Home ข่าวทั่วไปรอบวัน หมอบอนด์กับน้ำผึ้ง พบ รองผบ.ตร.

หมอบอนด์กับน้ำผึ้ง พบ รองผบ.ตร.

662
0
SHARE

 

 

พล.ต.อ.ดร.วิระชัย  ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร.และ โฆษก ตร. แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนที่ สตช.  เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ว่า วันนี้ นพ.ปิยะพงษ์ โหวิไลลักษ์ (หมอบอนด์) กับ น.ส.ปวีณา นามสงคราม หรือ น้ำผึ้ง  ภรรยา ที่ตรวจพบว่ามีการรีวิวสินค้าวิตามิน ชิโนบิ ซึ่งเป็นสินค้าในเครือของบริษัท เมจิกสกิน ได้มาพบตนให้การแสดงความบริสุทธ์ใจ   หมอบอนด์ กับน้ำฝน  ถือว่ามีความพิเศษเช่นเดียวกับกลุ่มดารานักแสดง เพราะแม้ว่าจะไม่มีชื่อเสียงมากเท่ากับดารานักแสดง แต่ก็เป็นบุคคลที่ทำงานอยู่ในแวดวงของการสาธารณสุข มีหน้าที่โดยตรงในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และให้ข้อมูลในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแก่สาธารณชน ซข้อมูลเหล่านี้ ย่อมเกี่ยวข้องกับอาหารและยา ที่ประชาชนทั่วไปจะได้ใช้ในการอุปโภคบริโภค หากบุคคลกลุ่มนี้ไม่ศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง หรืออาจชี้นำให้ประชาชนเข้าใจผิดในสรรพคุณของสินค้าได้โดยง่าย แต่คนดังแต่ละคน จะตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหาใดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผลการตรวจพิสูจน์ทางเคมีของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเครือบริษัท เมจิกสกิน หากผลปรากฏว่าเป็นสารชนิดอื่น  ไม่ตรงกับที่นักแสดงรีวิว หรือเป็นสารที่มีอันตราย ก็จะมีการตั้งข้อหาที่แตกต่างกันไปตามพฤติเหตุและพฤติการณ์ที่แต่ละคนได้ให้ถ้อยคำไว้

 

คนดังรีวิวเมจิกสกินที่เหลือ   ไม่รวมกับดารานักแสดง 59 ราย ประกอบด้วย

ว่าที่ร้อยตรี ปวีร์ ปานดำรงสถิต หรือ กลางประพันธ์

น.ส.ทอพวรรณ  หรือ อ้อย ตันไชย,

น.ส.สายสุนีย์ กรมสูงเนิน

นายอภิวัส หรือ แทค พงศ์พัฒนะนุกูล

น.ส.ณัฐนันท์ หรือ นุ๊ก อ่วมแก้ว

นายกฤษณผล หรือ เชาว์ พินจอหอ

น.ส.สิริญาณี ฤทธิ์ดีสิริธร

 

คนดังแต่ละคนจะตกเป็นผู้ต้องหาในข้อหาใดหรือไม่  ขึ้นอยู่กับผลการตรวจพิสูจน์ทางเคมีของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเครือเมจิก สกิน หากผลปรากฏว่า เป็นสารชนิดอื่นซึ่งไม่ตรงกับที่นักแสดงรีวิว หรือเป็นสารที่มีอันตราย ก็จะมีการตั้งข้อหา ที่แตกต่างกันไปตามพฤติเหตุและพฤติการณ์ที่แต่ละคนได้ให้ถ้อยคำไว้  ข้อกฎหมาย ยังคงใช้มาตรฐานเดียวกันกับกลุ่มดารานักแสดง จะอ้างอิงตามกฎหมายหลัก 3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าประเภทอาหารและยา ได้แก่

  1. พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558
  2. พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522
  3. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

 

การพิจารณาจะครอบคลุมถึงการโฆษณาด้วยข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินจริง การใช้ข้อความที่เป็นเท็จ หลอกลวง ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหลงเชื่อในสรรพคุณ ประโยชน์ต่างๆ จะนำไปสู่ความผิดเกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ต่อไป

 

matemnews.com  1 พฤษภาคม 256