 43 เตียง ทยอยซื้ออุปกรณ์เข้าไปเสริมจนเต็มครบ 103 เตียง ยืนยัน ศักยภาพทางการแพทย์ไทยไม่แพ้ใครในโลก แต่สิางสำคัญคือความร่วมมือจากทุกคน
– นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเบาจะไม่ให้ใช้ยา เป็นระดับกลางก็ยาสูตรหนึ่ง ไม่ใช่ยานำเข้า เพราะยาทุกตัวมีผลข้างเคียง หมอจะเป็นผู้พิจารณา ถ้าอาการหนักจึงให้ยาฟาวิพิราเวียร์ หมอจะเป็นผู้ปรับยา
.
ถาม การกระจุกตัวของผู้ป้วยดูจากแผนที่จะปฎิบัติตัวอย่างไร
– นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า ความเสี่ยงแตกต่างกันชัด ขอให้ตระหนัก ตอนนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาปิดพื้นที่เสี่ยงแล้ว
– วิธีปฏิบัติตน ต้องรู้จักวิธีป้องกัน ไม่ควรใกล้ชิดผู้อื่นในช่วงนี้ แยกของใช้ งดการเดินทาง กิจกรรมที่มีคนเยอะ ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม หากป่วยให้รีบประสานแพทย์ทันที เชื่อโรคอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ การทำความสะอาดทั้งในบ้านชุมชนและพื้นที่สาํารณะสำคัญ
.
ถาม เคสเด็กเล็กติดเชื้อมีประวัติและแนวทางรักษาอย่างไร
– นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า การรักษามีมาตรฐานอยู่แล้ว คนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ คนมีโรคประจำตัว เด็กเล็ก ไม่ควรออกมานอกบ้านในช่วงนี้ หากออกไปนอกบ้านให้รีบล้างมือก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการรักษาจะยากขึ้นเพราะความรุนแรงจะสัมพันธ์กับสภาพร่างกายและโรคประจำตัว
.
ถาม เราต้องปิดประเทศหรือยัง
– นพ.สุวรรณชัย กล่าว เราปิดพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ปิดพื้นที่เชิงป้องกันเสี่ยงแพร่เชื้อ และปิดการเคลื่อนย้าย ย้ำกิจกรรมที่ดำเนินการตอนนี้คือจำกัดการเคลื่อนย้ายคน ปิดดีที่สุด คือ ปิดที่ตัวเราเอง อย่าถามหาความรับผิดชอบจากคนอื่นต้องหาความรับผิดชอบจากตัวเอง
.
ถาม เคสเกี่ยวข้องกับสนามมวยรุ่นแรกครบ 14 วันแล้ว แต่รุ่น 2 สมาชิกในบ้านจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร
– บอกทุกคนที่อยู่สนามมวยให้ระวังตัวเอง และทุกคนที่เกี่ยวข้องให้นำวิธีปฏิบัติตัวจากสาธารณสุขไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดเพื่อตัดวงจร เพื่อรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยรวม