Home ข่าวทั่วไปรอบวัน วันเลือกตั้งใหม่ในกำมือ สนช.

วันเลือกตั้งใหม่ในกำมือ สนช.

882
0
SHARE

 

 

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงแก่ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 11 ต.ค.2560 ว่า

 

 

การเลือกตั้งอาจจะเร็วหรือช้ากว่าที่คิด ซึ่งต้องดูการพิจารณากฎหมายลูกที่เหลืออยู่ หาก สนช.ผ่านกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. ภายใน 60 วัน และไม่มีองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องยื่นคัดค้านว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม รวมขั้นตอนทางธุรการต่างๆ ก่อนนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ จะใช้เวลา 3 เดือน หลังจาก 1 ธ.ค.60 คือสามารถทูลเกล้าฯได้ ประมาณ 1 มี.ค.61 จากนั้น ในขั้นการลงพระปรมาภิไธย ถือเป็นพระราชอำนาจ ซึ่งมีกรอบระยะเวลา 90 วัน หากประมาณการโดยเฉลี่ยของการลงพระปรมาภิไธยในอดีต ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ก็อาจเป็นไปได้ว่า อาจสามารถประกาศในราชกิจจาฯ ระหว่าง 15-30 เม.ย.61

 

จากนั้นจะเริ่มต้นนับ 150 วัน เพื่อต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ โดย กกต.ต้องเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้ง  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการไม่ถูกร้องคัดค้านภายหลังว่า  จัดการเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลาที่ดำเนินการ 150 ควรกำหนดวันเลือกตั้งให้อยู่ในช่วงประมาณ 90-100 วัน  เพื่อให้สามารถประกาศผลได้ทันใน 150 วัน และด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งทั่วไป จึงอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คิด คือ อาจมีขึ้นในเดือนส.ค.61

การพิจารณากฎหมายลูกล่าช้า สนช.ลงมติไม่รับหลักการใน กม. ส.ส.หรือ ส.ว. ฉบับใดฉบับหนึ่ง กรธ.ต้องนำประเด็นที่เป็นเหตุไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำเสนอ สนช.ใหม่ โดยเป็นการแก้ไขบางส่วน ไม่ใช่ร่างใหม่ทั้งฉบับ ในขั้นตอนนี้น่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และ สนช. มีกรอบเวลาอีก 60 วันในการพิจารณากฎหมายที่เสนอมาใหม่ และหากไม่มีการตั้งกรรมาธิการร่วม รวมขั้นตอนทางธุรการต่างๆ ก่อนนายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ จะใช้เวลา 3 เดือน หากเกิดเหตุในลักษณะนี้ การเลือกตั้งทั่วไป อาจเกิดขึ้นช้ากว่าที่คิด คือต้องบวกไปอีก 5 เดือน  ก็อาจเกิดการเลือกตั้งขึ้นในเดือน ม.ค.62

 

Srisutthiyakorn Somchai

เลือกตั้งอาจจะเร็วหรือช้ากว่าที่คิด
คิดบวก ในด้านการผ่าน กม.ลูก
1. หาก สนช.ผ่าน กม.ส.ส.และ ส.ว. ภายใน 60 วัน และไม่มีองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องยื่นคัดค้านว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม ดังนั้น หากรวมขั้นตอนทางธุรการต่างๆ ก่อนนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ จะใช้เวลา 3 เดือน หลังจาก 1 ธันวาคม 2560 คือสามารถทูลเกล้าฯได้ ประมาณ 1 มีนาคม 2561
2. ในขั้นการลงพระปรมาภิไธย ถือเป็นพระราชอำนาจ ซึ่งมีกรอบระยะเวลา 90 วัน หากประมาณการโดยเฉลี่ยของการลงพระปรมาภิไธยในอดีต ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ก็อาจเป็นไปได้ว่า อาจสามารถประกาศในราชกิจจาฯ 15 เมษายน หรือ ขยับไปถึง 30 เมษายน 2561
3. การเริ่มต้นนับ 150 วัน เพื่อต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ โดย กกต.ต้องเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้ง (อนุโลมตาม มาตรา 102) วันที่ กกต.ควรเลือก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการไม่ถูกร้องคัดค้านภายหลังว่าจัดการเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญ จึงควรเป็นประมาณ 90-100 วัน เพื่อให้สามารถประกาศผลได้ทันใน 150 วัน
4. ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งทั่วไป จึงอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คิด คือ อาจมีขึ้นในเดือนสิงหาคม 2561
คิดลบ ในการผ่าน กม.ลูก
1. หาก สนช.ลงมติไม่รับหลักการ ใน กม. ส.ส.หรือ ส.ว. ฉบับใดฉบับหนึ่ง
2. กรธ.ต้องนำประเด็นที่เป็นเหตุไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำเสนอ สนช.ใหม่ โดยเป็นการแก้ไขบางส่วนมิใช่ร่างใหม่ทั้งฉบับ โดยให้เวลารวมเวลาธุรการ ประมาณ 2 เดือน
3 สนช. มีกรอบเวลาอีก 60 วันในการพิจารณา กม.ที่เสนอมาใหม่ และหากไม่มีการตั้งกรรมาธิการร่วม รวมขั้นตอนทางธุรการต่างๆ ก่อนนายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ จะใช้เวลา 3 เดือน
4. ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งทั่วไป อาจเกิดขึ้นช้ากว่าที่คิด คือ ต้องบวกไปอีก 5 เดือน คือ อาจเกิดขึ้นในเดือน มกราคม 2562
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ

 

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  คนที่ 1 แถลงแก่นักข่าวที่สภา ในเช้าวันเดียวกันว่า  ยืนยันว่า กระบวนการจัดทำร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ สนช.  จะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนมิ.ย.2561แน่นอน โดยจะเป็นการทำร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญให้เสร็จทั้ง 10 ฉบับ ไม่ใช่เพียงแค่ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งจำนวน 4 ฉบับเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

 

 

Matemnews.com  11 ตุลาคม 2560