Home ไลฟ์สไตล์ By TipLife โอไมครอนมาจากไหน .. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเที่ยวปีใหม่

โอไมครอนมาจากไหน .. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเที่ยวปีใหม่

105
0
SHARE
📌 1. #โอไมครอน มาจากไหน?
WHO ได้รับรายงานเรื่องไวรัสโควิด-19โอไมครอน ครั้งแรกจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 64 และเป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดที่ 5 ที่ WHO จัดให้อยู่ในสายพันธุ์ที่ “น่ากังวล” (Variant of Concern หรือ VOC) ต่อจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา, เดลตา
.
📌 2. อาการหลักต้องสงสัย โอไมครอน เป็นยังไง?
✅ แรกเริ่มมักมีน้ำมูก จาม ปวดหัว
✅ ต่อมาอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ
✅ บางคนมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
✅ หากเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเรื้อรังควรรีบพบแพทย์ และถ้าเคยไปพื้นที่เสี่ยงแนะนำให้ตรวจ ATK เพราะถึงแม้ว่าฉีดวัคซีนครบ “ก็ไม่ควรประมาท” ให้สังเกตอาการหากไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์
.
📌 3. โอไมครอนน่ากังวลแค่ไหน?
นอกจากความน่าเป็นห่วงในเรื่องการแพร่เชื้อของโอไมครอน ที่เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา (Delta) 2-5 เท่าแล้ว ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.64 องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ประเทศต่างๆไม่ควรมองว่าไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจะไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เนื่องจากสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักได้
.
โดยเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2564 สำนักข่าวต่างประเทศมีรายงาน ว่าสหราชอาณาจักร ออกมายืนยันผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 14 ราย ขณะที่ สหรัฐฯ พบผู้เสียชีวิตรายแรกจาก “โอไมครอน” เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา และ“โอมิครอน” กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐ พบผู้ติดเชื้อ 73% ทั่วประเทศแล้ว ส่วนไทยพบยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน 205 ราย (อัพเดท 24 ธ.ค.)
.
นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวว่า “WHO มีความกังวลต่อการที่ประเทศส่วนใหญ่เข้าใจว่าโอไมครอนเป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรง ซึ่งเรายังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าไวรัสสายพันธุ์นี้ทำให้เกิดอาการของโรคที่เบากว่าหรือรุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้านี้”
.
“เราได้เรียนรู้ว่าเราได้ประเมินไวรัสสายพันธุ์นี้ต่ำเกินไป เพราะต่อให้โอไมครอนไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง แต่การที่สายพันธุ์นี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วก็จะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศที่ไม่ได้เตรียมตัวรับมือมาก่อน” นายแพทย์ทีโดรสกล่าว
.
📌 4. วัคซีนตอนนี้เอาอยู่หรือไม่?
ผู้ป่วยติดเชื้อที่พบขณะนี้ มีจำนวนหนึ่งฉีดวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม และอีกจำนวนหนึ่งถึงแม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน ก็สามารถติดเชื้อได้ แสดงว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันได้แบบไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการติดเชื้อได้ แต่เกือบทั้งหมดมีอาการลดลงหรือ ไม่มีอาการเลย วัคซีนยังสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งบริษัทเวชภัณฑ์ผู้ผลิตวัคซีนหลายแห่งก็เร่งเดินเครื่องพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 รุ่นใหม่ เพื่อรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์โอไมครอนแล้ว
.
📌 5. ออกเที่ยวเทศกาล ต้องระวังตัวยังไง?
✅ สำหรับประชาชนที่ไม่เคยติดโควิด หากต้องการจะใช้เวลาในช่วงฉลองคริสต์มาสหรือปีใหม่อยู่กับครอบครัวหรือเพื่อน สิ่งที่ควรทำก่อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อในเบื้องต้น คือการใช้ชุดตรวจโควิดแบบรวดเร็วเพื่อทำการตรวจเชื้อ
✅ สวมหน้ากากเวลาพูดคุย ทั้งในและนอกบ้าน
✅ เลี่ยงสถานที่คนแออัด และอับอากาศ
✅ ไม่นัดเจอญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงหลายคนพร้อมกัน
✅ ล้างมือหลังสัมผัสพื้นผิว และก่อนสัมผัสตัวผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วย
✅ ฉีดวัคซีนตามคำแนะนำแพทย์ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์
.
ในช่วงนี้เราทุกคนยังต้องช่วยกันเฝ้าระวัง โดยสามารถติดตามข่าวสาร เพื่อวางแผนการดำเนินชีวิต และการฉลองเทศกาลปีใหม่กัน แต่อย่างไรก็อย่าตื่นตระหนกเกินไป จนเครียดนะครับ เพียงแค่เราใช้ชีวิตไม่ประมาทก็เพียงพอแล้ว สิ่งสำคัญ คือ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ล้างมือ เว้นระยะห่าง และยึดหลักมาตรการ Universal Prevention for COVID-19 การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ( ดูรายละเอียดมาตรการได้ที่ shorturl.at/wDRV4 )
.
ข้อมูลจาก : www.tnnthailand.com / www.thairath.co.th / www.phyathai.com / thestandard.co / www.matichon.co.th / www.komchadluek.net /