นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 แถลงแก่ผู้สื่อข่าวที่กระทรวงแรงงาน เมื่อตอนเช้าวันที่ 18 ม.ค.2561 ถึงผลการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ หลังจากใช้เวลาในการหารือกันนานกว่า 7 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 16.00 น.วันที่ 17 ม.ค.2561 ว่า
ที่ประชุมมีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศตั้งแต่ 5-22 บาท แบ่งเป็น 7 อัตรา คือ
อัตรา 308 บาท มี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา
อัตรา 310 บาท มี 22 จังหวัด คือสิงห์บุรี ตรัง ลำปาง ลำพูน ตาก ราชบุรี ระนอง ชุมพร สตูล หนองบัวลำภู พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย เชียงราย อุทัยธานี ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อำนาจเจริญ แพร่ แม่ฮ่องสอน นครศรีธรรมราช มหาสารคาม
อัตรา 315 บาท มี 21 จังหวัดคือ ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สระแก้ว พัทลุง อุตรดิตถ์ อุดรธานี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณื ชัยนาท เลย ยะโสธร พะเยา บึงกาฬา น่าน กาญจนบุรี อ่างทอง อัตรา 318 บาท มี 7 จังหวัด คือ จันทบุรี สมุทรสงคราม สกลนคร มุกดาหาร นครนายก กาฬสินธุ์ ปราจีนบุรี อัตรา 320 บาท มี 14 จังหวัด คืออุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ เชียงใหม่ นครราชสีมา พังงา
อัตรา 325 บาท มี 7 จังหวัด คือ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และอัตรา 330 บาท มี 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต ชลบุรี และระยอง ค่าเฉลี่ยการปรับค่าจ้างปี 2561 อยู่ที่ 315.97 บาท
ในวันที่ 18 ม.ค.จะสรุปเสนอ รมว.เพื่อลงนาม และคาดว่าจะเข้าครม.อาทิตย์ ที่ประชุมขอให้ค่าจ้างอัตราใหม่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย 2561
matemnews.com 18 มกราคม 2561