Home ต่างประเทศ สื่อออสเตรเลียเปิดโปง!! พฤติกรรมความไม่ชอบมาพากลของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO

สื่อออสเตรเลียเปิดโปง!! พฤติกรรมความไม่ชอบมาพากลของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO

2058
0
SHARE

น่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อสื่อออสเตรเลียเปิดโปงพฤติกรรมความไม่ชอบมาพากลของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) แปดองค์กรยักษ์ใหญ่ในประเทศ ประกอบด้วย กรีนพีซออสเตรเลีย องค์การกองทุนสัตว์ป่าออสเตรเลีย พันธมิตรล็อคเดอะเกต องค์กรเพื่อนโลก โครงการซันไรส์ องค์กร 350 ออสเตรเลีย กองทุนอนุรักษ์ออสเตรเลีย และองค์การป่ารักษน้ำ

ไม่ทราบว่าอดีตชาติคนเหล่านี้ทำบุญกันด้วยอะไร ไยจึงมีผู้สละทรัพย์บริจาคเงินให้ไม่หยุดหย่อน รวมแล้วในระยะเวลาสิบปีมานี้ มียอดบริจาครวมถึง 685 ล้านเหรียญ เฉพาะปีที่แล้ว (2558) รับเงินบริจาคไป 83 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าเงินภาษีสนับสนุนพรรคการเมืองของประเทศออสเตรเลียเสียอีก

เงินบริจาคเพื่อการกุศลนี่ช่างดีแสน ไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องเปิดเผยแหล่งที่มา แถมเก็บสะสมไว้ก็ได้ ดังเช่นเงินบริจาคที่มีคนให้กับกรีนพีซออสเตรเลียในปี 2558 จำนวน 19 ล้านเหรียญ กว่ากึ่งหนึ่งคือ 11 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 350 ล้านบาท กลายเป็นสินทรัพย์ของ NGO ไป มิน่าหล่ะ เราถึงได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ว่า NGO ไม่ต้องมีงานประจำ ก็มีกินมีใช้ ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร บริษัทจะขายของดีมั้ย หมดห่วงกันอย่างนี้เลยขอทุ่มเวลามาประท้วงขัดขวางการพัฒนาประเทศได้อย่างสบายใจเฉิบ

กระนั้นก็ไม่มีใครจะรอดพ้นสัจธรรมไปได้ เมื่อถึงคราวที่วิกิลีค เว็บไซท์แฉท็อปซีเครทระดับโลก ได้ฤกษ์เปิดโปงอีเมลล์ลับของนายจอห์น โพเดสต้า ผู้จัดการรณรงค์หาเสียงของนางฮิลลารี คลินตัน ติดต่อกับผู้อำนวยการโครงการซันไรส์ หาวิธีการปกปิดข้อมูลที่ซันไรส์ได้รับเงินจากกองทุนแซนด์เลอร์ ในสหรัฐอเมริกา

ธรรมดาโลก ข่าวไหนยิ่งปิด คนก็ยิ่งอยากกกกจะรู้ จึงมีคนโยงเรื่องได้ว่าโครงการซันไรส์มีเงื่อนงำ รับเงินมาจากกองทุนในสหรัฐเพื่อตั้งหน้าตั้งตาเคลื่อนไหวขัดขวางการอนุมัติโครงการเหมืองคาร์ไมเคิล ที่เป็นความร่วมทุนระหว่างบริษัทอดานิของประเทศอินเดีย กับประเทศออสเตรเลีย มูลค่า 1.6 หมื่นล้านเหรียญ ซันไรส์ทั้งก่อม็อบต้าน ทั้งนำคดีร้องต่อศาลกล่าวหารัฐบาลอนุมัติโครงการโดยมิชอบ ทำให้โครงการนี้ยืดเยื้ออยู่หลายปี จนศาลตัดสินให้เดินหน้าต่อ ซันไรส์ก็ยังไม่ยอมหยุด

เรื่องนี่ทำเอานายโทนี อัลบอต อดีตนายกออสเตรเลียฉุนขาด ชี้ว่าเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่ากองทุนแซนด์เลอร์และนายโปเดสกีที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับพรรคเดโมแครต ของนายโอบามา และนางฮิลลารี่ ชักใยให้เกิดกระบวนการบ่อนทำลายนโยบายการลงทุนของรัฐบาลออสเตรเลีย แรงกระเพื่อมส่งผลให้รัฐบาลประกาศเตรียมแก้กฏหมายให้เกิดความโปร่งใสในการบริจาคเงินเพื่อการกุศล โดยต้องเปิดเผยรายชื่อและจำนวนเงินที่มีการบริจาคจากต่างประเทศ และกำหนดเกณฑ์การนำเรื่องฟ้องร้องในประเด็นสาธารณะให้รัดกุมขึ้น กันไม่ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการรัฐผ่านมือองค์กรพัฒนาเอกชนเหล่านี้ได้อีก

Tony Abbott warned there was a “well-connected global network” conspiring against the Australian coal industry and thereby damaging Australian workers and global consumers who just want affordable, available energy.

“People need to wake up to the fact that our polity is being manipulated and that the Greens are not always what they seem”

The use of tax-exempt charity status to fund environmental challenges to developments through the courts and public campaigns has become a major concern within the government

นี่หล่ะหนา เงินร้อนนำมาซึ่งความเสื่อม เมื่อร่วมไปกับจิตทุจริต คิดทรยศต่อประเทศชาติ ผลกรรมจะตามมา ในที่สุดความจริงย่อมเปิดเผยให้สังคมร่วมประนามในที่สุด

นี่ควรเป็นอุทาหรณ์ให้ไทยเราเอาเยี่ยงอย่างออสเตรเลีย สร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในกลุ่มองค์กรที่เรียกตัวเองว่า NGO ไม่ว่าจะเป็นแหล่งทุน จำนวนเงินที่ได้รับ การจัดกิจกรรมใดใด ควรหรือไม่ต้องคำนึงถึงว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนร่วม มิใช่ตามธงที่กำหนดโดยแหล่งทุน ยิ่งหากมีการยกเว้นภาษีด้วยว่าเข้าข่ายเป็นเงินบริจาคเพื่อการกุศล รบกวนผู้มีอำนาจช่วยพิจารณาการกระทำของ NGO บ้านนี้เมืองนี้เข้าข่ายหรือไม่ – การจัดม็อบประท้วง การโพสต์ข้อความบิดเบือน หยาบคาย กลายเป็น “กุศลกรรม” ไปได้อย่างไร

 

 

เครดิต: Eight biggest green groups net 685 mil windfall over decade, The Australian, Nov 1, 2016 , Coal-Fired Power Plant : FACT