Home ต่างประเทศ ญี่ปุ่นเจาะสถานี!! ออกแบบเพื่อรักษาต้นไม้อายุกว่า 700 ปี

ญี่ปุ่นเจาะสถานี!! ออกแบบเพื่อรักษาต้นไม้อายุกว่า 700 ปี

1590
0
SHARE

ที่เขตชาญเมืองมุมตะวันออกเฉียงเหนือของโอซาก้ามีสถานีรถไฟที่ไม่เหมือนใคร คือ สถานี Kayashima Station ที่กลางสถานีมีการเจาะช่องขนาดใหญ่มาก เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงตัดต้นการบูรเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 700 ปี ที่หน้าตาเหมือนต้นบล็อกโคลี่ยักษ์ต้นนี้

ต้นไม้ใหญ่ต้นนี้เป็นต้นการบูรเก่าแก่กว่าบันทึกในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการคาดการกันไว้ว่า น่าจะมีอายุมากกว่า 700 ปี ส่วนเรื่องราวของต้นไม้ก็ถูกเล่าในมุมที่แตกต่างกันไป บ้างก็เชื่อว่าเป็นการดูแลเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ บ้างก็เป็นการเก็บรักษาไว้เพราะความเชื่อ

ในอดีตนั้นสถานี Kayashima Station ได้รับการเปิดใช้งานครั้งแรกในปี 1910 ซึ่งตอนนั้นก็มีรูปถ่ายบันทึกไว้ว่ามีต้นการบูรนี้อยู่ข้างสถานีมาตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งอีก 60 ปีต่อมา สถานีได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานมากขึ้น พื้นที่จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถานีเพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งในปี 1972 ซึ่งมีการประชุมกันว่า สถานีรถไฟนี้จะต้องตัดต้นไม้ต้นนี้ทิ้ง

แต่คนญี่ปุ่นโบราณมีการเชื่อมโยงความเชื่อระหว่างต้นไม้นี้กับศาลเจ้าท้องถิ่นและเทพต่างๆ และเมื่อผู้คนในย่านนั้นได้ทราบข่าวว่าเจ้าหน้าที่วางแผนจะรื้อถอนต้นไม้นี้ทิ้งก็เกิดความโกลาหลมาก เริ่มมีเรื่องเล่าต่างๆ เกี่ยวกับต้นไม้ที่กำลังโกรธและเหตุการณ์โชคร้ายที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่พยายามจะตัดต้นไม้ต้นนี้ลง บางคนแค่ตัดกิ่งออกไปหลังจากนั้นไม่นานก็เป็นไข้สูง บางคนเห็นงูสีขาวพันอยู่รอบต้นไม้ต้นนี้ บางคนก็เห็นควันที่เกิดขึ้นรอบต้นไม้ (ซึ่งอาจจะเป็นเพียงฝูงแมลงก็ได้)

เมื่อเหตุการณ์ไปในทางนั้น เจ้าหน้าที่รถไฟจึงตกลงกันที่จะรักษาต้นไม้ต้นนี้ไว้ และนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งในดีไซน์ของการออกแบบแพลตฟอร์มยกระดับที่เริ่มต้นก่อสร้างในปี 2516 ซึ่งการก่อสร้างมาเสร็จสิ้นในปี 2523 ซึ่งสถานีรถไฟนี้จะมีเอกลักษณ์เป็นฐานของต้นไม้ที่ประกอบด้วยศาลเจ้าเล็กๆ

ต้นไม้ต้นนี้ยังคงยืนต้นอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ส่วนหนึ่งด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ แต่ถึงทุกวันนี้ยังมีศาลเจ้าล้อมรอบต้นไม้อยู่ แต่ใต้ความเชื่อนั้น ต้องขอบคุณความเข้มแข็งของชุมชนอย่างแท้จริง

Kayashima Stationในปี 1968 / 4 ปีก่อนหน้าที่จะวางแผนตัดต้นไม้ทิ้ง (Photo by me de miru neyagawashi no hyakunen)

 

ข้อมูลโดย www.iurban.in.th